วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ไฟฟ้า #131 ไฟฟ้าบ้านกลับขั้วตายตอน2 เมนไม่ตัด คัทเอาท์ตัดไฟได้ปลอดภัย100เปอร์เซ็นท์ กลับได้2รูปแบบ

 




ไฟฟ้า #131 ไฟฟ้าบ้านกลับขั้วตายตอน2 เมนไม่ตัด คัทเอาท์ตัดไฟได้ปลอดภัย100เปอร์เซ็นท์ กลับได้2รูปแบบ

27/7/2564 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE

 

ในคลิปใช้มิเตอร์การไฟฟ้า MITSUBISHI ขนาด15(45)A

จานหมุน400รอบ=1ยูนิท ยูนิทละ4บาท

 

ไฟขณะยังไม่กลับขั้ว 236V

ถ้ากลับขั้ว ไฟรั่วลงดินประมาณ40A ไฟจะตกเหลือ228V

ไฟจะตกประมาณ8V ที่สายไฟTHWเบอร์10

(ถ้าใช้THWเบอร์16 ไฟจะแข็งขึ้น และกระแสจะสูงขึ้น)

ทำได้สูงสุดที่240V/5 =กระแสรั่วลงดินสูงสุด48A

 

หลักดินที่ใช้ในการทดสอบ รู้ได้จากสูตร R=V/I

= 228.1V / 41.88A

= หลักดินที่ผมใช้ทดสอบก็จะมีค่า 5.44

 

228.1V 41.88A จานหมุน10รอบ 9.22วินาที

227.3V 42.38A จานหมุน10รอบ 9.16วินาที

 

คิดคร่าวๆเป็น 10รอบ9วินาที

400รอบ = 360วินาที =1ยูนิท

1วันมี 86,400 วินาที  =240ยูนิท

ยูนิทละ4บาท =เสียค่าไฟรั่วลงดินวันละ 960บาท

คิดคร่าวๆประมาณวันละ1,000บาท

ถ้า1เดือนหรือ30วัน ก็เสียค่าไฟรั่วลงดิน ประมาณ30,000บาท

 

ถ้าเป็นมาตรฐานใหม่การไฟฟ้า

การกลับขั้วจะมี2รูปแบบ

1. กลับขั้วที่มิเตอร์การไฟฟ้า

2. กลับขั้วที่เมนเบรคเกอร์

 

รูปแบบที่1 กลับขั้วที่มิเตอร์การไฟฟ้า

จะมีอันตรายแฝง2อย่าง

1 จากสายดินที่มาจากบัสบาร์กราวด์ หรือสายดินการไฟฟ้า

จะกลายเป็น220V และทำให้เราต้องจ่ายค่าไฟรั่ววันละ1,000บาท

และถ้ามีใครโดนไฟดูดจากสายดินการไฟฟ้า

เมื่อสับเมนเบรคเกอร์ลงมาก็จะไม่ตัดสายดินการไฟฟ้า

ดังนั้นคนที่โดนไฟดูดก็ยังคงโดนไฟดูดต่อไป

แต่ถ้าใช้คัทเอาท์ต่อคุมหน้าตู้คอนซูมเมอร์

เมื่อเราสับคัทเอาท์ ก็จะตัดไฟทั้งหมดรวมถึงสายดินการไฟฟ้าด้วย

ทำให้คนโดนไฟดูดไม่โดนไฟดูดอีกต่อไป

2 จากเบรคเกอร์กันดูดลูกย่อยในตู้คอนซูมเมอร์

ลูกย่อยจะตัดสายไฟเส้นเดียว ทำให้ไฟอีกเส้นสามารถวิ่งไปดูดเราได้

นั่นหมายความว่า ทุกครั้งที่กันดูดลูกย่อยตัด อาจมีคนเสียชีวิต

  ถ้ามีELCBตัวกันดูดที่ตัดไฟ2เส้นต่ออนุกรมอยู่ที่ปลายทาง

ถ้าELCBตัดก่อน ก็ปลอดภัย

ถ้ากันดูดลูกย่อยตัดก่อน ตัวELCBก็ขาดไฟ1เส้นไม่สามารถทำงานได้

คนที่โดนไฟดูดก็เสียชีวิต

  ถ้าใช้เมนกันดูดที่ตัดไฟ2เส้น

เมื่อมีคนโดนไฟดูดก็ไม่เสียชีวิตเพราะเมนกันดูดตัดไฟ2เส้น

 

รูปแบบที่2 กลับขั้วที่เมนเบรคเกอร์

จะมีอันตรายแฝง1อย่าง

1 จากเบรคเกอร์กันดูดลูกย่อยในตู้คอนซูมเมอร์

ลูกย่อยจะตัดสายไฟเส้นเดียว ทำให้ไฟอีกเส้นสามารถวิ่งไปดูดเราได้

นั่นหมายความว่า ทุกครั้งที่กันดูดลูกย่อยตัด อาจมีคนเสียชีวิต

  ถ้ามีELCBตัวกันดูดที่ตัดไฟ2เส้นต่ออนุกรมอยู่ที่ปลายทาง

ถ้าELCBตัดก่อน ก็ปลอดภัย

ถ้ากันดูดลูกย่อยตัดก่อน ตัวELCBก็ขาดไฟ1เส้นไม่สามารถทำงานได้

คนที่โดนไฟดูดก็เสียชีวิต

  ถ้าใช้เมนกันดูดที่ตัดไฟ2เส้น

เมื่อมีคนโดนไฟดูดก็ไม่เสียชีวิตเพราะเมนกันดูดตัดไฟ2เส้น

 

การตรวจเช็คควรตรวจเช็คเมื่อใด

1 เมื่อมีการทำไฟนอกบ้านหรือในบ้าน เช่นเมื่อมีการเปลี่ยนเสาไฟใหม่

หรือเรียกช่างมาซ่อมไฟภายในบ้าน

2 เมื่อมีไฟดับทุกครั้ง

3 เมื่อเราไม่อยู่บ้านหลายวัน หรือเป็นเวลานานๆ

4 เมื่อมีเหตุสงสัยอื่นๆ

 

การตรวจเช็ค ใช้ไขควงวัดไฟ

1 จิ้มไปที่โครงเหล็กของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่อสายดินการไฟฟ้า

หรือจิ้มไปที่รูกราวด์ของปลั๊กกราวด์3รู ถ้ามีไฟขึ้นแสดงว่ามีการกลับขั้วแล้ว

2 สับหรือปิดเบรคเกอร์ลูกย่อยลงมา แล้ววัดที่ปลั๊กกราวด์ที่ลูกย่อยนั้นคุมอยู่

ถ้ามีไฟขึ้นก็แสดงว่ามีการกลับขั้วแล้ว

  ถ้าจิ้มที่รูกราวด์มีไฟขึ้นก็แสดงว่าเป็นการ

กลับขั้วแบบที่1 คือกลับขั้วที่มิเตอร์การไฟฟ้า

  ถ้าจิ้มที่รูกราวด์ไม่มีไฟ แต่จิ้มรูLNของปลั๊กแล้วมีไฟขึ้นรูใดรูหนึ่งหรือ2รู

ก็แสดงว่าเป็นการ

กลับขั้วแบบที่2 คือกลับขั้วที่เมนเบรคเกอร์

 

 

 

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ไฟฟ้า #130 ไฟฟ้าบ้านกลับขั้วตาย สูญเงิน3หมื่น อันตรายแฝง2รูปแบบ ตัวกันดูดตัดตาย

 



ไฟฟ้า #130 ไฟฟ้าบ้านกลับขั้วตาย สูญเงิน3หมื่น อันตรายแฝง2รูปแบบ ตัวกันดูดตัดตาย

16/7/2564 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE

 

ถ้าใช้มิเตอร์การไฟฟฟ้าขนาด15(45)A

จานหมุน400รอบ=1ยูนิท ยูนิทละ4บาท

 

ไฟขณะยังไม่กลับขั้ว 236V บ้านผมอยู่ใกล้ไฟฟ้าแรงกลาง

ถ้ากลับขั้ว รั่วลงดินแล้วไฟจะตกประมาณ8V ที่สายไฟTHWเบอร์10

(ถ้าใช้เบอร์16 ไฟจะแข็งขึ้น และกระแสจะสูงขึ้น)

ทำได้สูงสุดที่240V/5 =48A

 

หลักดินที่ใช้ในการทดสอบ รู้ได้จากสูตร R=V/I

= 228.1V / 41.88A

= หลักดินที่ผมใช้ทดสอบอยู่ที่ 5.44

 

228.1V 41.88A 10รอบ 9:22วินาที

227.3V 42.38A 10รอบ 9:16วินาที

 

คิดคร่าวๆเป็น 10รอบ9วินาที

400รอบ = 360วินาที =1ยูนิท

1วันมี 86,400 วินาที  =240ยูนิท

ยูนิทละ4บาท =เสียค่าไฟรั่วลงดินวันละ 960บาท

คิดคร่าวๆประมาณวันละ1,000บาทต่อวัน

ถ้า1เดือน30วัน ก็เสียค่าไฟรั่วลงดิน ประมาณ30,000บาท

 

ถ้าเป็นมาตรฐานใหม่การไฟฟ้า

อันตรายแฝงจากกการกลับขั้วไฟจะมี2แบบ

1 จากสายดินที่มาจากบัสบาร์กราวด์

จะกลายเป็น220V

2 จากเบรคเกอร์กันดูดลูกย่อยในตู้คอนซูมเมอร์

ลูกย่อยจะตัดสายไฟเส้นเดียว ทำให้ไฟอีกเส้นสามารถวิ่งไปดูดเราได้

นั่นหมายความว่า ทุกครั้งที่กันดูดลูกย่อยตัด อาจจะมีคนเสียชีวิต

 

ถ้าเป็นมาตรฐานเก่าการไฟฟ้า

อันตรายแฝงจากกการกลับขั้วไฟจะมี1แบบ

1 จากเบรคเกอร์กันดูดลูกย่อยในตู้คอนซูมเมอร์

ลูกย่อยจะตัดสายไฟเส้นเดียว ทำให้ไฟอีกเส้นสามารถวิ่งไปดูดเราได้

นั่นหมายความว่า ทุกครั้งที่กันดูดลูกย่อยตัด อาจจะมีคนเสียชีวิต

 

มาตรฐานเก่ากับมาตรฐานใหม่ แบบไหนดีกว่ากัน

ความคิดผมวันนี้16/7/2564

  ถ้ามาตรฐานใหม่ จะมีการเตือนการกลับขั้ว เช่น

มิเตอร์หมุนเร็วมาก ค่าไฟสูงกว่าปกติ

ถ้าสัมผัสหลังเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยบังเอิญ แต่พื้นปูนแห้งเท้าแห้ง

เราก็จะสะดุ้ง แล้วใช้ไขควงวัดไฟก็จะมีแสงขึ้น

ทำให้รู้ว่ามีการกลับขั้ว หรือมีความผิดปกติ

แต่ทุกครั้งที่กันดูดลูกย่อยตัด อาจจะมีคนเสียชีวิต

แต่ถ้าสัมผัสหลังเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องทำน้ำอุ่น

ตัวกันดูดจะไม่ตัด เพราะตัวกันดูดตรวจสอบไฟรั่วของสายดินไม่ได้

  ถ้ามาตรฐานเก่าจะไม่มีสิ่งบอกเหตุ จากการกลับขั้ว

นั่นหมายความว่า ทุกครั้งที่กันดูดลูกย่อยตัด อาจจะมีคนเสียชีวิต     

แต่ถ้าใช้เป็นเมนกันดูดตัดไฟ2ขั้วแทน

ก็จะปลอดภัยจากการกลับขั้วทางเข้าตู้คอนซูมเมอร์หรือที่มิเตอร์การไฟฟ้า

 

การตรวจเช็คควรตรวจเช็คเมื่อใด

1 เมื่อมีการทำไฟภายในบ้าน

2 เมื่อมีไฟดับ

3 เมื่อเราไม่อยู่บ้าน เป็นเวลานานๆ

4 เมื่อมีเหตุสงสัยอื่นๆ

การตรวจเช็คดูที่สารบัญใต้คลิปครับ

 


วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ไฟฟ้า #132 ตู้คอนซูมเมอร์ปลั๊กออน เปลี่ยนง่าย5รูปแบบ ประหยัดสุด ปลอดภัยสุด อันตรายแฝง2รูปแบบ




ไฟฟ้า #132 ตู้คอนซูมเมอร์ปลั๊กออน เปลี่ยนง่าย5รูปแบบ ประหยัดสุด ปลอดภัยสุด อันตรายแฝง2รูปแบบ

9/7/2564 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE


สายไฟVKF ยี่ห้อANT 2*0.5 sqmm. 10เมตร

ความต้านทานเส้นละ0.4 2เส้น 0.8Ω

 

คำเตือน! การใช้เบรคเกอร์กันดูดลูกย่อย ทุกยี่ห้อ

จะตัดไฟเพียงเส้นเดียวเท่านั้น

นั่นหมายความว่า ถ้ามีการกลับขั้วไฟที่มิเตอร์การไฟฟ้าหรือที่ตู้คอนซูมเมอร์

เบรคเกอร์กันดูดลูกย่อย จะกลายเป็นเรื่องอันตรายที่สุด

เพราะเมื่อมีคนโดนไฟดูด เบรคเกอร์กันดูดลูกย่อยจะตัดเส้นที่ไม่มีไฟ

ทำให้ไฟไหลไปดูดคนให้เสียชีวิตได้

 

มิเตอร์การไฟฟ้า15A(45A) ใช้เมนเบรคเกอร์สูงสุดไม่เกิน50A

สำหรับบ้าน1ชั้น ใช้ตู้ขนาด4ช่อง หรือ6ช่อง

ถ้าเป็นบ้าน2ชั้น ใช้ขนาด8ช่อง

ถ้าเป็นบ้าน3ชั้นหรือ4ชั้นใช้ขนาด10ช่อง

 

การต่อสายจากมิเตอร์การไฟฟ้าเข้าตู้คอนซูมเมอร์

ต้องออฟหรือปิดเบรคเกอร์เมนและลูกย่อยทั้งหมดก่อน

  จากนั้นถอดสายL ที่มิเตอร์การไฟฟ้าออกก่อน

ถ้าไม่ทำแบบนี้อาจโดนไฟดูดได้

เวลาใส่ก็ต้องใส่สายNเข้ามิเตอร์การไฟฟ้าก่อน เพื่อป้องกันไฟดูด

ทำไมต้องถอดสายLก่อน และทำไมต้องใส่สายNก่อน

ให้ไปดูคลิปไฟฟ้า#106 และคลิปไฟฟ้า#95 ก็จะเข้าใจครับ

 

ส่วนอันตรายแฝง ที่มากับการต่อสายเข้าตู้คอนซูมเมอร์2รูปแบบ

ให้ไปดูคลิปไฟฟ้า#130 และไฟฟ้า#131

 

ต่อแบบที่1 ประหยัดสุด

แสงสว่างกับปลั๊กรวมกันแต่ละโซน ประหยัดสายไฟ

เป็นแบบที่ผมใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

เพราะเจ้าของได้จ้างช่างจากการไฟฟ้าเป็นผู้มาเดินสายไฟให้ทั้งหมด

ใช้เมนธรรมดา50A

ชั้นที่1ลูกย่อยธรรมดา16A  แต่บ้านผมใช้ลูกย่อย10Aทั้งหมด

หน้าบ้านลูกย่อยธรรมดา16A +กันดูดSHIHLINคุมหน้าบ้าน1ตัว

แบบที่1 ถูกที่สุด ปลอดภัยจากไฟดูดเฉพาะโซนหน้าบ้าน

 

***ต่อแบบที่2 ปลอดภัยสูงสุด เพราะเมนกันดูดตัดไฟดูดไฟรั่ว2เส้น

แสงสว่างกับปลั๊กรวมกันแต่ละโซน ประหยัดสายไฟ

ใช้เมนกันดูด50A

ชั้นที่1ลูกย่อยธรรมดา16A 

หน้าบ้านลูกย่อยธรรมดา16A +กันดูดSHIHLINคุมหน้าบ้าน1ตัว

เป็นการคุมกันดูด2ชั้นปลอดภัยยิ่งขึ้น

แบบที่2 แพงกว่าแบบที่1 ปลอดภัยทุกโซน

แต่ข้อเสียเวลาไฟรั่วไฟดูดดับทุกโซน

 

ต่อแบบที่3

แสงสว่างกับปลั๊กรวมกันแต่ละโซน ประหยัดสายไฟ

ใช้เมนธรรมดา50A

ชั้นที่1ลูกย่อยกันดูด16A

หน้าบ้านลูกย่อยกันดูด16A +กันดูดSHIHLINคุมหน้าบ้าน1ตัว

เป็นการคุมกันดูด2ชั้นปลอดภัยยิ่งขึ้น

แบบที่3 แพงกว่าแบบที่2 ปลอดภัยทุกโซน ข้อดีคือตัดเฉพาะโซน

 

ต่อแบบที่4

แยกแสงสว่างกับปลั๊ก เปลืองสายไฟ1เท่า

ใช้เมนธรรมดา50A

 แสงสว่างชั้นที่1ลูกย่อยธรรมดา10A

เต้ารับชั้นที่1ลูกย่อยกันดูด16A

 แสงสว่างหน้าบ้านลูกย่อยกันดูด10A

เต้ารับหน้าบ้านลูกย่อยกันดูด16A

แบบที่4 ราคาแพงกว่าแบบที่3

ถ้าปลั๊กลัดวงจรหรือใช้กระแสเกิน

ก็จะตัดเฉพาะวงจรปลั๊ก วงจรแสงสว่างจะไม่ดับ

ถ้าไฟดูดไฟรั่วที่วงจรปลั๊ก ก็จะตัดเฉพาะจุด

แต่ข้อเสียคือไม่มีกันไฟดูดไฟรั่วให้แสงสว่าง

 

ต่อแบบที่5

แยกแสงสว่างกับปลั๊ก เปลืองสายไฟ1เท่า

ใช้เมนธรรมดา50A

 แสงสว่างชั้นที่1ลูกย่อยกันดูด10A

เต้ารับชั้นที่1ลูกย่อยกันดูด16A

 ไฟหน้าบ้านลูกย่อยกันดูด10A

เต้ารับหน้าบ้านลูกย่อยกันดูด16A

แบบที่5 แพงกว่าแบบที่4

ถ้าปลั๊กลัดวงจรหรือใช้กระแสเกิน

ก็จะตัดเฉพาะวงจรปลั๊ก วงจรแสงสว่างจะไม่ดับ

ถ้าไฟดูดที่วงจรปลั๊ก หรือวงจรแสงสว่าง ก็จะตัดเฉพาะจุด

ข้อดีคือตัดไฟดูดไฟรั่วเฉพาะจุด และป้องกันไฟดูดไฟรั่วทุกจุด

 

//////////////////////////////////////////////////////////

ของที่ใช้ในการถ่ายทำ บ้านชั้นเดียว +หน้าบ้าน 5รูปแบบ

รูปแบบที่ปลอดภัยที่สุดคือแบบที่2

คือใช้เมนกันดูดที่ตัดไฟดูดไฟรั่ว และต้องเป็นแบบตัดไฟ2เส้นเท่านั้น

1 ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต NANO 6 ช่อง(ปลั๊กออน)พร้อมเมน MCB 50A

=738 B

 

2 เซอร์กิตเบรกเกอร์กันดูด ปลั๊กออน NANO 2Pole 10kA 30mA NR2C50

เมนกันดูด50A 1ตัว

= 482 B

 

3 เซอร์กิตเบรกเกอร์ ปลั๊กออน NANO (Plug-on) 1Pole 6kA NP1C10,NP1C16

=10A  2ตัว

=16A  2ตัว

=ตัวละ62B

= 248 B

 

4 เซอร์กิตเบรกเกอร์กันดูด ปลั๊กออน NANO 1Pole 6kA 30mA

=10A 2ตัว

=16A 2ตัว

=ตัวละ495B

= 1980 B

 

5 เต้ารับคู่ มีกราวน์ NANO 16 แอมป์ 250 โวลท์, ขนาด 3 ช่อง (1 ชิ้น /10 ชิ้นต่อกล่อง) NN-P601

=3ชุด พร้อมกล่องและฝา

 

6 สวิตซ์ 1 ทาง NANO 16 แอมป์ 250 โวลท์, ขนาด 1 ช่อง NN-SW101

=3ชุด พร้อมกล่องและฝา

 

รวม3448บาท ยังไม่ได้รวม เต้ารับ3ชุด+สวิทช์3ชุด

ทั้งหมดไม่เกินงบ 3791บาท

 

ส่วนเบรกเกอร์กันดูด SHIHLIN/NANO  BL-BF (V) 30mA 1ตัว

= 252 B ใช้ของเก่า