วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2560

ดูเหรียญจริงปลอมเหรียญ10บาทสองสีปี2533หายากมากHOW FAKE 1990KING RAMA9 10BAHT TWO TONE RARE COIN



ดูเหรียญจริงปลอมเหรียญ10บาทสองสีปี2533หายากมากHOW FAKE 1990KING RAMA9 10BAHT TWO TONE RARE COIN
8/1/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
ดูเหรียญจริงปลอมเหรียญ10บาทสองสีปี2533หายากมากHOW FAKE 1990KING RAMA9 10BAHT TWO TONE RARE COIN

10บาทสองสี
พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ปี2533
ชนิด : โลหะสองสี
ส่วนประกอบ:
วงแหวนรอบนอก: ทองแดง75%  นิกเกิล25%
ชั้นในสีทอง: ทองแดง92%  อลูมิเนียม6%  นิกเกิล2%
น้ำหนัก: 8.54 กรัม
เส้นผ่าศูนย์กลาง: 26 มิลลิเมตร
จำนวนผลิต: 100 เหรียญ

10BAHT
“Wat Arun Ratchawararam 1990“
Components:
Ring: Copper 75%, Nickel 25%
Core: 92% Copper, 6% Aluminium, 2% Nickel

Weight : 8.54 g.
Diameter : 26 mm.
Mintage : 100 pcs.

17 กค. 2558
17 Jul. 2015
ราคาซื้อขาย 200,000บาท + ค่าส่ง ฟรี = 200,000บาท
Price US $ 5,714 + Shipping Free =US $ 5,714

7 มค. 2560
7 Jan. 2017
ราคาซื้อขาย 600,000บาท + ค่าส่ง ฟรี = 600,000บาท
Price US $ 16,666 + Shipping Free =US $ 16,666

เหรียญกษาปณ์: หมุนเวียน
ชนิดราคา: 10 บาท
ส่วนประกอบ: โลหะสองสี
สันขอบ: เฟืองสลับเรียบ
แนวพลิกเหรียญกษาปณ์ O
รูปลักษณ์: กลม
ขอบ: ยกขอบ ไม่มีการตกแต่ง ทั้งสองด้าน
น้ำหนัก: 8.54 กรัม
เส้นผ่าศูนย์กลาง: 26 มิลลิเมตร
จำนวนผลิต: 100 เหรียญ
ส่วนประกอบ:
วงแหวนรอบนอก: ทองแดง75%  นิกเกิล25%
ชั้นในสีทอง: ทองแดง92%  อลูมิเนียม6%  นิกเกิล2%
Ring: Copper 75%, Nickel 25%
Core: 92% Copper, 6% Aluminium, 2% Nickel

รายละเอียด :      
"เหรียญ 10 บาท ปี พ.ศ.2533"
เหรียญสิบบาท รูปแบบนี้ เริ่มใช้ครั้งแรกในปีพ.ศ.2531
นักสะสมเรียกกันว่า "เหรียญสิบสองสี"

เนื่องจากเป็นเหรียญที่มีการสอดไส้ มีโลหะสีทองอยู่ด้านใน
เหรียญสิบบาท รุ่นนี้ (ปี พ.ศ.2533) หายากมากเพราะมีแค่100เหรียญ
อยู่ที่เมืองนอก70เหรียญ เมืองไทยมี30เหรียญ
เป็นข่าวดัง เมื่อหลายเดือนก่อน
ที่จริงในเหรียญรุ่นนี้ ตั้งแต่ปี 2531 ถึง ปัจจุบัน ไม่นับปี 2533
ก็มีเหรียญหลายๆ เหรียญที่ ผลิต มาน้อย และ ราคาสูงเช่นกัน
แต่ไม่อาจเทียบปี 2533 เช่น
ปี 2531 ผลิตมาเพียง 60,200 เหรียญ
ปัจจุบัน ซื้อหากันที่ ตั้งแต่ 1,300 – 1,800 บาท
สำหรับ เหรียญสวยผิวเดิมUNC ราคาจะสูงขึ้นอีกประมาณ4เท่า

ปี 2541 ก็ผลิต แค่ 970,000 เหรียญ
ปี 2542 ผลิต 1,030,000 เหรียญ
ปี 2543 ผลิต 1,666,000 เหรียญ
ปี 2544 ผลิต 2,060,000 เหรียญ
นอกจากปีข้างต้น เหรียญ 10 บาท จะผลิต ตั้งแต่หลักสิบล้านขึ้นไป

วงในส่วนโลหะสีทอง มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย
ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
วงนอกส่วนโลหะสีขาว
ด้านซ้ายมีข้อความว่า "ภูมิพลอดุลยเดช"
ด้านขวามีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙"   
วงในส่วนโลหะสีทอง มีรูปพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
วงนอกส่วนโลหะสีขาว
ด้านซ้ายมีข้อความว่า "ประเทศไทย" ด้านขวามีเลขปี พ.ศ. ที่จัดทำเหรียญ
เบื้อบนมีอักษรเบรลล์บอกราคาเหรียญ
เบื้องล่างมีข้อความว่า "๑๐ บาท10"

น้ำหนัก : 8.5 กรัม
เส้นผ่าศูนย์กลาง : 26  มิลลิเมตร
ชนิด : โลหะ 2 สี
ราคาหน้าเหรียญ : 10 บาท     
ลักษณะ : เหรียญกลม วงขอบนอกมีเฟืองจักรสลับเรียบ

ชื่อส่วนผสม ร้อยละ
โลหะสีขาว (วงนอก) นิกเกิล    25
โลหะสีขาว (วงนอก) ทองแดง  75
โลหะสีทอง (วงใน) ทองแดง    92
โลหะสีทอง (วงใน) นิกเกิล      2
โลหะสีทอง (วงใน) อะลูมิเนียม 6

ปีที่ผลิต            จำนวน
2531                60,200 เหรียญ
2532        100,000,000 เหรียญ
2533                    100 เหรียญ
2534           1,380,650 เหรียญ
2535         13,805,000 เหรียญ
2536         10,556,000 เหรียญ
2537        150,598,831 เหรียญ
2538          53,700,000 เหรียญ
2539          17,086,000 เหรียญ
2540            9,310,600 เหรียญ
2541               970,000 เหรียญ
2542            1,030,000 เหรียญ
2543            1,666,000 เหรียญ
2544            2,060,000 เหรียญ
2545           61,333000 เหรียญ
2546          49,292,000 เหรียญ
2547          62,689,000 เหรียญ
2548        111,491,000 เหรียญ
2549        128,903,000 เหรียญ
2550         130,202,000 เหรียญ
2551         179,165,360 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางไพฑูรย์ศรี ณ เชียงใหม่, นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางไพฑูรย์ศรี ณ เชียงใหม่, นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์, นางสุนันทา ธิกุลวงษ์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นางพุทธชาติ อรุณเวช    ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายวุฒิชัย แสงเงิน
ขอบคุณข้อมูล

จากการที่ผลิตน้อย ทำให้เหรียญราคาสูงขึ้น
เหรียญหาไม่ได้ส่งผลให้มีการปรับตัวสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
เพราะแต่ละคนจะให้ราคาซื้อสูงขึ้น
เมื่อมิจฉาชีพเห็นโอกาส
ก็จะทำการปลอมแปลงโดยการเจียปี2537ให้เป็นปี2533
  สาเหตุที่ผลิต 100 เหรียญ
เพราะเหรียญ 10 บาทปี 2533
ผลิตเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์เหรียญกษาปณ์ที่ประเทศแคนนาดา
ซึ่งแจกเหรียญในงานนั้นเพียง 70 เหรียญ
และเหลือกับมาที่ประเทศไทย 30 เหรียญเท่านั้น
นักสะสมรู้แล้วว่าอนาคตจะมีมูลค่าสูงขึ้น
ดังนั้น เหรียญที่เหลือกลับมาจึงถูกนักสะสมกว้านซื้อไปหมด
และนักสะสมก็ล้วนแต่เป็นคนรวย
  นิสัยของนักสะสมจะไม่ปล่อยของรักออกมาง่ายๆ
จึงยากมากที่จะเห็นเหรียญนี้ตกอยู่ในมือของคนทั่วไป
ดังนั้นมิจฉาชีพจึงทำการเจียเหรียญปี2537ให้เป็นปี2533นั่นเอง

วิธีดูเหรียญ 10 บาทปี 2533 ของจริง
มีผู้เผยแพร่ข้อมูลชื่อคุณอรรณพ แก้วปทุมทิพย์
ว่าภาพเหรียญจริงเป็นอย่างไร
วิธีการดูรายละเอียดของเหรียญว่ามีอะไรบ้าง
เพื่อคนทั่วไปจะได้ศึกษาไว้กันพวกเหล่ามิจฉาชีพมาหลอกขาย
1 ดูที่เลข๓๓ 2ตัวสุดท้ายจะต้องมีปลายที่เหมือนกัน
2 ช่องไฟของเหรียญปี2537จะชิดขอบเหรียญมากกว่าปี2533
อาจเป็นเพราะการย่อเหรียญ ที่ทำให้ได้แม่ตราเหรียญปี ๒๕๓๗
มีขนาดใหญ่กว่าปี ๒๕๓๓ นิดหน่อย
เวลาตีเสร็จเลยดูแล้วเหรียญคับเกือบชนขอบเหรียญนั่นเอง

ขอบขอบคุณข้อมูล
1. บทความ นักสะสมกับการสะสมของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) http://www.sac.or.th
2. สาเหตุที่ผลิต 100 เหรียญ http://morning-news.bectero.com

3. ข้อมูลจำนวนการผลิตเหรียญสิบ http://business.treasury.go.th

4. วิธีการดูเหรียญ 10 ปี 2533 จาก Facebook NaNa…Collections http://on.fb.me/1yiC9tM

5. ข้อมูลการสะสมเหรียญ 10 บาทปี 2533 ของคุณอรรณพ แก้วปทุมทิพย์  http://bit.ly/1nEs5VR

ขอบคุณภาพ




ไม่มีความคิดเห็น: