วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พัดลมKASHIWAรุ่นCF-C059-3 ตอน6โครงสร้างมอเตอร์พัดลม





โครงสร้างมอเตอร์พัดลมKASHIWA CF-CO59-3
21//2557 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
โครงสร้างมอเตอร์พัดลมKASHIWA CF-CO59-3

มอเตอร์พัดลม
คือมอเตอร์เหนี่ยวนำ1เฟส (1Phase Induction Motor)
เป็นมอเตอร์กระแสสลับ(Alternating Current Motor)
แบบ1เฟส (AC Single Phase)
แบบ Asynchronous
แบบโรเตอร์กรงกระรอก(Squirrel cage rotor)
แบบคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ (Capacitor Run Motor)
หรือแบบคาปาซิเตอร์ถาวร (Permanent Capacitor)

คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ (Capacitor Run Motor)
โครงสร้างเหมือนกับชนิด คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์
ต่างกันที่คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์จะไม่มีสวิทช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์
( สวิทช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ คือเมื่อมอเตอร์หมุนด้วยความเร็ว
75%ของความเร็วสูงสุด แกนมอเตอร์ก็จะเคลื่อนไปดัน
สวิทช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ที่อยู่ที่ฝาครอบ ให้จากออกไป
ซึ่งขดสตาร์ทจะต่ออนุกรมกับสวิทช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์
เป็นการตัดขดสตาร์ทออกไปนั่นเอง )

มอเตอร์พัดลม
เป็นแบบคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ (Capacitor Run Motor)
คือไม่มีสวิทช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง
(Centrifugal Switch)
หมายความว่าคาปาซิเตอร์จะทำงานตลอดเวลา
ดังนั้นขดสตาร์ทจะต้องพันขดลวดเล็กกว่าและมากรอบกว่าขดรัน
เพื่อให้ความต้านทานสูงกว่าขดรันนั่นเอง
และค่าคาปาซิเตอร์จะต้องเป็นค่าต่ำๆด้วย
เพื่อลดกระแสให้ขดสตาร์ท
เนื่องจากขดสตาร์ทจะต้องทำงานตลอดเวลา

มอเตอร์พัดลม ประกอบด้วย
1.ตัวคงที่(Stator) คือส่วนกลวงที่อยู่กับที่ ประกอบด้วย
แผ่นเหล็กลามิเนท(Laminated Sheet Steel)
บางๆหลายชิ้นมาประกบกัน  แล้วเซาะเป็นร่อง(SLOT)
เพื่อพันขดลวดทองแดงที่อาบด้วยฉนวน(Field Coil)
ขดลวดที่พันอยู่กับแผ่นเหล็กลามิเนท มี4ขด
จะมีขดลวดอยู่2แบบคือ
แบบที่1 คือ ขดผู้ช่วย(Auxiliary winding)
หรือขดสตาร์ท(Starting winding) มี3ขด
และจะมีขดสตาร์ท2ขดที่ทำหน้าที่เป็นขดจำกัดกระแส
ให้มอเตอร์หลัก ในกรณีที่กดสวิทช์เบอร์1หรือเบอร์2ด้วย
แบบที่2 คือ ขดลวดหลัก(Main winding)
หรือขดรัน(Running winding) มี1ขด

2.ตัวหมุน(ROTOR) คือส่วนที่เป็นแกนหมุนอย่างอิสระ
โรเตอร์กรงกระรอกเป็นมอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำ
ทำจากแผ่นเหล็กบางๆ(Laminated Sheet Steel)
อัดซ้อนกัน มีร่องเป็นทางยาว
ซึ่งจะมีแท่งทองแดงหรือแท่งอลูมิเนียม
ที่เป็นเส้นโตๆฝังอยู่รอบๆโรเตอร์
ปลายของแท่งทองแดงหรือแท่งอลูมิเนียมจะเชื่อมติดกัน
ด้วยวงแหวนที่เป็นทองแดงหรืออลูมิเนียม
ซึ่งมีลักษณะคล้ายกรงกระรอก
เรียกว่า โรเตอร์กรงกระรอก(Squirrel cage rotor)
และจะมีแกนเพลา(Shaft Core) เป็นตัวร้อยยึดกรงกระรอก
กรงกระรอกจะเจาะเป็นรูเพื่อระบายความร้อน
และใบพัด2ชุดติดที่แกนเพลาเพื่อระบายความร้อนให้มอเตอร์
และมีสลักไว้สำหรับยึดใบพัดลม

แกนเพลานี้จะวางอยู่ในบู๊ทหัวและบู๊ทท้าย
บู๊ทหัวและบู๊ทท้ายทำหน้าที่คล้ายตลับลูกปืน(Bearings)
เพื่อให้โรเตอร์หมุนได้นิ่ง ไม่สั่น

3.ฝาครอบหัว และฝาครอบท้าย ประกอบด้วย
แหวนซับน้ำมัน และบู๊ท
และฝาครอบบู๊ท เพื่อไม่ให้บู๊ทหลุดออกมา
ทำหน้าที่ล็อคแกนเพลาโรเตอร์ให้หมุนอยู๋กับที่

การทำงานของพัดลม
เมื่อกดสวิทช์ไฟก็จะไหลผ่านขดลวดในสเตเตอร์
ทำให้สเตเตอร์เกิดสนามแม่เหล็ก ไปตัดกับแท่งทองแดง
หรือแท่งอลูมิเนียมรอบๆโรเตอร์กรงกระรอก
ทำให้โรเตอร์กรงกระรอกเกิดสนามแม่เหล็กผลักและดึง
ทำให้โรเตอร์กรงกระรอกหมุน(Motor action)


ไม่มีความคิดเห็น: