วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

สาเหตุแอร์ระเบิดและวิธีสังเกตุถังลมกับถังไนโตรเจนCauses air conditioner bombs and how to protect



สาเหตุแอร์ระเบิดและวิธีสังเกตุถังลมกับถังไนโตรเจนCauses air conditioner bombs and how to protect
4/4/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
สาเหตุแอร์ระเบิดและวิธีสังเกตุถังลมกับถังไนโตรเจนCauses air conditioner bombs and how to protect

การซ่อมต้องใส่รองเท้า และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชึวิตได้

การหารอยรั่วในระบบแอร์จะต้องใช้ถังไนโตรเจนเท่านั้น
เพราะไนโตรเจนจะไปแทนที่ออกซิเจนจึงไม่มีการระเบิด
แต่ถ้าใช้ถังออกซิเจน(ลม)อัดเข้าระบบแอร์เพื่อหารอยรั่ว
จะทำให้ระเบิดจนพิการหรือตายตามข่าวที่เกิดขึ้นบ่อยๆ

วิธีสังเกตุ คือข้อต่อที่หัวถังไนโตรเจนจะเป็นเกลียวใน 
ส่วนถังออกซิเจนหรือถังลมจะเป็นเกลียวนอก
ถ้าเอาถังออกซิเจน(ลม)ไปอัดไนโตรเจนทางร้านจะไม่อัดให้
ถ้าเอาถังไนโตรเจนไปอัดออกซิเจน(ลม)ทางร้านก็จะไม่อัดให้เช่นกัน
ส่วนใหญ่แล้วถังออกซิเจนจะมีสีเขียว
และส่วนใหญ่ถังไนโตรเจนจะมีสีเทา
ถังไนโตรเจนเขียนบอกที่ถังว่า NITROGEN สัญญลักษณ์ N2

ในการติดตั้ง หรือ ซ่อมแอร์ 
ออกซิเจน(ลม)และไนโตรเจน
จะถูกนำมาใช้

ออกซิเจน(ลม) จะช่วยให้ติดไฟได้ง่าย
ใช้ควบคุมความแรงและทิศทางของเปลวไฟ
ในการเชื่อมท่อทองแดง 
ทั้งในโรงงานผลิต 
การติดตั้งตามบ้านเรือน  หรือการซ่อมแซมรอยรั่วของท่อน้ำยาแอร์

แต่ออกซิเจนที่ใช้ที่จะต้องเป็นออกซิเจนบริสุทธิ์ 
ไม่มีสิ่งอื่นเจอปน
ไม่ว่าจะเป็นก๊าซชนิดอื่นหรือเศษฝุ่นละออง 
ออกซิเจนจะถูกเก็บไว้ในถังรับแรงดัน 
ส่วนใหญ่จะแรงดัน 2,000 PISG. (ปอนด์ ต่อ ตารางนิ้ว) 
ซึ่งเมื่อต้องการใช้ก็สามารถถ่ายลงถังเล็กๆได้ 
แต่ถังต้องสามารถรับแรงดันได้ 2,000 PISG.เหมือนกับถังใหญ่

การถ่ายลงไปยังถังเล็ก
ที่หัวถังทั้ง2ถังจะต้องมีวาวล์ปรับแรงดัน หรือ Regulator
ที่สามารถปรับแรงดันได้ 
เพื่อป้องกันการกระแทกของแรงดันภายในถังที่ถุกปล่อยออกมา 
ทำให้อุปกรณ์เสียหาย และอันตรายอาจถึงชีวิตได้ 

คำเตือน ห้ามอัดออกซิเจนเข้าไปในระบบท่อน้ำยาแอร์โดยเด็ดขาด
เพราะออกซิเจน(ลม)จะเข้าไปผสมกับน้ำมันคอมเพรสเซอร์
จะทำให้เกิดปฎิกิริยาจนติดไฟ
และทำให้ระเบิดได้ โดยไม่ต้องมีประกายไฟมาเป็นตัวจุด 
ข้อควรระวังอย่างสูงสุดของช่างแอร์คือ
อย่าเผลออัดออกซิเจนเข้าไปในระบบท่อแอร์โดยเด็ดขาด
โดยเฉพาะการทดสอบหารอยรั่วในขั้นตอนการติดตั้ง
หรือการซ่อม

ไนโตรเจน มีคุณสมบัติที่ไร้สี ไร้กลิ่น ป้องกันความชื้นได้ดี
และไม่ติดไฟ  แรงดันไม่แปรผันตามอุณหภูมิ
และไนโตรเจนจะไปแทนที่ออกซิเจน
ดังนั้นเราจึงสามารถอัดไนโตรเจนเข้าไปในระบบท่อน้ำแอร์
เพื่อทดสอบหารอยรั่วในระบบท่อแอร์ได้โดยไม่ระเบิด

การสังเกตุ ถังไนโตรเจนจะเป็นสีเทา
มีแรงดันเท่ากับออกซิเจน คือ 2,000 PISG. (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) 
แต่ไม่สามารถแบ่งใส่ถังเล็กได้ 
ไนโตรเจนยังสามารถนำมาผ่านท่อทองแดงขณะเชื่อม
ช่วยลดการเกิดเขม่า
ช่วยให้ระบบท่อน้ำยาแอร์สะอาดขึ้นได้อีกด้วย

การทำงานเกี่ยวกับแรงดันสูงจะอันตรายมาก 
ดังนั้นต้องมีวาล์วปรับแรงดัน หรือ Regulator
ทั้งออกซิเจนและไนโตรเจน
อุบัติเหตุเกิดจากความประมาท และมักง่าย
เพราะออกซิเจน(ลม) มีราคาถูกกว่าไนโตรเจนหลายเท่าตัว

เชิญชมวีดีโอประกอบครับ



ไม่มีความคิดเห็น: