วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

โครงสร้างปั๊มRO Deng Yuanรุ่นTYPE-2600 ตอน3วัดโรเตอร์




โครงสร้างปั๊มRO Deng Yuanรุ่นTYPE-2600 ตอน3วัดโรเตอร์
8/3/2558 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
โครงสร้างปั๊มRO Deng Yuanรุ่นTYPE-2600 ตอน3วัดโรเตอร์

ปั๊มROยี่ห้อDeng Yuanรุ่นTYPE-2600
เป็นปั๊มกระแสตรง 29VDC

โรเตอร์กระแสตรงกับโรเตอร์กระแสสลับแบบขดลวดพัน
ผมมองแล้วน่าจะเหมือนกัน

วัดซี่คอมมิวเตเตอร์กับแกนเพลาจะต้องไม่ถึงกัน

วัดซี่คอมมิวเตเตอร์กับอาร์เมเจอร์จะต้องไม่ถึงกัน

วัดอาร์เมเจอร์กับแกนเพลาจะต้องถึงกัน

วัดอาร์เมเจอร์กับลูกปืนจะต้องถึงกัน

คอมมิวเตเตอร์(ทุ่น) มี 16ซี่
อาร์เมเจอร์(กระดองเต่า) มี 16ร่อง(SLOT)


สันนิษฐานว่ามี 1ขดใหญ่
แล้วเอาไปคล้องไว้ที่ซี่คอมมิวเตเตอร์
16ซี่ น่าจะเป็นขดใหญ่พันไปพันมา
กลายเป็นขดย่อย16ขด

วัดซี่คอมมิวเตเตอร์(ทุ่น)
เอาสายคีบคีบที่ซี่คอมมิวเตเตอร์
ปลายสายคีบอีกด้านคีบที่มิเตอร์FLUKE115
ตั้งย่านโอมห์แล้วทำการวัดได้ดังนี้

ขดที่1 ได้ 3.2โอมห์
ขดที่2 ได้ 5.7โอมห์
ขดที่3 ได้ 7.9โอมห์
ขดที่4 ได้ 9.8โอมห์
ขดที่5 ได้ 11.3โอมห์
ขดที่6 ได้ 12โอมห์
ขดที่7 ได้ 12.5โอมห์
ขดที่8 ได้ 12.7โอมห์
ขดที่9 ได้ 12.5โอมห์
ขดที่10 ได้ 12โอมห์
ขดที่11 ได้ 11โอมห์
ขดที่12 ได้ 9.6โอมห์
ขดที่13 ได้ 7.4โอมห์
ขดที่14 ได้ 5.5โอมห์
ขดที่15 ได้ 3โอมห์

การวัดแบบนี้เป็นการวัด
แบบอนุกรมและขนานในเวลาเดียวกัน

ทุกซี่จะมีขดลวดมาคล้องไว้
จะมองเห็นเป็น2เส้น
ซี่ที่1กับซี่ที่9จะมีขดลวดเพิ่มมาอีกซี่ละ1เส้น
เป็น3เส้น
เส้นที่เพิ่มมาอีก1เส้นคือปลายสายขดลวดนั่นเอง

สรุป
ซี่ที่ตรงกันข้ามจะวัดได้โอมห์สูงสุดเสมอ
ในที่นี้คือ12.7โอมห์
คือเอา8 +ตำแหน่งซี่ ก็จะได้ ซี่ที่ตรงข้าม เช่น
ซี่ที่1 ตรงข้ามคือซี่ที่9
ซี่ที่2 ตรงข้ามคือซี่ที่10
ซี่ที่3 ตรงข้ามคือซี่ที่11

แปรงถ่านจะทำหน้าที่นำกระแสจากแหล่งจ่ายไฟ
เข้ามาที่ซี่คอมมิวเตเตอร์
แปรงถ่านจะมี2แปรง
สัมผัสอยู่กับซี่คอมมิวเตเตอร์ตรงกันข้ามเสมอ
นั่นหมายถึงขดลวดอาร์เมเจอร์จะได้รับกระแส
เท่าเดิมตลอดเวลา
เมื่อโรเตอร์หมุนซี่ที่คอมมิวเตเตอร์ก็จะเปลี่ยนซี่ไป
แต่แปรงถ่านจะสัมผัสกับซี่คอมมิวเตเตอร์ที่ตรงกันข้ามเสมอ
นั่นหมายถึงได้12.7โอมห์เสมอ
ทำให้โรเตอร์หมุนได้สม่ำเสมอนั่นเอง

แปรงถ่านจะทำหน้าที่เชื่อมระหว่าง
ส่วนที่คงที่(STATOR)กับส่วนที่เคลื่อนที่(ROTOR)


ไม่มีความคิดเห็น: