วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ไฟ12Vเข้าขาSINKของAT89S8252จะพังหรือไม่




ไฟ12Vเข้าขาSINKของAT89S8252จะพังหรือไม่
12/4/2557 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
ไฟ12Vเข้าขาSINKของAT89S8252จะพังหรือไม่

DATA SHEETของAT89S8252กับAT89S51เหมือนกัน
ต่างกันที่ AT89S8252 มี EEPROM
ส่วนAT89S51 ไม่มีEEPROM
AT89S8252 ใช้VCCสูงสุดได้ 6โวลท์
ส่วนAT89S51 ใช้VCCสูงสุดได้ 5.5โวลท์

ใช้ AT89S8252ในการทดลอง

เขียนคำสั่งให้ขาP0.0กับขาP0.7ให้เป็นลอจิก0
เมื่อเราเขียนคำสั่งให้ขาใดเป็นลอจิก0
ขานั้นจะเป็นขาSINK

SINK หมายถึงไฟจากภายนอก
ไหลเข้ามาในตัวAT89S8252
แล้วไปลงกราวด์ของAT89S8252

การวัดแอมป์ด้วยมิเตอร์เข็มRANG 0.25A(250MA)
จะมีความต้านทานภายในต่ำมากประมาณ 1โอมห์
การวัดในRANGE 0.25A(250MA)
เปรียบเสมือนการชอตตรงนั่นเอง

การวัดแอมป์ด้วยมิเตอร์ดิจิตอลRANG A (AMP)
จะมีความต้านทานภายในต่ำมาก
ประมาณ 0.5โอมห์เท่านั้น
การวัดในRANGE A (AMP)
เปรียบเสมือนการชอตตรงนั่นเอง

ลองโดยลอยขาP0.0กับขาP0.7ออกจากวงจรก่อน
จากนั้นนำมิเตอร์ดิจิตอล
สายสีแดงเสียบเข้าไปที่รู A (AMP)
แล้วเอาสายสีแดงจับไปที่ไฟ12โวลท์
สายสีดำจับไปที่ขาP0.7
ของAT89S8252(ขาที่เขียนสั่งเป็นลอจิก0)
ได้210MA
แล้ววัดซ้ำอีกก็ได้210MA
แล้ววัดซ้ำอีกครั้งคราวนี้วัดได้ 0MA
ใช้เวลาในการวัดประมาณครั้งละ 1วินาที
แสดงว่าขาP0.7นี้ขาดแล้ว

ลองอีกขาโดยการใช้มิเตอร์เข็ม
บิดซึเลคเตอร์ไปที่ RANGE 0.25A(250MA)
แล้วเอาสายสีแดงจับไปที่ไฟ12โวลท์
สายสีดำจับไปที่ขาP0.0
ของAT89S8252(ขาที่เขียนสั่งเป็นลอจิก0)
เข็มตีขึ้น180MA
แล้ววัดซ้ำอีกก็ได้180MA
แล้ววัดซ้ำอีกครั้งคราวนี้วัดได้ 0MA
ใช้เวลาในการวัดประมาณครั้งละ 1วินาที
แสดงว่าขาP0.0ขาดแล้ว

ลองใช้มิเตอร์ดิจิตอลFLUKE 115
วัดโวลท์ที่ขาP0.0กับP0.7
โดยการบิดซีเลคเตอร์ไปที่VDC(โวลท์ดีซี)
แล้วเอาสายสีดำจับไปที่กราวด์
สายสีแดงจับไปที่
ขาP0.0ได้ ไฟลบ2.3โวลท์(แรงดันผี)
ขาP0.7ได้ ไฟลบ2.0โวลท์(แรงดันผี)

มิเตอร์ดิจิตอลUNI-T รุ่น71C
บิดซีเลคเตอร์ไปที่VDC(โวลท์ดีซี)
แล้วเอาสายสีดำจับไปที่กราวด์
สายสีแดงจับไปที่
ขาP0.0ได้ ไฟลบ1.3โวลท์(แรงดันผี)
ขาP0.7ได้ ไฟลบ1.2โวลท์(แรงดันผี)
แสดงว่าความต้านทานใน
มิเตอร์ดิจิตอลUNI-T รุ่น71C
มีความต้านทานต่ำกว่ามิเตอร์ดิจิตอลFLUKE 115
แต่ในDATA SHEETเขียนว่า
VDC ประมาณ10Mเหมือนกัน

ลองใช้มิเตอร์เข็มวัดโดย
บิดซีเลคเตอร์ไปที่RANGE 10VDC
วัดโวลท์ที่ขาP0.0กับP0.7
โดยเอาสายสีดำจับไปที่กราวด์
สายสีแดงจับไปที่
ขาP0.0 ได้ 0โวลท์(ไม่มีแรงดันผี)
ขาP0.7 ได้ 0โวลท์(ไม่มีแรงดันผี)
แสดงว่ามิเตอร์เข็มที่RANGE 10VDC
มีความต้านทานต่ำกว่ามิเตอร์ดิจิตอล
และแสดงว่าการวัดจุดนี้คือแรงดันผี(GHOST)
แต่มิเตอร์เข็มสามารถกำจัดแรงดันผี(GHOST)ได้
เพราะความต้านทานภายในของ
มิเตอร์เข็มRANGE 10VDC ประมาณ199K(กิโลโอมห์)
ส่วนมิเตอร์ดิจิตอลVDCประมาณ10M(เมกะโอมห์)

ลองวัดกระแสระดับไมโครแอมป์
โดยการนำมิเตอร์ดิจิตอล
สายสีแดงเสียบเข้าไปที่รู UA (ไมโครแอมป์)
แล้วปรับซีเลคเตอร์ไปที่ UA (ไมโครแอมป์)
แล้วเอาสายสีแดงจับไปที่ไฟVCC 5โวลท์
สายสีดำจับไปที่ขาP0.0และขาP0.7
ของAT89S8252(ขาที่เขียนสั่งเป็นลอจิก0)
ได้0UAทั้ง2ขา

ลองโดยการใช้มิเตอร์เข็ม
บิดซึเลคเตอร์ไปที่ RANGE 50UA(ไมโครแอมป์)
แล้วเอาสายสีแดงจับไปที่ไฟVCC 5โวลท์
สายสีดำจับไปที่ขาP0.0และขาP0.7
ของAT89S8252(ขาที่เขียนสั่งเป็นลอจิก0)
ได้0UAทั้ง2ขา
มิเตอร์ดิจิตอลและมิเตอร์เข็ม
วัดที่ขาP0.0และP0.7ได้ 0UA ทั้ง2ขา

แต่AT89S8252 ยังทำงานได้ปกติ
เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญของผมก็ยังใช้ได้เหมือนเดิม
หมายความว่าเสียแค่2ขาที่วัดเท่านั้น
ขาอื่นไม่เกี่ยวข้องไม่เสียครับ


ไม่มีความคิดเห็น: