วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วัดกระแสP0 AT89S8252 SINK19MA SOURCEไม่มี




วัดกระแสP0 AT89S8252 SINK19MA SOURCEไม่มี
วิธีวัดกระแสSINKกระแสSOURCEของAT89S51
14/4/2557 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
วิธีวัดกระแสSINKกระแสSOURCEของAT89S51

ใช้ AT89S8252 ในการวัด

DATASHEET ของAT89S8252
มีคุณสมบัติเหมือนกับAT89C51,AT89S51และเบอร์อื่นๆ
ต่างกันที่เบอร์ AT89S8252 มี EEPROM

กระแสSINK คือกระแสที่ไหลเข้าAT89S8252
หมายความว่าไฟภายนอกไหลเข้ามา
ในตัวAT89S8252แล้วลงกราวด์ของAT89S8252

วิธีวัดกระแสซิงค์ ใช้ AT89S8252 ในการวัด
โดยเขียนคำสั่งให้ขาP0.0และP0.1เป็นลอจิก0(กราวด์)
แล้วให้ลอยขา P0.0และP0.1 ออกจากวงจร
เพราะการวัดกระแสต้องวัดแบบอนุกรมห้ามวัดขนาน

เอามิเตอร์ดิจิตอลปรับซีเลคเตอร์ไปที่MA(มิลลิแอมป์)
สายสีแดงเสียบเข้าที่ช่องMA
สายสีแดงจิ้มเข้าไปที่VCC 5โวลท์
สายสีดำจิ้มเข้าไปที่ขาP0.0และP0.1ตามลำดับ
จะได้กระแสSINK 19MAที่VCC 5V ทั้ง2ขา

ถ้าใช้มิเตอร์เข็มบิดซีเลคเตอร์ไปที่ 25MA
สายสีแดงจิ้มเข้าไปที่VCC 5โวลท์
สายสีดำจิ้มเข้าไปที่ขาP0.0และขาP0.1ตามลำดับ
จะได้กระแสSINK 19MAที่VCC 5V  ทั้ง2ขาเช่นกัน

กระแสSINKมี19MA
แต่เวลาใช้จริงต้องมีRจำกัดกระแส
และต้องใช้ไม่เกิน10MAต่อขา
ในDATA SHEETบอกไว้
ถ้าเกินไม่รับประกัน

กระแสSOURCE คือ
กระแสที่ไหลออกจาก AT89S8252
โดยการดึงลงกราวด์จากภายนอก
หมายถึงขานั้นจะต้องมีR PULLUPภายใน
และต้องเขียนคำสั่งให้เป็นลอจิก1ด้วย
จึงจะสามารถใช้กระแสSORUCEได้

ในการทดลองใช้ขาP1.0และP2.7
(เขียนสั่งให้เป็นลอจิก1หรือไฟทั้ง2ขา)

วิธึวัดกระแสSOURCE
เอามิเตอร์ดิจิตอลปรับซีเลคเตอร์ไปที่UA(ไมโครแอมป์)
สายสีแดงเสียบเข้าที่ช่องUA(ไมโครแอมป์)
สายสีดำจิ้มเข้าไปที่กราวด์
สายสีแดงจิ้มเข้าไปที่ขาP1.0และP2.7(ลอจิก1หรือไฟ)
จะได้กระแสSOURCE 10UAทั้ง2ขา

ถ้าใช้มิเตอร์เข็มบิดซีเลคเตอร์ไปที่ 0.1V/50UA
สายสีดำจิ้มเข้าไปที่กราวด์
สายสีแดงจิ้มเข้าไปที่ขาP1.0และP2.7(ลอจิก1หรือไฟ)
จะได้กระแสSOURCE 10UAทั้ง2ขา
ซึ่งเป็นกระแสที่ต่ำมาก
ไม่สามารถแม้แต่ทำให้ทรานซิสเตอร์ทำงานได้
เพราะทรานซิสเตอร์จะทำงานได้จะต้องมีกระแส
อย่างน้อยประมาณ45UAไปBIAS ที่ขาBASE
ดังนั้นถ้าจะทำให้ทรานซิสเตอร์ทำงานต้องใช้
R PULLUP ภายนอกช่วยเพิ่มกระแส

แต่กระแสที่ออกจากAT89S8252มีประมาณ10UA
สามารถต่อสวิทย์ดึงลงกราวด์เพื่อให้เกิดลอจิก1กับ0ได้
โดยไม่ต้องต่อR PULLUP ภายนอกเพิ่ม
เช่นเมื่อกดสวิทย์ก็จะเป็นลอจิก0
ปล่อยสวิทย์ก็จะเป็นลอจิก1
สามารถเขียนสั่งงานว่าถ้าเป็นลอจิก1ให้ทำอะไร
ถ้าเป็นลอจิก0ให้ทำอะไรได้
เพราะว่าเราไม่ได้เอากระแสไปขับเคลื่อน
ตัวอีเลคทรอนิคภายนอก

ถ้าวัดโวลท์ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล
ขาP1.0และขาP2.7 ได้5.03โวลท์
ถ้าวัดไฟที่ขาVCC ได้5.04โวลท์
จะได้ค่าไฟตกลง0.01โวลท์

ถ้าวัดโวลท์ด้วยมิเตอร์เข็ม
ขาP1.0และขาP2.7 ได้4.8โวลท์
ถ้าวัดไฟที่ขาVCCได้5.04โวลท์
จะได้ค่าไฟตกลง0.2โวลท์

สังเกตุได้ว่าสาเหตุที่วัดที่ขาAT89S8252
ได้โวลท์ตกลงเพราะว่ามีกระแสต่ำเกินไปคือ10UA
ทำให้วัดค่าแล้วทำให้โวลท์ตกลง(เพี้ยน)
ส่วนมิเตอร์ดิจิตอลมีการตกลงของโวลท์
น้อยกว่ามิเตอร์เข็ม
เพราะมิเตอร์ดิจิตอลใช้ความต้านทานสูงกว่า
มิเตอร์เข็มมาก เพราะมิเตอร์เข็มต้องใช้กระแส
ในการขับเคลื่อนเข็มสูง ส่วนดิจิตอลไม่ได้ไปขับเคลื่อนเข็ม
จึงทำให้กินกระแสน้อยกว่า

ความต้านทานของมิเตอร์
มิเตอร์เข็มRANGE 10VDC ประมาณ199K(กิโลโอมห์)
ส่วนมิเตอร์ดิจิตอลVDCประมาณ10M(เมกะโอมห์)

ไม่มีความคิดเห็น: