ต่อวงจรAT89C2051ให้สามารถทำงานได้
26/4/2557 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
ต่อวงจรAT89C2051ให้สามารถทำงานได้
1 ต่อไฟVCC 5V เข้าที่ขาVCC
2 ต่อกราวด์เข้าที่ขาGND
3 CRYSTAL ของเบอร์AT89C2051
อยู่ในช่วง
0 Hz to 24 MHz
ต่อCRYSTALเข้าที่ขา4และ5
แล้วต่อCค่าที่อยู่ในช่วง20PF – 40PF
เข้าที่ขา4 ปลายอีกด้านต่อลงกราวด์
แล้วต่อCค่าเดียวกันอีกตัวต่อเข้าที่ขา5
ปลายอีกด้านต่อลงกราวด์เช่นกัน
เท่ากับใช้C 2ตัว
5 ที่ขาRST/VPP
ให้ต่อCค่า4.7UF
ขั้ว+
ต่อเข้าที่ไฟ5โวลท์
ขั้ว- ต่อเข้าที่ขาRST/VPP
จากนั้นต่อRค่า10Kเข้าที่ขาRST/VPP
ปลายRค่า10K อีกด้านต่อลงกราวด์
เมื่อเปิดไฟเข้ามาในตอนแรกCจะมีค่าความต้านทานต่ำ
เปรียบเสมือนไฟ5โวลท์เข้าขาRST
โดยตรง
ทำให้ขาRSTมีไฟ5โวลท์
ส่วนRค่า10Kจะทำหน้าที่ดึงกระแสลงกราวด์
เพื่อเก็บประจุให้กับCค่า4.7UF
เมื่อCค่า4.7UFเก็บประจุจนเต็ม
ก็เปรียบเสมือนความต้านทานสูงหรือขาดออกจากกัน
ทำให้ไฟ5โวลท์ผ่านมาไม่ได้
ทำให้ขาRST เป็นกราวด์เพราะRค่า10Kต่อลงกราวด์
ถ้าเป็นลอจิก1(ไฟ)
หมายถึงรีเซท(RESET)
RESET
หมายถึงเริ่มต้นทำงานใหม่
ถ้าเป็นลอจิก0(กราวด์)
หมายถึงทำงานไปเรื่อยๆ
ส่วนระยะเวลาที่จะเป็นลอจิก1หรือไฟนั้น
ขึ้นอยู่กับค่าRและค่าC
ถ้าRมีค่ามากก็จะใช้เวลาในการเก็บประจุในCมาก
หมายถึงระยะเวลาในการเป็นลอจิก1(ไฟ)
ที่ขาRST จะยาวนานขึ้น
ถ้าCมีค่ามากก็จะใช้เวลาในการเก็บประจุในCมาก
หมายถึงระยะเวลาในการเป็นลอจิก1(ไฟ)
ที่ขาRST จะยาวนานขึ้นเช่นกัน
สังเกตุคำว่าRST/VPP ในDATA SHEET
จะไม่มีขีดลบบนคำว่าRST
หมายความว่าถ้าจะให้RESETต้องต่อไฟให้ขาRST
ส่วนคำว่าVPPก็ไม่มีขีดลบบนคำว่าVPP
หมายความว่าถ้าจะโปรแกรมต้องต่อไฟเข้าขาVPP
VPP = PROGRAMMING ENABLE VOLTAGE
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น