วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ตารางการวัดค่าซีCหรือคาปาซิเตอร์CAPACITORด้วยมิเตอร์เข็ม






ตารางการวัดค่าซีCหรือคาปาซิเตอร์CAPACITORด้วยมิเตอร์เข็ม
19/2/2558 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
ตารางการวัดค่าซีCหรือคาปาซิเตอร์CAPACITORด้วยมิเตอร์เข็ม

การซ่อมต้องใส่รองเท้า และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชึวิตได้

การวัดอุปกรณ์ใดๆต้องดึงปลั๊กไฟออกก่อน

มิเตอร์เข็มตั้งย่าน0.25A
สายมิเตอร์สีแดงกับสีดำ
จะกลายเป็นสายไฟเส้นหนึ่งมีค่าประมาณ1โอมห์
จับไปที่ขั้วC เพื่อคลายประจุออกให้หมดเพื่อการวัดที่แม่นยำ

  ในกรณีคลายประจุCหมดแล้ว
เวลาวัดถ้าเป็นCแบบมีขั้วก็ให้วัดให้ตรงขั้วเพื่อความแม่นยำ
แต่ถ้าไม่มีขั้ววัดสายสีอะไรก็ได้
  สายสีดำเป็นไฟบวก สายสีแดงเป็นไฟลบ
ในกรณีที่Cไม่มีไฟหรือคลายประจุจนหมดแล้ว
การวัดแบบนี้เป็นการวัดแบบเก็บประจุ เข็มจะตีขึ้นเท่าเดียว

  หากขี้เกียจคลายประจุก็ให้ทำการวัดสลับขั้วกลับไปกลับมา
การวัดสลับขั้วจะเป็นการวัดแบบคลายประจุ
เข็มจะตีขึ้น2เท่าของการเก็บประจุ
นั่นหมายความว่า ค่าที่แท้จริง คือ 1 เท่านั่นเอง

วัดด้วยมิเตอร์เข็มเข็มขึ้น แล้วตกลงเหลือ0
แสดงว่าCดี
แต่ในกรณีที่เป็นCแบบมีขั้วอาจลงไม่ถึง0ก็ถือว่าดี

ค่าที่วัดได้จะไม่แน่นอน แค่รู้ว่าใกล้เคียงเท่านั้น
แต่ถ้าจะให้แม่นยำจะต้องใช้มิเตอร์เข็มตัวเดิมในการวัด
และต้องสร้างตารางการวัดค่าCขึ้นมาเฉพาะมิเตอร์ตัวนั้น
จึงจะสามารถวัดได้แม่นยำสูงเทียบเท่ามิเตอร์ดิจิตอล

สาเหตุเพราะมิเตอร์เข็มแม้ยี่ห้อเดียวกัน
บางครั้งการตอบสนองความเร็วของเข็มก็ยังไม่เท่ากัน
หมายความว่าถ้ามิเตอร์เข็มที่เข็มขึ้นช้า
สมมุติว่า วัดได้ประมาณเลข30
และถ้ามิเตอร์เข็มที่เข็มขึ้นเร็ว
ก็จะวัดได้ประมาณเลข10 เป็นต้น

การวัดต้องซีโร่โอมห์ก่อนเพื่อความแม่นยำ

ตารางค่าการวัดCด้วยมิเตอร์เข็มย่านX10K
0.01UF     เข็มกระดิกนิดเดียว
0.1UF      ขึ้นประมาณเลข300
0.22UF    ขึ้นประมาณเลข120-200
0.47UF    ขึ้นประมาณเลข70-90
0.63UF    ขึ้นประมาณเลข45
1UF        ขึ้นประมาณเลข40-50
1.2UF     ขึ้นประมาณเลข36
1.5UF     ขึ้นประมาณเลข30
1.8UF     ขึ้นประมาณเลข24
2UF        ขึ้นประมาณเลข23
2.2UF     ขึ้นประมาณเลข22
3.3UF     ขึ้นประมาณเลข16
4.7UF     ขึ้นประมาณเลข13
9.5UF     ขึ้นประมาณเลข7
10UF      ขึ้นประมาณเลข7  
14UF      ขึ้นประมาณเลข3

ตารางค่าการวัดCด้วยมิเตอร์เข็มย่านX1K
22UF       ขึ้นประมาณเลข22
33UF       ขึ้นประมาณเลข16
47UF       ขึ้นประมาณเลข13
63UF       ขึ้นประมาณเลข10
100UF     ขึ้นประมาณเลข7

ตารางค่าการวัดCด้วยมิเตอร์เข็มย่านX100
220UF     ขึ้นประมาณเลข22
330UF     ขึ้นประมาณเลข16
470UF     ขึ้นประมาณเลข13  
1000UF    ขึ้นประมาณเลข7

ตารางค่าการวัดCด้วยมิเตอร์เข็มย่านX10
2200UF      ขึ้นประมาณเลข22
3300UF      ขึ้นประมาณเลข16
4700UF      ขึ้นประมาณเลข13
10000UF    ขึ้นประมาณเลข7

ตารางค่าการวัดCด้วยมิเตอร์เข็มย่านX1
22000UF      ขึ้นประมาณเลข22
33000UF      ขึ้นประมาณเลข16
47000UF      ขึ้นประมาณเลข13
100000UF    ขึ้นประมาณเลข7  (1แสนไมโครฟารัด)

จำง่ายๆคือ UFกลับทางกับย่านวัด
เริ่มจาก2.2UFขึ้นมา วัดที่ย่านX10K
เริ่มจาก22UFขึ้นมา วัดที่ย่านX1K
เริ่มจาก220UFขึ้นมา วัดที่ย่านX100
เริ่มจาก2200UFขึ้นมา วัดที่ย่านX10
เริ่มจาก22000UFขึ้นมา วัดที่ย่านX1

หมายเหตุ ความคิดเห็นส่วนตัว น่าจะเป็นแบบนี้
ถ้าเป็นCไม่มีขั้ว
จังหวะเก็บประจุเข็มตีขึ้น พอประจุเต็มเข็มก็ตก
สลับสายวัดก็จะคายประจุเสร็จแล้วก็จะเก็บประจุ ทำให้เข็มตีขึ้น3เท่า
เพราะจังหวะคายประจุก็จะทำให้แรงไฟขึ้นมา2เท่า
ทำให้คาบเวลาในการวัดนานขึ้น3เท่า คือ
จังหวะคายทำให้เข็มตีขึ้น2เท่า จังหวะเก็บทำให้เข็มตีขึ้น1เท่า
รวมเป็นเข็มขึ้น3เท่า จังหวะเต็มเข็มก็ตก
คือขณะCไม่มีประจุความต้านทานจะต่ำ  ประจุเต็มความต้านทานสูง
ขณะคายประจุความต้านทานก็จะตํ่าเช่นกัน
  ถ้าเป็นCแบบมีขั้ว เวลาคายประจุเข็มจะตีขึ้น2เท่าของการเก็บประจุ
เพราะเมื่อคายประจุเสร็จแล้ว จะไม่เก็บประจุเพราะเป็นCแบบมีขั้ว
  ถ้าเป็นCแบบไม่มีขั้ว เวลาคายประจุเข็มจะตีขึ้น3เท่าของการเก็บประจุ
เพราะเมื่อคลายประจุเสร็จแล้ว จะทำการเก็บประจุอีกจนเต็ม
เพราะเป็นCแบบไม่มีขั้ว
ลองดูคลิปทั้งหมด https://www.youtube.com/channel/UCWx0GWGbXjSsdAVj-HLVD5A/videos
ซื้ออุปกรณ์ https://repairsmcu.blogspot.com/p/blog-page_20.html




ไม่มีความคิดเห็น: