หน้าเวป

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

วงจรพัดลมTOSHIBAรุ่นEL858C




วงจรพัดลมTOSHIBAรุ่นEL858C
19/3 /2558 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
วงจรพัดลมTOSHIBAรุ่นEL858C

การซ่อมต้องใส่รองเท้า และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชึวิตได้

พัดลมTOSHIBAรุ่นEL858Cเป็นพัดลม12นิ้ว

พัดลมจะมีขดลวดอยู่4ขด
1.ขดSTARTขดที่1 = 25.2 โอมห์
2.ขดSTARTขดที่2 = 100.7 โอมห์
3.ขดSTARTขดที่3 = 261.5 โอมห์
4.ขดรันหรือขดมอเตอร์หลัก = 434 โอมห์

ถ้าวัดคร่อมCAPACITORจะได้ 604.4 โอมห์
เป็นการวัดขดลวด3ขดครึ่งรวมกัน
คือขดสตาร์ทที่1,ขดสตาร์ทที่2,ขดสตาร์ทที่3,
และขดมอเตอร์หลัก(ขดรัน) ครึ่งขด

CAPACITORในที่นี้ผมขอเรียกย่อๆว่าC หรือคาปาซิเตอร์
ขดรันเรียกอีกอย่างว่าขดมอเตอร์หลัก

ขดSTARTขดที่2 กับขดSTARTขดที่3
จะทำหน้าที่2อย่าง คือ
สตาร์ท กับจำกัดกระแสให้ขดรัน
ขึ้นอยู่กับว่าจะกดสวิทช์เบอร์อะไร
การทำงานจะเปลี่ยนไปตามการกดสวิทช์
/////////////////////////////////////////////////////
สายคอมม่อนคือสายร่วม มี3เส้น
คือสายสวิทช์เบอร์1สีดำ
สายสวิทช์เบอร์2สีน้ำเงิน
สายสวิทช์เบอร์3สีแดง
ส่วนสายสีขาวจะเป็นไฟACที่เข้าไปที่ขดรันตรงๆ
ส่วนสายที่อยู่ที่ขั้วCค่า2.5UF200VAC50/60HZ
คือสายสีน้ำเงิน สายสีน้ำเงินนี้คือสายสตาร์ท
ส่วนสายสีน้ำเงินที่สวิทช์เบอร์2 จะไม่เกี่ยวข้องกัน
ส่วนอีกเส้นที่ต่ออยู่ที่ขั้วCคือสายสีเขียว
สายสีเขียว(เส้นเล็ก)คือสายรันแบบครึ่งขด

เมื่อมีการกดสวิทช์เบอร์1
สายไฟACสีน้ำตาลจะต่อไฟเข้าสายสีดำซึ่งเป็นสวิทช์เบอร์1
แล้วสายสีดำจะแยกออกเป็น3ทาง
สายสีดำแยกที่1
เข้าไปที่ขดSTARTขดที่2ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่จำกัดกระแส
แล้วเข้าขดSTARTขดที่3ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่จำกัดกระแส
แล้วเข้าขดลวดรันตามลำดับ
เมื่อไฟACออกจากขดรันก็จะเป็นสายสีขาว
ต่อเข้ากับไฟACอีกเส้น ครบวงจร

สายสีดำแยกที่2
เข้าไปที่ขดSTARTขดที่2ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่จำกัดกระแส
แล้วเข้าขดSTARTขดที่3ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่จำกัดกระแส
แล้วเข้าขดลวดรันประมาณครึ่งขด
ออกมาเป็นสายสีเขียวเข้าที่ขั้วคาปาซิเตอร์
เรียกสายเส้นนี้ว่าสายรันแบบครึ่งขด

สายสีดำแยกที่3
ไฟACผ่านขดSTARTขดที่1เข้าไปที่ขาคาปาซิเตอร์อีกขั้ว
คือสายสีน้ำเงิน
สายสีน้ำเงินนี้เรียกว่าสายสตาร์ท
ทำให้ไฟSTARTครบวงจร
CAPACITORเกิดการเก็บประจุและคลายประจุ
เนื่องจากไฟบ้านในประเทศไทยใช้220VAC/50HZ
ดังนั้นจึงเก็บประจุ50ครั้งและคลายประจุ50ครั้งภายใน1วินาที
ตามความถี่50HZ
ทำให้CAPACITORมีแรงไฟเพิ่มขึ้นประมาณ2เท่าคือ
จากไฟบ้าน220ACV
แต่ต่อออกมาที่คาปาซิเตอร์สายสีเขียว
เพียงประมาณครึ่งขดรัน แรงไฟจึงเหลือประมาณ110VAC
แต่จังหวะที่คาปาซิเตอร์คลายประจุจะมีแรงดันเป็น2เท่า
คือ 220VAC แต่มีโหลดและการจัดวงจรจึงทำให้ไฟตกลงมา
เหลีอไม่เกิน 200VAC
ทำให้เกิดแรงฉุดมอเตอร์ให้หมุนได้
ถ้าCแห้งมอเตอร์ก็จะไม่หมุน แต่ไม่มีเสียงตืดใดๆ
ถ้าเป็นเครื่องซักผ้าจะมีเสียงตืดให้ได้ยิน

ในพัดลมTOSHIBAรุ่น12นิ้ว ที่ทำการทดลองวัดนี้ใช้
Cค่า2.5UF/200VAC/50/60HZ
สมมุติถ้าใช้ค่าCที่สูงกว่านี้ก็จะทำให้มอเตอร์หมุนแรงขึ้น
แต่ไม่ทนคือพังง่ายนั่นเอง

แต่ถ้าวัดไฟคร่อมCAPACITORจะได้ไม่ถึง200VAC
เพราะเมื่อมีโหลดไฟก็จะตกลงมาตามส่วน
สำหรับTOSHIBAรุ่น12นิ้วนี้ วัดไฟคร่อมCจะได้ดังนี้
สวิทช์เบอร์1 176 ACV
สวิทช์เบอร์2 184 ACV
สวิทช์เบอร์3 166 ACV
สังเกตุว่า ไฟคร่อมCที่สวิทช์เบอร์3จะต่ำที่สุด

ถ้าเป็นHATARIรุ่น18นิ้ว วัดไฟคร่อมCจะได้ดังนี้
สวิทช์เบอร์1 328 ACV
สวิทช์เบอร์2 357 ACV
สวิทช์เบอร์1 368 ACV
สังเกตุว่า ไฟคร่อมCที่สวิทช์เบอร์3จะมากที่สุด
///////////////////////////////////////////////////
เมื่อมีการกดสวิทช์เบอร์2
สายไฟACสีน้ำตาลจะต่อไฟเข้าสายสีน้ำเงินซึ่งเป็นสวิทช์เบอร์2
แล้วสายสีน้ำเงินจะแยกออกเป็น3ทาง
สายสีน้ำเงินแยกที่1
เข้าไปที่ขดSTARTขดที่3ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่จำกัดกระแส
แล้วเข้าขดลวดรันตามลำดับ
เมื่อไฟACออกจากขดรันก็จะเป็นสายสีขาว
ต่อเข้ากับไฟACอีกเส้น ครบวงจร

สายสีน้ำเงินแยกที่2
เข้าไปที่ขดSTARTขดที่3ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่จำกัดกระแส
แล้วเข้าขดลวดรันประมาณครึ่งขด
ออกมาเป็นสายสีเขียวเข้าที่ขั้วคาปาซิเตอร์
เรียกสายเส้นนี้ว่าสายรันแบบครึ่งขด

สายสีน้ำเงินแยกที่3
ไฟACผ่านขดSTARTขดที่2และขดSTARTขดที่1
เข้าไปที่ขาคาปาซิเตอร์อีกขั้ว คือสายสีน้ำเงิน
สายสีน้ำเงินนี้เรียกว่าสายสตาร์ท
ทำให้ไฟSTARTครบวงจร
CAPACITORเกิดการเก็บประจุและคลายประจุ
เนื่องจากไฟบ้านในประเทศไทยใช้220VAC/50HZ
ดังนั้นจึงเก็บประจุ50ครั้งและคลายประจุ50ครั้งภายใน1วินาที
ตามความถี่50HZ
ทำให้CAPACITORมีแรงไฟเพิ่มขึ้นประมาณ2เท่าคือ
จากไฟบ้าน220ACV
แต่ต่อออกมาที่คาปาซิเตอร์สายสีเขียว
เพียงประมาณครึ่งขดรัน แรงไฟจึงเหลือประมาณ110VAC
แต่จังหวะที่คาปาซิเตอร์คลายประจุจะมีแรงดันเป็น2เท่า
คือ 220VAC แต่มีโหลดและการจัดวงจรจึงทำให้ไฟตกลงมา
เหลีอไม่เกิน 200VAC
ทำให้เกิดแรงฉุดมอเตอร์ให้หมุนได้
ถ้าCแห้งมอเตอร์ก็จะไม่หมุน แต่ไม่มีเสียงตืดใดๆ
ถ้าเป็นเครื่องซักผ้าจะมีเสียงตืดให้ได้ยิน
///////////////////////////////////////////////////////
เมื่อมีการกดสวิทช์เบอร์3
สายไฟACสีน้ำตาลจะต่อไฟเข้าสายสีแดงซึ่งเป็นสวิทช์เบอร์3
แล้วสายสีแดงจะแยกออกเป็น3ทาง
สายสีแดงแยกที่1
เข้าไปที่ขดขดรัน เพียงขดเดียว
เมื่อไฟACออกจากขดรันก็จะเป็นสายสีขาว
ต่อเข้ากับไฟACอีกเส้น ครบวงจร

สายสีแดงแยกที่2
เข้าไปที่ขดรันประมาณครึ่งขด
ออกมาเป็นสายสีเขียวเข้าที่ขั้วคาปาซิเตอร์
เรียกสายเส้นนี้ว่าสายรันแบบครึ่งขด

สายสีแดงแยกที่3
ไฟACผ่านขดSTARTขดที่3และขดSTARTขดที่2
และขดSTARTขดที่1
เข้าไปที่ขาคาปาซิเตอร์อีกขั้ว คือสายสีน้ำเงิน
สายสีน้ำเงินนี้เรียกว่าสายสตาร์ท
ทำให้ไฟSTARTครบวงจร
CAPACITORเกิดการเก็บประจุและคลายประจุ
เนื่องจากไฟบ้านในประเทศไทยใช้220VAC/50HZ
ดังนั้นจึงเก็บประจุ50ครั้งและคลายประจุ50ครั้งภายใน1วินาที
ตามความถี่50HZ
ทำให้CAPACITORมีแรงไฟเพิ่มขึ้นประมาณ2เท่าคือ
จากไฟบ้าน220ACV
แต่ต่อออกมาที่คาปาซิเตอร์สายสีเขียว
เพียงประมาณครึ่งขดรัน แรงไฟจึงเหลือประมาณ110VAC
แต่จังหวะที่คาปาซิเตอร์คลายประจุจะมีแรงดันเป็น2เท่า
คือ 220VAC แต่มีโหลดและการจัดวงจรจึงทำให้ไฟตกลงมา
เหลีอไม่เกิน 200VAC
ทำให้เกิดแรงฉุดมอเตอร์ให้หมุนได้
ถ้าCแห้งมอเตอร์ก็จะไม่หมุน แต่ไม่มีเสียงตืดใดๆ
ถ้าเป็นเครื่องซักผ้าจะมีเสียงตืดให้ได้ยิน
///////////////////////////////////////////////////

เมื่อกดสวิทช์เบอร์1 พัดลมจะหมุนเบาสุด
เพราะมีการจำกัดกระแสด้วยขดลวด2ขด
คือ ขดSTARTขดที่2, กับขดSTARTขดที่3

เมื่อกดสวิทช์เบอร์2 พัดลมจะหมุนปานกลาง
เพราะมีการจำกัดกระแสด้วยขดSTARTขดที่3
เพียงขดเดียวเท่านั้น

เมื่อกดสวิทช์เบอร์3 พัดลมจะหมุนแรงสุด
เพราะไม่มีการจำกัดกระแส
เป็นการเข้าแบบตรงๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น