วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ไฟ15Vตรงๆเข้าขาSOURCEของAT89S8252จะพังหรือไม่




ไฟ15Vตรงๆเข้าขาSOURCEของAT89S8252จะพังหรือไม่
15/4/2557 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
ไฟ15Vตรงๆเข้าขาSOURCEของAT89S8252จะพังหรือไม่

DATA SHEETของAT89S8252กับAT89S51เหมือนกัน
ต่างกันที่ AT89S8252 มี EEPROM
ส่วนAT89S51 ไม่มีEEPROM
AT89S8252 ใช้VCCสูงสุดได้ 6โวลท์
ส่วนAT89S51 ใช้VCCสูงสุดได้ 5.5โวลท์

ใช้ AT89S8252ในการทดลอง

กระแสSOURCEคือไฟจากR PULLUPภายใน
และต้องเขียนคำสั่งให้เป็นลอจิก1ด้วย
จึงจะสามารถใช้กระแสSOURCEได้
เบอร์ AT89S8252มีกระแสSOURCEประมาณ10UA
กระแสSOURCEน้อยมาก

และเมื่อเราเขียนคำสั่งให้เป็นลอจิก1ที่ขาใดแล้ว
ขานั้นจะมีความต้านทานสูงมาก
(HIGH INPUT IMPEDANCE)
จึงเป็นที่มาของการทดลองครั้งนี้

ในการทดลองเขียนคำสั่งให้เป็นลอจิก1ที่ขาP1.1
วัดโวลท์ที่ขาP1.1ได้5.02โวลท์
ปิดไฟวัดโอมห์ได้2.4M(เมกะโอมห์)
เวลาวัดโอมห์ต้องปิดไฟก่อน
ถ้าไม่ปิดอาจทำให้มิเตอร์พังได้

จากนั้นนำไฟ15โวลท์บัดกรีเข้าไปที่ขาP1.1
ทิ้งไว้15ชม
แล้วบัดกรีเอาไฟ15โวลท์ออกจากขา
แล้ววัดไฟด้วยมิเตอร์ดิจิตอลยี่ห้อFLUKE 115
โดยการปรับซีเลคเตอร์ไปที่VDC
สายสีดำจับไปที่กราวด์
สายสีแดงจับไปที่ขาP1.1ได้ไฟลบ2.2โวลท์
ไฟลบ2.2โวลท์คือแรงดันผี(GHOST)

ลองใช้มิเตอร์เข็มในการวัด
โดยการบิดซีเลคเตอร์ไปที่RANGE 10VDC
สายสีดำจับไปที่กราวด์
สายสีแดงจับไปที่ขาP1.1เข็มไม่ขึ้น
เท่ากับ0โวลท์แสดงว่าไม่มีแรงดันผี(GHOST)

ลองปิดไฟแล้ววัดโอมห์
โดยใช้มิเตอร์ดิจิตอลบิดซีเลตเตอร์ไปที่โอมห์
สายสีดำหรือสีแดงก็ได้จับไปที่กราวด์
สายที่เหลือจับไปที่ขาP1.1
ขึ้น OL หมายความว่าไม่มีโอมห์หรือขาดนั่นเอง

ถ้าวัดด้วยมิเตอร์เข็ม
ให้ปรับซีเลคเตอร์ไปที่RANGE RX10K
สายสีดำหรือสายสีแดงก็ได้จับไปที่กราวด์
สายที่เหลือจับไปที่ขาP1.1
ปรากฏว่าเข็มไม่ขึ้น
แสดงว่าขาP1.1ขาดแล้ว

แต่ก็เสียแค่ขาP1.1 ขาเดียวเท่านั้น
ส่วนขาอื่นไม่เสียครับ

ลองนำบอร์ดเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญนี้
ไปใส่ในเครื่องซักผ้าก็ใช้ได้เหมือนเดิม


ไม่มีความคิดเห็น: