วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

วัดฟิวส์500mA250VแบบมีCE ป้องกันมิเตอร์เข็มขณะวัดผิดพลาด ย่านX1เพี้ยน มิเตอร์เข็มSANWAรุ่นYX-361TR










วัดฟิวส์500mA250VแบบมีCE ป้องกันมิเตอร์เข็มขณะวัดผิดพลาด ย่านX1เพี้ยน มิเตอร์เข็มSANWAรุ่นYX-361TR
3/10/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
วัดฟิวส์500mA250VแบบมีCE ป้องกันมิเตอร์เข็มขณะวัดผิดพลาด ย่านX1เพี้ยน มิเตอร์เข็มSANWAรุ่นYX-361TR

ย่านX1เพี้ยนมิเตอร์เข็มSANWAรุ่นYX-361TR ตอน1
10/1/2558 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
ย่านX1เพี้ยนมิเตอร์เข็มSANWAรุ่นYX-361TR ตอน1

ใช้Rค่า15Ω กับ 100Ω มาทดลองในการวัด

ย่านX1วัดRค่า15Ω ได้13.5Ω เพี้ยน
วัดRค่า100Ω ได้90Ω เพี้ยน
ลองวัดย่านX10 วัดได้ตรงค่าไม่เพี้ยน

แสดงว่าเส้นทางที่ไปขดลวดเคลื่อนที่(Moving Coil)ดี
แต่เส้นทางที่มาทางขั้ว –COM เสีย
เส้นทางนี้ก็มีRตำแหน่ง19ค่า19Ω
กับ R30ค่า510Ω
กับLEDสีแดงเวลาซีโร่โอมห์จะมีไฟออกมา

ลองลอยออกLEDออกย่านX1ก็เพี้ยนเหมือนเดิม

ใช้มิเตอร์ดิจิตอลFLUKE115ในการวัด
ลองวัดRตำแหน่ง19ค่า19Ω ได้19.3Ω
หักค่าสายวัด0.2Ω เหลือ19.1Ω
เกินไป0.1Ω

จากนั้นให้นำRค่า22Ω กับ150Ω
มาต่อขนานกันจะได้18.7Ω
ตามความจริงจะต้องได้19.19Ω
แต่เนื่องจากRที่นำมาขนานมีค่าความคลาดเคลื่อน
ลักษณะต่ำกว่าค่าจริงจึงได้ 18.7Ω

จากนั้นทำการเปลี่ยนR19เป็น18.7Ω
หลังจากเปลี่ยนใส่เข้าไปก็วัดได้เพี้ยนเหมือนเดิม

R19ฅ่าน้อยจะทำให้เข็มขึ้นน้อย
R19ฅ่ามากจะทำให้เข็มขึ้นมาก

ใช้Rค่าต่างๆมาขนานโดยใช้สายคีบสีแดงกับสีดำ
มาจับที่หัวท้ายของR19
ปรากฏว่าค่า150มาทำการขนานแล้ววัดได้ตรง

จากนั้นนำRค่า150มาขนานแล้วบัดกรีรวมเข้ามา
ก็ใช้ได้แล้ว
หมายความว่าใช้ค่า22 150 150 3ตัวมาขนานกัน

ในวงจรเขียนว่า Rตำแหน่ง19ใช้ค่า19Ω
แต่ของจริงอาจใช้ไม่ตรงตามวงจรก็ได้

ผมลองซื้อSANWA รุ่นYX-361 ปี2558
แล้วลองวัด Rตำแหน่ง19ค่า19Ω ได้ 18.3Ω เท่านั้น

ส่วนตัวที่ซ่อมเป็นปี2548

สูตร ความต้านทานขนาน
1 / (1/R1+1/R2+1/R3……)
1 = ค่าRตัวที่มีความต้านทานสูงสุด

โจทย์ ถ้านำRค่า 22 150 150 3ตัวมาขนานกัน
จะได้ความต้านทานเท่าไร

1 / (1/R1+1/R2+1/R3)
=150 / (150/22+150/150+150/150)
=150 / (6.82+1+1)
=150 / (8.82)
=17.01 Ω

หลังจากนำRค่า 22 150 150 3ตัวมาขนานกัน
จะได้ค่า17.01 Ω

การขนานในงานซ่อมนี้ใช้2ตัวมาขนานกันก็ได้
และใช้Rขนาด1/4Wก็พอ

ไม่มีความคิดเห็น: