วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560

สร้างหลอดทดสอบไฟช็อท การทำงานของหลอดแบบต่างๆ Create a test tube short circuit And the work of various lamps










สร้างหลอดทดสอบไฟช็อท การทำงานของหลอดแบบต่างๆ Create a test tube short circuit And the work of various lamps
15/9/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
สร้างหลอดทดสอบไฟช็อท การทำงานของหลอดแบบต่างๆ Create a test tube short circuit And the work of various lamps

เทคนิคสังเกตุหลอดทดสอบไฟช็อท
1.หลอดติดสว่างจ้าตลอดเวลา
แสดงว่ามีตัวช็อทที่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มาทดสอบ
ถ้าไม่ใช้หลอดทดสอบไฟช็อท
ก็จะทำให้ฟิวส์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าขาดอีก
และอาจทำให้วงจรเสียหายมากกว่าเดิม
  แต่หลอดที่มาทดสอบถ้ามีวัตต์ยิ่งสูงก็ยิ่งดี
เพราะหลอดยิ่งวัตต์สูงยิ่งความต้านทานต่ำ
ทำให้สามารถจ่ายกระแสให้โหลดที่มาทดสอบได้มาก
ทำให้ไม่หลงทาง
  ถ้าใช้หลอดวัตต์ต่ำ หลอดอาจติดสว่างจ้า ทำให้หลงว่าโหลดที่มาต่อช็อท
ถ้าในกรณีสงสัยให้ใช้หลอดที่มีวัตต์สูงกว่ามาทดสอบใหม่
หรือ นำหลอดมาต่อขนานกันหลายๆหลอด ก็จะทำให้ความต้านทานต่ำลง
ทำให้จ่ายกระแสได้มากขึ้นก็จะไม่หลงนั่นเอง
  การใช้หลอดขั้นต่ำ เช่น หลอดไส้ จะต้องมี 60วัตต์ 220VAC
ถ้าในกรณีตรวจเช็คแล้วไม่แน่ใจ ให้ใช้ หลอดไส้ 200วัตต์ 200VAC
มาลองดู ก็จะแน่นอนขึ้น

2.หลอดไม่ติดหรือติดหรี่
แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มาทดสอบดีไม่มีการช็อท
หรือไม่เสียในลักษณะช็อท
แต่อาจจะเสียในลักษณะขาด
หรือโหลดที่มาทดสอบมีการกินกระแส
แต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้ โหลดนั้นทำงานได้
ทำให้เกิดการติดหรี่ขึ้น
ถ้าใช้หลอดวัตต์ต่ำก็จะสว่างจ้า ทำให้หลงว่าช็อทได้
  แต่ถ้าโหลดที่มาทดสอบ ได้กระแสพอให้สามารถทำงานได้
แต่ไม่พอที่จะให้มันทำงานต่อเนื่อง
ก็จะแสดงผลที่หลอดในลักษณะ ติดตับ ติดดับ หลอดกระพริบนั่นเอง
เรียกว่า เกิดการแย่งไฟระหว่างหลอดทดสอบกับโหลดที่มาต่อทดสอบ

3.หลอดไฟติดกระพริบเป็นจังหวะ
แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดปกติ มีการทำงานแล้ว
แต่ไฟไม่พอให้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆทำงานอย่างต่อเนื่อง
จึงเกิดการแย่งไฟกันขึ้น
ระหว่างหลอดทดสอบไฟช็อทกับเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ
คือเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเริ่มทำงาน
ก็จะดึงกระแสไฟที่ผ่านหลอดทดสอบ
และเมื่อกระแสไฟที่ผ่านหลอดทดสอบ
ไม่พอจ่ายให้เครื่องใช้ไฟฟ้า
ก็จะทำให้ไฟที่ผ่านหลอดทดสอบตกลงเหลือประมาณ0โวลท์
ทำให้หลอดทดสอบสว่างและเมื่อหลอดทดสอบสว่าง
ก็จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าหยุดทำงาน
และเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าหยุดทำงาน
ไฟที่ผ่านหลอดก็จะเท่ากับแหล่งจ่ายต้นทางคือ 220VAC
ทำให้หลอดดับไม่สว่าง
และเมื่อกระแสไฟที่ผ่านหลอด ได้220VAC
ก็จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเริ่มทำงานใหม่
และเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเริ่มทำงาน
ก็จะดึงกระแสไฟที่ผ่านหลอดทดสอบ ให้เหลือประมาณ 0 VAC อีก
ทำให้หลอดสว่างอีกครั้ง
ทำให้เกิดการกระพริบของหลอดไฟตลอดเวลานั่นเอง

หลอดทดสอบไฟช็อทจะใช้หลอดไส้หรือหลอดตะเกียบก็ได้
แต่หลอดตะเกียบ จะสังเกตุแสงยากกว่าไส้หลอด

หลอดวัตต์ยิ่งตํ่ายิ่งความต้านทานสูงยิ่งจ่ายกระแสได้น้อย
หลอดวัตต์ยิ่งสูงยิ่งความต้านทานต่ำยิ่งจ่ายกระแสได้มาก

ถ้าในกรณีที่จะนำทีวีแบบจอตู้มาทดสอบ
ก็ต้องทำการถอดดีเก๊าท์ออกก่อนจึงจะสามารถนำมาทดสอบได้
  แต่ถ้าเป็นทีวีแบบจอตู้ที่ดีไม่เสียอยากมาทดสอบ
เพื่อดูหลอดทดสอบ
ก็ไม่จำเป็นต้องถอดดีเก๊าท์ออก
เพียงเปิดเครื่องทีวีแบบจอตู้ให้ติดมีภาพออกก่อน
แล้วจึงจะนำมาทดสอบกับหลอดทดสอบไฟช็อท
เนื่องจากทีวีแบบจอตู้ในขณะเครื่องเย็นจะต้องมีการล้าง
สนามแม่เหล็กในตอนเปิดเครื่องครั้งแรกก่อน
หรือจะถอดดีเก๊าออกก่อนทดสอบกับหลอดทดสอบก็ได้
ถ้าถอดดีเก๊าท์ออกแล้วไม่จำเป็นต้องทำการอุ่นทีวีจอตู้อีก




ไม่มีความคิดเห็น: