ฝุ่นละอองPM2.5 อันตรายแค่ไหน
สร้างหน้ากากอนามัยใช้งานเองดีกว่า DIY MASK FOR PM2.5 PROTECT EASY
18/1/2562 SONGCHAI
PRAPATRUNGSEEE
ฝุ่นละอองPM2.5 อันตรายแค่ไหน
สร้างหน้ากากอนามัยใช้งานเองดีกว่า DIY MASK FOR PM2.5 PROTECT EASY
ฝุ่นละออง PM2.5 ค่ามาตรฐานประเทศไทย
กำหนดไว้ไม่เกิน 50ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ส่วนมาตรฐานโลก คือ
ไม่เกิน10ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน
คือมีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์
ดังนั้นขนจมูกไม่สามารถกรองได้ ขนจมูกสามารถกรองขนาดPM10ได้
PM2.5 จึงสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ
กระแสเลือด
และแทรกซึมเข้าสู่ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ
ในร่างกาย
และสะสมจนกลายเป็นโรคเรื้อรังและมะเร็ง
PM2.5 เกิดจากการเผาขยะ จุดธูป ควันจากรถยนต์
ซึ่งควันหรือกลิ่น จะเล็กกว่าPM2.5
ส่วนPM10 ก็คือฝุ่นละอองขนาดใหญ่
เช่นฝุ่นละออกจากการก่อสร้าง
ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจและโรคเรื้อรังอื่นๆได้เช่นกัน
เพียงแต่PM10
จะอันตรายน้อยกว่าPM2.5
เพราะPM10
เป็นฝุ่นละอองขนาดใหญ่ สามารถกรองได้ด้วยขนจมูก
ฝุ่นละออง PM2.5
ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ เจ็บคอ ระคายเคือง
เวียนหัวไม่สบายเมื่อต้องเดินทางออกจากบ้าน
ทำให้เกิดโรคระบบหัวใจและระบบหลอดเลือด
และเมื่อสะสมมากขึ้นก็จะทำให้ระคายเคือง
ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดหรืออื่นๆได้ในอนาคต
ซึ่งระดับฝุ่นละออง จะใช้สีเป็นสัญลักษณ์
แบ่งเป็น 5 ระดับ
ระดับ1 สีฟ้า (0–25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
ระดับ2 สีเขียว (26–38 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
ระดับ3 สีเหลือง (38–50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
ระดับ4 อันตราย สีส้ม (51–90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
ระดับ5 อันตรายสูงสุด สีแดง (91
ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป)
โดยตั้งแต่ระดับสีส้มขึ้นไป
เป็นระดับที่เกินค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็กในบรรยากาศของประเทศไทย
และมีผลกระทบต่อสุขภาพ
วิธีลดปริมาณฝุ่นละอองที่ดีที่สุดคือ
ลดการจุดธูป ลดการเผาขยะ
ลดใช้ถุงพลาสติกหันมาใช้ ถุงผ้าในการซื้อสินค้าแทน
ก็จะช่วยลดปริมาณขยะที่กำจัดด้วยวิธีเผาให้น้อยลง
ทำความสะอาดบ้าน บ่อยๆ
เพื่อเป็นการลดฝุ่นละออง
และป้องกันตนเองโดยการสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองที่เหมาะสม
ถ้าที่พักอาศัยอยู่ในที่เสี่ยงฝุ่นละอองให้ปิดประตู
หน้าต่างให้มิดชิด
คอยติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศ
ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรออกจากบ้าน
คาดเดาว่า
สูดอากาศค่า50-90ไมโครกรัม ในเวลา1ปี=ดูดบุหรื่วันละ10ตัว30ปี
สูดอากาศค่า90ไมโครกรัมขึ้นไป ในเวลา1ปี=ดูดบุหรื่วันละ20ตัว30ปี
ในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงอากาศปิด
สังเกตุง่ายๆคือใบไม้ข้างนอกจะไม่มีการไหวติง
คือทุกอย่างนิ่ง
ความกดอากาศสูงจากข้างบนมา และลมจากทิศใต้มา
ประเทศไทยจะมีรูปแบบอากาศแบบนี้
เนื่องจากความกดอากาศสูงดันลงมาตลอด
ทำให้พื้นที่แคบลง
ความเข้มข้นจึงสูงขึ้น
จนฝุ่นละอองดูเหมือนหมอกแต่ไม่ใช่หมอก
แต่มันคือฝุ่นละอองPM2.5ที่เกินค่ามาตรฐาน50
คือประมาณ90 จึงสามารถมองเห็นเหมือนหมอกได้ คือฝุ่นเยอะมาก
การป้องกันใส่หน้ากากอนามัยชนิดที่สามารถป้องกันPM2.5ได้
ซึ่งเป็นเรื่องลำบากสำหรับด้านการเงินและการสวมใส่เพราะจะอึดอัดมาก
ดังนั้นผมมีวิธีง่ายๆ ใช้ได้ผล100เปอร์เซ็นท์
หรือเกือบเต็มร้อย
คือใช้ผ้าอะไรก็ได้
ส่วนที่ผมใช้งานอยู่ตลอดระยะเวลา19ปี
คือผ้าอ้อมพับครึ่งชุบน้ำบิดให้พอหมาดๆ
รัดเข้าที่จมูก
น้ำเป็นสารที่มีขั้ว ส่วนฝุ่นละอองทั้งหลายรวมถึงPM2.5ก็จะมีประจุ
เมื่อเจอน้ำจะเกิดการเหนี่ยวนำ
แม้ว่าผ้าจะรูใหญ่น้ำก็ยังดักจับได้
หรือดึงดูดฝุ่นละอองPM2.5ให้อยู่กับน้ำที่ผ้าได้
พิสูจน์อย่างไรว่าน้ำดักจับPM2.5ได้
สังเกตุเวลาฝนตกหรือฉีดให้น้ำเป็นละอองแล้ว
ฝุ่นละอองPM2.5จะหายไป
หรือจะใช้ผ้าปิดปากแบบที่มีถ่านสีดำๆ(ถ่านชาร์โคล)
ถ่านมีไฟฟ้าสถิตสามารถดับกลิ่นหรือดักจับฝุ่นละอองPM2.5ได้
แม้ว่าผ้าจะรูใหญ่ถ่านก็ยังดักจับได้
กลิ่นมีอนุภาคที่เล็กกว่าPM2.5
ดังนั้นจึงสามารถดักจับPM2.5ได้สบาย
ชาร์โคล ทำมาจากผงถ่านที่สามารถรับประทานได้เรียกกันว่า
ถ่านกัมมันต์
หรือเรียกว่า คาร์บอน ทำมาจากพืช เช่น พวกเปลือกไม้หรือไม้ไผ่
นำมาผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส
ซึ่งเป็นคนละอย่างกับถ่านฟืนที่ใช้หุงต้ม
ถ่านกัมมันต์ (ชาร์โคล หรือคาร์บอน)
นำมาใช้ในทางการแพทย์
มีการนำมาดูดซับสารพิษของคนที่มีอาการท้องเสีย
อาหารเป็นพิษ ใช้ในการล้างท้องในคนที่กลืนสารพิษบางชนิด
หรือกินยาเกินขนาดเข้าไป
และยังใช้ในอุตสาหกรรม เช่น
ฟอกสีในอุตสาหกรรมน้ำตาล
กำจัดกลิ่นในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
เบียร์และไวน์
ดูดซับสีและกลิ่นในการทำน้ำประปา
และในเครื่องกรองน้ำหรือเครื่องทำน้ำให้บริสุทธิ์
เช่นตู้น้ำหยอดเหรียญRO
รวมถึงเป็นวัสดุทำหน้ากากป้องกันแก๊สพิษ
ดังนั้นด้วยคุณสมบัติดูดซับสารพิษของถ่านชาร์โคล
จะทำให้ดูดซับยาที่ใช้รักษาโรคบางชนิด