วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สร้างแหล่งจ่ายไฟ4ชิ้น สร้างง่าย ทนทาน ประสิทธิภาพสูง ซ่อมง่าย DIY POWER SUPPLY 4 PIECES









สร้างแหล่งจ่ายไฟ4ชิ้น สร้างง่าย ทนทาน ประสิทธิภาพสูง ซ่อมง่าย DIY POWER SUPPLY 4 PIECES
4/10/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
สร้างแหล่งจ่ายไฟ4ชิ้น สร้างง่าย ทนทาน ประสิทธิภาพสูง ซ่อมง่าย DIY POWER SUPPLY 4 PIECES

บริดไดโอด เบอร์ W10M

C ค่า 1000uF  63V

Fuse Holder for 5x20mm Fuse, 10A 250V

Fuse 500mA/250V,5*20mm,Glass Tube,Fast Acting

หม้อแปลงสั้งขนาดได้ สั่งได้ที่ร้านขายอิเล็คทรอนิคส์ทั่วไป


/////////////////////////////////////////////////////////////////////
สูตร หาค่าC ให้กับแหล่งจ่ายไฟ แบบเต็มคลื่น และ แบบครึ่งคลื่น Formula C Power supply Full wave Half wave rectifier
31/8/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
สูตร หาค่าC ให้กับแหล่งจ่ายไฟ แบบเต็มคลื่น และ แบบครึ่งคลื่น Formula C Power supply Full wave Half wave rectifier

สูตรการคำนวณค่า C คือ
C = ( IL * T ) / ( Vrip ) * 106
จะได้ผลลัพท์เป็นไมโครฟารัด จากนั้นหาร2 ก็จะได้ค่าCที่แท้จริง

สูตรความถี่
T = 1 / F
1 / 100 HZ = 0.01 SEC แบบเต็มคลื่น
1 / 50 HZ   = 0.02 SEC แบบครึ่งคลื่น

แหล่งจ่ายไฟแบบเต็มคลื่น
เมื่อความถี่ไฟบ้าน 50 HZ
ผ่านบริดไดโอดมาแล้ว จะกลายเป็นความถี่ 100 HZ

แหล่งจ่ายไฟแบบครึ่งคลื่น
เมื่อความถี่ไฟบ้าน 50 HZ
ผ่านไดโอด1ตัว ความถี่จะเท่าเดิมคือ 50 HZ

โจทย์ คือ
หม้อแปลง12VAC
กระแสโหลด0.5A
Ripple ไม่เกิน10%

( 0.5 A * 0.01 SEC ) / ( 1.7 Vp-p ) * 106
= 2940 uF / 2 = 1470 uF

C = ตัวเก็บประจุ หน่วยเป็น ไมโครฟารัด ( uF )
IL = กระแสโหลด หน่วยเป็น แอมป์ ( Amp )
T = เวลา หน่วยเป็น วินาที ( Sec ) เป็นเวลาเก็บประจุ
T = 1 / ( 50 HZ * 2เท่า ) ถ้าเป็นกระแสแบบเต็มคลื่น X2
F = ความถี่ หน่วยเป็น เฮิร์ท ( HZ )

ค่าความจุยิ่งมาก ยิ่งความต้านทานต่ำ
ความถี่ยิ่งสูง ยิ่งความต้านทานต่ำ

ไฟกระแสสลับ
  ถ้าวัดด้วยสโคป จะเห็นรูปสัญญาณ
จากยอดถึงยอด เรียกว่า Vp-p (โวลท์ พีค ทู พีค)
  ถ้าวัดจากมิเตอร์เข็มหรือมิเตอร์ดิจิทัล
ก็จะเรียกว่า ไฟAC หรือไฟกระแสสลับ
ซึ่งค่าที่วัดได้จากมิเตอร์จะน้อยกว่าวัดด้วยสโคป 2.828เท่า
เช่น ไฟบ้าน220VAC 50HZ
จะได้ Vp-p ดังนี้
220 VAC * 2.828 เท่า = 622 Vp-p

ค่าที่วัดได้จากมิเตอร์เข็มหรือมิเตอร์ติจิตอล
เรียกว่า Vrms ย่อมาจาก Volt Root Mean Square
ค่าที่วัดได้จะน้อยกว่าประมาณ 2.828 เท่า
เช่น เมื่อเราวัดไฟบ้าน ด้วยมิเตอร์ 220 VAC
ค่าที่วัดด้วยสโคปซึ่งแสดงเป็นรูปคลื่นไซน์ จะได้
220*2.828 = 622 Vp-p ( Volt peak to peak )

ไฟกระแสสลับ เมื่อเปลี่ยนเป็นไฟกระแสตรง
จะได้เพิ่มเป็น 1.414เท่า

และค่าของ ripple ที่เราต้องการ
ripple จะต้องไม่เกิน 10% ถ้าเกินเครื่องเสียงจะเกิดเสียงฮัม
ripple ในที่นี้คือ Vp-p ในฝั่งของไฟกระแสตรง
คือยอดคลื่นที่ไม่เรียบ ขณะต่อโหลด วัดจากยอดถึงยอด
หรือจุดที่ไฟกระเพื่อม ของแรงดันที่ output

หม้อแปลง 12VAC
ไฟ OUTPUT ที่ผ่านบริดไดโอดแล้ว
คือ 12x1.414 = 17VDC

Ripple (ริปเปิล) หรือ Vp-p  
จะต้องไม่เกิน 10% ของไฟ OUTPUT  
OUTPUT 17VDC = Ripple จะต้องไม่เกิน 1.7Vp-p 
ถ้าเกินแล้ว จ่ายให้เครื่องเสียงจะเกิดเสียงฮัม  

Vp-p คือลูกคลี่นจากยอดถึงยอด
หมายถึงจับสัญญาณด้วยสโคป จึงจะเห็น
แต่ถ้าวัดด้วยมิเตอร์ดิจิตอลจะได้ค่าที่ลดลงมา 2.828เท่า
 
ความถี่ของRIPPLE คือ ความถี่ของไฟบ้าน 50HZ
เมื่อผ่านบริดไดโอดมาแล้ว
จะเป็นการเรียงกระแสแบบเต็มคลื่น
ความถี่ของริปเปิล จึงเท่ากับ2เท่า คือ 1 / (50 HZ * 2)
1 / 100 HZ = 0.01 SEC
  แต่ถ้าเป็นแบบครึ่งคลื่น คือใช้ไดโอดตัวเดียว
ความถี่จะได้ 50 HZ เท่าไฟบ้าน
////////////////////////////////////////////////////////////////////////
Vp Vp-p Vrms Vrip คืออะไร
2/9/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
Vp Vp-p Vrms Vrip คืออะไร

Vp-p คือ แรงดันไฟฟ้า พีค-ทู-พีค (ยอดถึงยอด)
Vp คือ แรงดันไฟฟ้า 1พีค (คิดแค่ยอดคลื่นเดียว)
Vp-p = 2 Vp

Vrms = 0.707 Vp
Vrms = 0.3535 Vp-p

Vrip = ไฟกระแสตรง ทีมีการกระเพื่อม
ยอดบนของการกระเพื่อม กับยอดล่างของการกระเพื่อม
เรียกว่า Vp-p เช่นกัน แต่การคิดค่าจะต่าง กับคลื่นรูปไซน์

Vrms คืออะไร
RMS ย่อมาจาก Root mean square แปลว่า ค่าเฉลี่ยกำลัง2
เช่น คลื่นรูปไซน์ เช่น ไฟบ้าน 220VAC
เมื่อวัดด้วยมิเตอร์เข็มหรือดิจิตอล ไฟบ้านจะได้ 220 VAC
ถ้าวัดด้วยสโคป จะเห็นเป็นรูปสัญญาณ
จากยอดบนถึงยอดล่าง เรียกว่า Vp-p
ค่าที่ได้จะมากกว่าการวัดด้วยมิเตอร์เข็มหรือดิจิตอล
ประมาณ 2.828 เท่า เช่น
220VAC * 2.828 = 622 Vp-p หรือ 311 Vp

ถ้าไฟ 220VAC ผ่านไดโอดที่ยอมให้ไฟไหลผ่านทางเดียว
ก็จะได้ คลื่นยอดเดียว เรียกว่า Vp
และเมื่อวัดด้วยมิเตอร์ ก็จะได้ไฟเพิ่มขึ้นประมาณ 1.414เท่า
คือ 220VAC * 1.414 = 311 VDC
หรีอนำค่า 220VAC / 0.707 = 311 VDC เช่นกัน

สรุป
Vp คือ คลื่นยอดเดียว จะเป็นซีกบวก หรือซีกลบก็ได้
Vp-p คือ ยอดถึงยอด หมายถึงซีกบวก และ ซีกลบ

Vrms คือ การวัดด้วย มิเตอร์เข็มหรือดิจิตอล
ค่าที่ได้จะเป็นค่าเฉลี่ย  เนื่องจากไม่สามารถเห็นสัญญานเหมือนสโคป
ถ้าวัดไฟAC ค่าที่วัดได้จะน้อยกว่าสโคป ประมาณ 2.828 เท่า
ถ้าวัดไฟDC ค่าที่วัดได้จะเท่ากับสโคป เช่น
ไฟ 220 VAC เมื่อผ่านไดโอดมาแล้ว
จะเป็นไฟกระแสตรง วัดได้ 311 VDC ทั้งมิเตอร์และสโคปนั่นเอง
แต่ต้องต่อC เพื่อเก็บประจุด้วย ถ้าไม่มีจะวัดไฟไม่ได้
เนื่องจากมีริปเปิล หรือไฟกระเพื่อมมากเกินไปนั่นเอง

และเมื่อใช้มิเตอร์วัดไฟACได้เท่าไร
เมื่อผ่านไดโอดมา แรงไฟDC ก็จะมากกว่า AC ประมาณ1.414 เท่า



ไม่มีความคิดเห็น: