เทคนิคใช้มิเทอร์เข็มเเยกเสียภาคจ่ายไฟหรือเมนบอร์ดคอมACERรุ่นASPIRE M3985
3/12/2558 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
เทคนิคใช้มิเทอร์เข็มเเยกเสียภาคจ่ายไฟหรือเมนบอร์ดคอมACERรุ่นASPIRE M3985
การซ่อมต้องใส่รองเท้า และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชีวิตได้
คอมอาการเล่นๆอยู่คอมดับวูบ
จากนั้นกดปุ่มPOWERไม่ติดอีกเลย
ตรวจเช็คการประกันตามคลิป
“คอมACERรุ่นASPIRE M3985 ตอน2วิธีแจ้งซ่อมกับศูนย์ACERอาการดับวูบแล้วเปิดไม่ติด”
ปรากฏว่าหมดประกันไปแล้วงานนี้ผมขอซ่อมเองครับ
ขั้นตอนที่1ตรวจเช็คว่าเสียภาคจ่ายไฟ
หรือภาคเมนบอร์ด
1.ถอดสายแจ๊ค24พินออกจากเมนบอร์ด
2.ถอดสายแจ๊ค4พินสายสีเหลืองๆดำๆออกจากเมนบอร์ด
ภาคจ่ายไฟหลักๆจะมีเพียง2แจ๊คนี้เท่านั้น
คือแจ๊ค24พินกับแจ๊ค4พินเหลืองๆดำๆ(เหลืองคือไฟ12VDC)
หลังจากถอดแจ๊คทั้ง2แจ๊คนี้ออกมา
ก็เท่ากับว่าเป็นการปลดภาคจ่ายไฟ
ออกจากเมนบอร์ดอย่างสิ้นเชิงนั่นเอง
แต่เพื่อความไม่ประมาทควรถอดสายไฟที่ไปเลี้ยงฮาร์ดดิสค์
กับDVDและอื่นๆที่มีสายออกมาจากกล่องจ่ายไฟให้หมด
เพื่อเป็นการปลดกล่องจ่ายไฟหรือกล่องเพาเวอร์ซัพพลาย
ออกจากส่วนอื่นๆทั้งหมด
จากนั้นใช้มิเทอร์เข็มตั้งย่านกระแส
ผมเลือกใช้ย่าน0.1V/50UA
การตั้งย่านนี้จะทำให้สายมิเทอร์สีแดงกับสีดำ
กลายเป็นสายไฟเส้นหนึ่งที่มีค่า2KΩ
จากนั้นสายสีแดงมิเทอร์จับไปที่สายสีเขียว
สายสีดำมิเทอร์จับไปที่สายสีดำ(กราวด์)
หรือที่พิน4กับพิน5นั่นเอง
หรือจะใช้กิ๊ปหนีบกระดาษดัดเป็นรูปตัวU
แล้วเสียบเข้าไปที่ขา4กับขา5
ถ้าพัดลมที่ภาคจ่ายไฟซึ่งอยู่ในกล่องภาคจ่ายไฟหมุนได้
ก็แสดงว่าภาคจ่ายไฟดี ภาคเมนบอร์ดเสีย
ถ้าพัดลมที่ภาคจ่ายไฟไม่หมุนก็แสดงว่าภาคจ่ายไฟเสียแน่นอน
จากการทำครั้งนี้ผมไม่ได้ดึงแจ๊ค4พินเหลืองๆดำๆ
ออกจากเมนบอร์ดทำให้เกิดการผิดพลาดหลงทาง
คิดว่ากล่องจ่ายไฟหรือPOWER SUPPLYเสีย
คือพัดลมที่ภาคจ่ายไฟไม่หมุนทำให้เข้าใจว่ากล่องจ่ายไฟเสีย
แต่ในความจริงแล้วเมื่อเราช็อทสายสีเขียวกับสีดำ
ในจังหวะแรกพัดลมที่กล่องจ่ายไฟจะกระตุกแล้วไม่หมุนต่อ
จึงเข้าใจว่าพัดลมที่กล่องจ่ายไฟไม่หมุนเลย
จึงทำให้เข้าใจว่ากล่องจ่ายไฟเสียแน่นอน
เนื่องจากไม่ได้ดึงแจ๊ค4พินเหลืองๆดำๆออก
ถ้าเมนบอร์ดมีตัวช็อท
ก็จะทำให้พัดลมที่กล่องจ่ายไฟไม่หมุนได้เช่นกัน
ถ้ามีการช็อทที่เมนบอร์ดกล่องจ่ายไฟก็จะไม่จ่ายไฟออกมา
ทำให้พัดลมที่กล่องจ่ายไฟไม่หมุน
เนื่องจากกล่องจ่ายไฟจะมีระบบโอเวอร์โหลด(OVER LOAD)
หมายความว่าถ้ามีการกินกระแสที่มากผิดปกติหรือมีการช็อท
ก็จะทำให้ในส่วนโอเวอร์โหลดมีแรงไฟที่สูงขึ้น
ทำให้กล่องจ่ายไฟไม่สามารถจ่ายไฟออกมา
กล่องจ่ายไฟจึงไม่เกิดความเสียหายนั่นเอง
การใช้มิเตอร์เข็มทำเป็นสายไฟแล้วกดสวิทช์
คือการปรับซีเล็คเทอร์ไปที่ย่านกระแส
ย่าน0.25A จะมีความต้านทานของสายดำแดงมิเทอร์1โอมห์
ย่าน25MA จะมีความต้านทานของสายดำแดงมิเทอร์10โอมห์
ย่าน2.5MA จะมีความต้านทานของสายดำแดงมิเทอร์100โอมห์
ย่าน0.1V/50UA จะมีความต้านทานของสายดำแดงมิเทอร์2Kโอมห์
สามารถใช้ย่านกระแสได้ทั้ง4ย่าน
แต่ย่านที่ปลอดภัยที่สุดคือย่าน0.1V/50UA
เพราะมีความต้านทานสูงคือประมาณ2Kโอมห์
หมายความว่าถ้าวัดผิดคือจุดที่วัดไม่ใช่สวิทช์
สิ่งที่เอามาวัดเช่น คอมพิวเตอร์ก็จะไม่พัง
แต่มิเตอร์ก็อาจพังทันที
ซึ่งมิเตอร์พังสามารถซ่อมได้ง่ายกว่าครับ
แต่ถ้าใช้ย่านอื่นเช่นย่าน0.25Aซึ่งมีความต้านทาน
ของสายดำแดงมิเตอร์ต่ำคือ1โอมห์
ถ้าวัดพลาดคือจุดที่วัดไม่ใช่สวิทช์ก็จะทำให้
สิ่งที่มาวัด เช่นคอมพิวเตอร์อาจจะพังทันที
และมิเตอร์ก็อาจพังด้วยเช่นกันเนื่องจากการวัดผิดตำแหน่ง
เปรียบเสมือนการช็อทนั่นเอง
ค่าสาย2Kโอมห์สามารถกดสวิทช์ให้ติดได้อย่างสบายมากครับ
ให้สังเกตุเข็มถ้ามีการตีขึ้นหรือตีลง
ก็แสดงว่าเราได้กดสวิทช์แล้ว
แถมยังรู้ว่ามีไฟมาที่สวิทช์ด้วย
ถ้าเข็มไม่ตีขึ้นหรือไม่ตีลงก็แสดงว่าไฟที่สวิทช์หายไป
ให้ตามไฟสวิทช์ได้เลยครับ
คำเตือน!
ห้ามนำย่านโอมห์มาวัดสวิทช์ขณะมีไฟหรือเสียบไฟไว้
เพราะอาจทำให้CPUพังทันที
โดยเฉพาะบอร์ดควบคุมเครื่องซักผ้า
เนื่องจากสวิทช์เครื่องซักผ้าใช้หลักการสแกนสวิทช์
เพื่อประหยัดขาCPU
ทำให้ไฟที่สวิทช์อยู๋ในรูปของความถี่
ดังนั้นเมื่อตั้งย่านโอมห์ไปวัดที่สวิทช์ก็จะทำให้เกิดการสปาร์ค
หรือทรานเชียลทำให้CPUและส่วนอื่นๆพังทันที
โดยเฉพาะย่านX1
เพราะย่านนี้มีไฟออกมาที่3โวล์150มิลลิแอมป์
ซึ่งถือว่ามีกระแสที่สูงมากเลยทีเดียว
เชิญชมวีดีโอประกอบครับ!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น