วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560

เครื่องซักผ้ามีเพรสเชอร์สวิทช์ไว้ทำอะไรภายในเป็นแบบไหนตรวจเช็คอย่างไร All things in Pressure Switch of Washing Matchine



เครื่องซักผ้ามีเพรสเชอร์สวิทช์ไว้ทำอะไรภายในเป็นแบบไหนตรวจเช็คอย่างไร All things in Pressure Switch of Washing Matchine
24/4/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
เครื่องซักผ้ามีเพรสเชอร์สวิทช์ไว้ทำอะไรภายในเป็นแบบไหนตรวจเช็คอย่างไร All things in Pressure Switch of Washing Matchine

การซ่อมต้องใส่รองเท้า และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชึวิตได้

เพรสเชอร์มี3ขา
ขากลางเป็นกราวด์
ขาริมเป็นไฟ 2.5 DCV
ขาริมอีกด้านก็เป็นไฟ 2.5 DCV

ขาริมกับริมจะเป็นขดลวดมีค่า 22.2โอมห์

และขั้วริมกับกลางจะมีCต่ออยู่1ตัว
และขั้วริมกับกลางอีกด้านก็มีCอยู่อีก1ตัว
รวมเป็น2ตัวจะทำการสร้างความถี่ร่วมกับขดลวด

เมื่อมีแรงดันเข้ามาที่ตัวเพรสเชอร์
แรงดันก็จะไปกดยางในตัวเพรสเชอร์
และยางในตัวเพรสเชอร์ก็จะไปกด
แกนเหล็กเฟอร์ไรท์ เข้าไปในขดลวด
ทำให้สนามแม่เหล็กของขดลวดเปลี่ยนแปลง
ยิ่งเข้าไปลึกก็ยิ่งความถี่ต่ำลง

เมื่อทำการทดลองป้อนไฟ 2.5DCV
เข้าริมกับริม
ขากลางต่อกราวด์
ทันทีที่ป้อนไฟครบเข้าไป
เพรสเชอร์ก็จะสร้างความถี่
แต่ความถี่จะไม่เสถียร และความแรงจะต่ำมาก

เมื่อนำไปใช้กับเครื่องซักผ้า
การทำงานก็จะเป็นดังนี้

ทันทีที่เสียบไฟเข้าเครื่องซักผ้า
ความถี่จะออกจากขาเพรสเชอร์ไปยังบอร์ดวงจร
เพื่อไปขยายความถี่ให้แรงขึ้น
จากนั้นก็จะนำความถี่ที่ขยายแล้วไป
บอกซีพียูว่าความถี่ตอนนี้มีเท่าไร
ขณะยังไม่มีน้ำความถี่จะอยู่ประมาณ 26KHZ
ขณะน้ำเต็มถังความถี่จะอยู่ประมาณ 22KHZ
ลดลงประมาณ 4KHZ

จากนั้นกดปุ่มPOWER
กดLEVELตั้งระดับน้ำสูงสุด
กดSTART

เครื่องก็จะทำการปล่อยน้ำ
เมื่อมีน้ำไหลเข้าถังก็จะเกิดแรงดัน
ผ่านท่อสายยางคล้ายๆท่อน้ำเกลือ
แรงดันเข้าไปที่ตัวเพรสเชอร์
ก็จะไปกดแผ่นยางในตัวเพรสเชอร์
ให้ไปดันแกนเหล็กเฟอร์ไรท์
เข้าไปในขดลวด
ทำให้สนามแม่เหล็กของขดลวดเกิดการเปลี่ยนแปลง
ทำให้ความถี่ลดต่ำลง
ยิ่งเข้าลึกก็ยิ่งความถี่ต่ำ
น้ำยิ่งมากก็ยิ่งความถี่ต่ำลงนั่นเอง

ซีพียูจะคอยตรวจจับความถี่
ถ้าความถี่ต่ำถึงจุดที่ซีพียูตรวจจับ
ซีพียูก็จะสั่งปิดไฟที่วาล์วน้ำ
และสั่งมอเตอร์หมุนซ้ายขวา
เพื่อทำการซักตามระบบต่อไป

ถ้าไม่มีความถี่ไปบอกซีพียู
ซีพียูก็จะสั่งให้มีเสียงร้องเตือนติ๊ดๆๆๆๆ
และเครื่องซักผ้าก็จะไม่ทำงาน

ในกรณีใช้งานไปนานๆหลายปี
น็อทที่ตัวเพรสเชอร์ก็จะคลายออกมาประมาณ2รอบ
เนื่องจากภายในเพรสเชอร์จะมีสปริงคอยดันอยู่ตลอดเวลาดังนั้นเมื่อเครื่องซักผ้าตั้งอยู่ที่ๆมีการสั่นสะเทือน
ก็จะสามารถคลายออกมาได้นั่นเอง

การปรับน็อท
  ถ้าปรับน็อทตามเข็มนาฬิกา
น็อทจะต่ำลงไปก็จะได้น้ำที่มากขึ้น
  ถ้าปรับน็อททวนเข็มนาฬิกา
น็อทจะสูงขึ้นมาก็จะได้น้ำที่น้อยลง
สังเกตุว่าน้ำกับการปรับน็อทจะสวนทางกัน
  หลังจากปรับน็อทเพรสเชอร์แล้ว
ให้ลองอีกเที่ยว
จากนั้นก็ใช้ซิลิโคนทาบริเวณน็อท
เพื่อยึดไม่ให้น็อทคลาย
เท่านี้ก็เสร็จแล้ว

ในกรณีที่ต้องการเอาซิลิโคนออก
ก็สามารถทำได้ง่าย
โดยการใช้น้ำมันจักรหรือน้ำมันโซแน็กซ์
ฉีดเข้าไปที่ซิลิโคน
เท่านี้ก็จะสลายกาวหรือการยึดเกาะของซิลิโคนได้แล้ว

เพรสเชอร์ของLGกับSAMSUNGก็จะคล้ายๆกัน
หรือเหมือนกัน
เพรสเชอร์มี3ขา
ขากลางเป็นกราวด์
ขาริมเป็นไฟ 2.5 DCV
ขาริมอีกด้านก็เป็นไฟ 2.5 DCV

ขาริมกับริมจะเป็นขดลวดมีค่าประมาณ 22.2โอมห์

และขั้วริมกับกลางจะมีCต่ออยู่1ตัว
และขั้วริมกับกลางอีกด้านก็มีCอยู่อีก1ตัว
รวมเป็น2ตัวจะทำการสร้างความถี่ร่วมกับขดลวด

เมื่อมีแรงดันเข้ามาที่ตัวเพรสเชอร์
แรงดันก็จะไปกดยางในตัวเพรสเชอร์
และยางในตัวเพรสเชอร์ก็จะไปกด
แกนเหล็กเฟอร์ไรท์ เข้าไปในขดลวด
ทำให้สนามแม่เหล็กของขดลวดเปลี่ยนแปลง
ยิ่งเข้าไปลึกก็ยิ่งความถี่ต่ำลง

เมื่อทำการทดลองป้อนไฟ 2.5DCV
เข้าริมกับริม
ขากลางต่อกราวด์
ทันทีที่ป้อนไฟครบเข้าไป
เพรสเชอร์ก็จะสร้างความถี่
แต่ความถี่จะไม่เสถียร และความแรงจะต่ำมาก

เมื่อนำไปใช้กับเครื่องซักผ้า
การทำงานก็จะเป็นดังนี้

ทันทีที่เสียบไฟเข้าเครื่องซักผ้า
ความถี่จะออกจากขาเพรสเชอร์ไปยังบอร์ดวงจร
เพื่อไปขยายความถี่ให้แรงขึ้น
จากนั้นก็จะนำความถี่ที่ขยายแล้วไป
บอกซีพียูว่าความถี่ตอนนี้มีเท่าไร
ขณะยังไม่มีน้ำความถี่จะอยู่ประมาณ 26KHZ
ขณะน้ำเต็มถังความถี่จะอยู่ประมาณ 22KHZ
ลดลงประมาณ 4KHZ

จากนั้นกดปุ่มPOWER
กดLEVELตั้งระดับน้ำสูงสุด
กดSTART

เครื่องก็จะทำการปล่อยน้ำ
เมื่อมีน้ำไหลเข้าถังก็จะเกิดแรงดัน
ผ่านท่อสายยางคล้ายๆท่อน้ำเกลือ
แรงดันเข้าไปที่ตัวเพรสเชอร์
ก็จะไปกดแผ่นยางในตัวเพรสเชอร์
ให้ไปดันแกนเหล็กเฟอร์ไรท์
เข้าไปในขดลวด
ทำให้สนามแม่เหล็กของขดลวดเกิดการเปลี่ยนแปลง
ทำให้ความถี่ลดต่ำลง
ยิ่งเข้าลึกก็ยิ่งความถี่ต่ำ
น้ำยิ่งมากก็ยิ่งความถี่ต่ำลงนั่นเอง

ซีพียูจะคอยตรวจจับความถี่
ถ้าความถี่ต่ำถึงจุดที่ซีพียูตรวจจับ
ซีพียูก็จะสั่งปิดไฟที่วาล์วน้ำ
และสั่งมอเตอร์หมุนซ้ายขวา
เพื่อทำการซักตามระบบต่อไป

ถ้าไม่มีความถี่ไปบอกซีพียู
ซีพียูก็จะสั่งให้มีเสียงร้องเตือนติ๊ดๆๆๆๆ
ถ้าเป็นSAMSUNG ก็จะขึ้นคำว่า1E
ถ้าเป็นLG ก็จะขึ้นคำว่า PE =PRESSURE ERROR
และเครื่องซักผ้าก็จะไม่ทำงาน

สายเพรสเชอร์ของSAMSUNGมี3เส้น คือ
1 สีชมพู ขาริมเป็นไฟ2.5Vมาจากไอซีเบอร์4069
2 สีส้ม ขากลางเป็น กราวด์
3 สีม่วง ขาริมอีกด้านเป็นไฟ2.5Vมาจากไอซีเบอร์4069

สายเพรสเชอร์ของLGมี3เส้น คือ
1 สีม่วง ขาริมเป็นไฟ2.5Vมาจากไอซีเบอร์4069
2 สีขาว ขากลางเป็น กราวด์
3 สีส้ม ขาริมอีกด้านเป็นไฟ2.5Vมาจากไอซีเบอร์4069

เพรสเชอร์จะมีแบบมีไอซี4069
ต่ออยู่บนตัวเพรสเชอร์
และอีกแบบคือไม่มีตัวไอซี4069ต่ออยู่ที่ตัวเพรสเชอร์
แต่จะไปต่ออยู่กับแผงบอร์ดควบคุมแทน

ในการผ่าครั้งนี้ใช้ของLG6KG
แบบ3ขา แบบไม่มีไอซี4069ต่ออยู่ที่ตัวเพรสเชอร์

หลังจากผ่าออกมาแล้วขดลวดก็จะพันอยู่บนแกนพลาสติก
และปลายขดลวดจะต่ออยู่ที่ขาริมของเพรสเชอร์
ส่วนปลายขดลวดอีกด้านจะต่ออยู่ที่ขาริมของเพรสเชอร์อีกด้าน
และมีCไมล่าค่า223  2ตัวต่อยู่ขาริมกับขากลาง
โดยที่ขากลางก็จะมีขาCทั้ง2ตัวต่อร่วมอยู่
ส่วนปลายCทั้ง2ตัวจะต่ออยู่ที่ขาริมร่วมกับขดลวด

เทคนิควัดดีเสีย100เปอร์เซ็นท์ แบบไม่มีไอซีในตัว

เพรสเชอร์ที่ทำการวัดนี้
เป็นแบบรุ่นเล็กประมาณ6KG
ของLGหรือSAMSUNG
แบบ3ขา แบบไม่มีไอซีแปะอยู่ที่ตัวเพรสเชอร์

เพรสเชอร์แบบ3ขา จะมี2แบบคือ
1 แบบไม่มีไอซีมาแปะที่ตัวเพรสเชอร์
2 แบบมีไอซีมาแปะไว้ที่ตัวเพรสเชอร์

ในการฟันธงดีเสียแบบ100%นี้
เป็นแบบไม่มีไอซีแปะอยู่ที่ตัวเพรสเชอร์

สายแจ๊คนี้จะมี3เส้น
ขั้วกลางเป็นกราวด์
ขั้วริมเป็นไฟ 2.5 DCV ทั้ง2ด้าน

ขาริมกับขาริมเป็นขดลวดเพรสเชอร์
ถ้าวัดโอมห์ขาริมกับขาริมได้ประมาณ 22โอมห์
ก็แสดงว่าขดลวดไม่ขาด ขดลวดดี
  ส่วนขากลางกับขาริมจะมีCค่า223(22NF)
ต่ออยู่ด้านละ1ตัว
นั่นหมายถึงภายในเพรสเชอร์3ขาจะมี Cค่า223(22NF)
อยู่2ตัวนั่นเอง

การวัดค่าCภายในเพรสเชอร์ทำได้ดังนี้
ใช้มิเตอร์ดิจิตอลยี่ห้อใดก็ได้ที่สามารถวัดค่าCได้
ตั้งไปย่านC สังเกตุจะขึ้นคำว่า nF
จากนั้นวัดขากลางกับขาริมใดก็ได้
จะเป็นการวัดค่าCแบบขนาน
การวัดCแบบขนานจะได้ค่าที่เพิ่มขึ้น
ตรงข้ามกับการวัดรีซิสเตอร์ที่การวัดขนานจะได้ค่าที่ต่ำลง

ผลการวัดขากลางกับขาริมได้45nF แสดงว่าถูกต้อง
ถ้าวัดได้แบบนี้ก็หมายความว่า
เพรสเชอร์ตัวนี้สามารถสร้างความถี่ได้แน่นอน100%นั่นเอง
ส่วนได้กลไกบอกไม่ได้ว่าดีหรือเสีย
ถ้าในเรื่องของด้านกลไกเสียก็จะเป็นในเรื่องของ
อาการน้ำล้น หรือน้ำน้อยแทนครับ
  แต่ถ้าวัดได้ตามข้างต้นแล้ว
แต่กดปุ่มPOWERเพียงปุ่มเดียวรอประมาณ3วินาที
จะต้องไม่มีเสียงร้องเตือนใดๆ
แต่ถ้าเกิดมีเสียงร้องเตือนสักพักแล้วไฟกระพริบ
ไม่สามารถทำงานได้
ก็แสดงว่าเสียที่เส้นทางขาดหรือบอร์ดควบคุมในส่วนนี้เสีย

ส่วนการวัดอนุกรมไม่สามารถวัดได้
เพราะขดลวด22โอมห์
จะทำการคลายประจุตัวCทั้ง2ตัวอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

การวัดเพรสเชอร์ให้เสียบปลั๊กไฟ
แต่ไม่ต้องกดปุ่มPOWER
เพราะเมื่อเสียบไฟเข้าเครื่องซักผ้าแล้ว
จะมีไฟมารอที่เพรสเชอร์และสร้างความถี่ทันที
ถ้าเพรสเชอร์ไม่สร้างความถี่ไปบอกซีพียู
เมื่อเรากดPOWER รอประมาณ3วินาที
ก็จะเกิดเสียงร้องเตือนติ๊ดๆๆๆๆๆๆ

จากนั้นใช้มิเตอร์วัดไฟ
วัดขากลางกับริม จะได้ไฟ 2.5 DCV ทั้ง2ด้าน

ถ้าไม่มีไฟให้ตั้งมิเตอร์วัดโอมห์ว่าสายเส้นใดขาด
ส่วนใหญ่หนูจะกัดสายไฟขาด

ถ้าวัดไฟที่ตัวเพรสเชอร์
ขากลางกับริมทั้ง2ด้าน
มีไฟมาประมาณ 2.5 DCVแล้ว

ให้ใช้มิเตอร์ดิจิตอลที่มีย่านวัดความถี่
วัดไปที่ขากลางกับริม
และวัดขากลางกับริมอีกด้าน
ถ้าได้ความถี่ประมาณ26.86KHZ
ทั้ง2ด้านก็แสดงว่าปกติ

ถ้าใช้มิเตอร์เข็มวัดให้ตั้งย่านวัด 10 ACV
แล้วสายวัดสีแดงย้ายไปเสียบที่รูOUTPUT
วัดไปที่ขากลางกับริม
และวัดขากลางกับริมอีกด้าน
ถ้าเข็มขึ้นความถี่แรงประมาณ 0.6 ACV
ทั้ง2ด้านก็แสดงว่าปกติ
มิเตอร์เข็มแต่ละยี่ห้อจะวัดได้ความแรงไม่เท่ากัน

ถ้าวัดแล้วไม่มีความถี่ออกมา
ก็แสดงว่าเพรสเชอร์เสียให้ทำการเปลี่ยนเพรสเชอร์

ตรวจสอบว่าความถี่เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่
โดยการกดปุ่มPOWER กดLEVELสูงสุด กดSTART
น้ำจะค่อยๆไหลจนเต็มถังตามที่กดระดับน้ำสูงสุด

เอามิเตอร์ดิจิตอลที่มีย่านวัดความถี่
วัดที่ขากลางกับริมจะค่อยๆความถี่ตกลง
เมื่อน้ำเต็มระดับสูงสุดความถี่จะตกลงจาก
ประมาณ26.86KHZ เหลือ 22.18 KHZ ทั้ง2ด้าน

ถ้าเป็นมิเตอร์เข็มจะวัดความถี่
ขากลางกับขาริม ความแรงเพิ่มจาก
0.6ACV เพิ่มเป็น 0.8ACV เพิ่มขึ้น 0.2ACV
ทั้ง2ด้าน

ถ้าวัดแล้วความถี่เปลี่ยนแปลงได้แบบนี้
ก็แสดงว่าเพรสเชอร์ดี
ท่อสายยางที่คล้ายๆท่อน้ำเกลือดี
ทุกอย่างของเพรสเชอร์ดี

ถ้าความถี่ไม่เปลี่ยนแปลง
ก็แสดงว่าสายน้ำตัน รั่ว หรือกลไกภายใน
เพรสเชอร์รั่วลม ทำให้เกิดอาการน้ำล้นถัง

ถ้าความถี่ได้แล้วเครื่องยังร้องติ๊ดๆอีก
ก็แสดงว่าความถี่ไปไม่ถึงซีพียูหรือปริ๊นท์ร่อน
หรือบอร์ดวงจรเสีย

เชิญชมวีดีโอประกอบครับ



ไม่มีความคิดเห็น: