วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ค่าแรงดันผีเริ่มต้นที่Rค่า10KในAT89C2051




ค่าแรงดันผีเริ่มต้นที่Rค่า10KในAT89C2051
3/5/2557 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
ค่าแรงดันผีเริ่มต้นที่Rค่า10KในAT89C2051

แรงดันผีGHOST กระแสผีGHOST
อาจเรียกGHOST,PHANTOM,STRAYก็ได้
คือแรงดันและกระแสที่เกิดจากการอินดิวซ์(INDUCE)
และจะเกิดกระแสต่ำในระดับไมโครแอมป์เท่านั้น

หมายถึงในกรณีที่เราเดินสายไฟไว้เผื่ออนาคต
โดยการนำสายไฟที่ไม่มีไฟรวมอยู่กับสายไฟที่มีไฟ
ก็จะเกิดการอินดิวซ์(INDUCE)ระหว่างสาย
ทำให้เกิดกระแสในระดับไมโครแอมป์
กับสายไฟที่ไม่ได้ต่อไฟ

หรือการเดินไลน์วงจรชิดกันมากๆ
จึงเกิดการอินดิวซ์(INDUCE) เช่น
ภายในตัวไมโครคอนโทรลเลอร์
และอยู่ภายใต้เงื่อนไขในการทดลอง
คือ ใช้VCC 5V
และใช้CRYSTAL 4MHZ
ในช่องทางปกติจะไม่เกิดแรงดันผี(GHOST)
ต้องใช้การหลอกล่อออกมา
โดยการใช้Rค่า100Kต่อเข้าขาSOURCEลงกราวด์
มาเป็นตัวสร้างให้เกิดแรงดันผี(GHOST)
เวลาที่เรานำมิเตอร์ดิจิตอลหรือเข็ม
มาวัดคร่อมRค่า100K
ก็จะเกิดกระแสผี(GHOST)ขึ้น
เนื่องจากมิเตอร์ดิจิตอลและเข็มมีความต้านทานสูง
(สาเหตุที่มิเตอร์ใช้ความต้านทานสูงเพราะไม่ต้องการ
ให้เกิดการสูญเสียขณะวัดเพื่อให้เกิดความแม่นยำสูง)

แต่แรงดันผี(GHOST)กระแสผี(GHOST)ก็มีตัวตนจริง
ไม่งั้นจะวัดแล้วมีไฟและมีกระแสได้อย่างไร
เพียงแต่กระแสมีน้อยมากและไม่เสถียร
จึงไม่สามารถนำไปใช้ขับเคลื่อนตัวอีเลคทรอนิคได้
แต่แรงดันผี(GHOST)สามารถนำไปใช้เป็นอินพุท
ให้ขาAT89C2051ได้ เช่น
ใช้ในการตัดสินใจว่า
ถ้าเป็นลอจิก1แล้วจะให้ทำอะไร
ถ้าเป็นลอจิก0แล้วจะให้ทำอะไร
ตามที่เราเขียนสั่งงานได้

เพราะว่าถ้าเราเขียนคำสั่ง
ให้เป็นลอจิก1 ที่ขาที่มีR PULLUPภายใน
ขานั้นจะมีอินพุทอิมพีแดนซ์สูงมาก
(INPUT IMPEDANCE) สูงมาก
หรือความต้านทานสูงมากนั่นเอง

ค่าเริ่มต้นในการเกิดแรงดันผีคือRค่า10K
ภายใต้เงื่อนไขไฟVCC 5V
CRYSTAL 4MHZ
แล้วเขียนคำสั่งให้เป็นลอจิก1
และขานั้นจะต้องมีR PULLUPภายใน
จากนั้นขานั้นก็จะเรียกว่าขาSOURCE
และจะมีกระแสSORUCEออกมา(มีกระแส20UA)
และเขียนคำสั่งว่า
ถ้าเป็นลอจิก0 ที่ขาSOURCE ให้LEDกระพริบ
ถ้าเป็นลอจิก1 ที่ขาSOURCE ให้LEDหยุดกระพริบ

จากนั้นนำRค่า10Kมาต่อที่ขาSOURCE
ปลายอีกด้านต่อลงกราวด์
นำLDRมาต่อที่ขาSOURCE
ปลายอีกด้านต่อไฟ5โวลท์
LDRเมื่อมีแสงตกกระทบตัวLDR
จะทำให้เกิดความต้านทานต่ำเปรียบเสมือนชอตกัน
เมื่อไม่มีแสงหรือมืดสนิทก็จะมีความต้านทานสูง
เปรียบเสมือนวงจรขาดออกจากกัน

จากนั้นเอาที่ครอบทึบมาครอบที่LDR
เปรียบเสมือวงจรขาดออกจากกัน
แล้วต่อไฟให้กับAT89C2051
ไฟVCCจะไม่ไหลมาที่ขาSOURCE
ขาSOURCEก็จะเป็นลอจิก0
เพราะขาSOURCEมีRค่า10Kต่อลงกราวด์
ลอจิก0=LEDจะกระพริบตลอด

เอาที่ครอบออก LDRเจอแสงความต้านทานต่ำ
ชอตไฟ5โวลท์เข้าขาSOURCEตรงๆ
ขาSOURCEจะเป็นลอจิก1
ลอจิก1=LEDติดค้าง

เอาที่ครอบทึบแสงครอบไปที่ตัวLDR
ไฟ5โวลท์ถูกตัดออกจากขาSOURCE
แต่ขาSOURCEยังเป็นลอจิก1หรือมีไฟอยู่
เพราะกระแสผีออกมาจากตัวAT89C2051แล้ว
ดังนั้นLEDจึงยังคงติดค้างอยู่
ลอจิก1=LEDติดค้าง

ดังนั้นRค่า10Kคือค่าเริ่มต้นที่จะเกิดแรงดันผี(GHOST)
หมายถึงบางครั้งเกิดแรงดันผี(GHOST)
บางครั้งไม่เกิดแรงดันผี(GHOST)

หมายความว่าถ้าเกิดแรงดันผี(GHOST)
ก็จะเกิดไฟขึ้นหรือเรียกว่าลอจิก1
ถ้าไม่เกิดแรงดันผี(GHOST)
ก็จะเกิดกราวด์หรือเรียกว่าลอจิก0
และจะทำให้วงจรการทำงานเกิดอาการรวนขึ้นทันที
เพราะบางครั้งเป็นลอจิก1 บางครั้งเป็นลอจิก0
ทำให้การทำงานที่เราเขียนสั่งงานไว้ผิดพลาด
ดังนั้นเมื่อเราจะนำR มาต่อที่ขาSOURCE
ก็ต้องให้ต่ำกว่าค่า10K

ในการใช้งานจริงผมใช้Rค่า3Kมาต่อที่ขาSOURCE
ปรากฏว่าจะได้เป็นลอจิก0(กราวด์) 100%
แต่ถ้าใช้Rค่า10Kจะรวน
เพราะบางครั้งเป็นลอจิก1
บางครั้งเป็นลอจิก0ไม่แน่นอน

ที่VCC 5V
ลอจิก1 จะอยู่ในช่วง1.3V – 5V
ลอจิก0 จะอยู่ในช่วง0V – 1.2V

ความต้านทานของR PULLUPภายใน
ของAT89C2051 จะอยู่ที่250K(กิโลโอมห์)

จำลองโดยการนำRค่า250Kต่อเข้ากับVCC 5V
แล้วนำRค่า10Kมาต่ออนุกรมกับRค่า250K
จากนั้นนำปลายRค่า10Kอีกด้านมาต่อลงกราวด์
แล้ววัดแรงดันไฟตกคร่อมที่Rค่า250Kได้4.8V
วัดแรงดันไฟตกคร่อมที่Rค่า10K
แบบไม่มีแรงดันผี(GHOST) ได้ 0.19V
เนื่องจากเราต่อออกมาด้านนอก
ไลน์วงจรแยกออกต่างหาก
จึงไม่เกิดแรงดันผี(GHOST)

LDR = LIGHT DEPENDENT RESISTOR
แปลว่า ความต้านทานขึ้นอยู่กับแสง
ถ้าแสงยิ่งมากยิ่งโอมห์ต่ำ เปรียบเสมือนชอตกัน
ถ้าแสงยิ่งมืดยิ่งโอมห์สูง เปรียบเสมือนขาดออกจากกัน


ไม่มีความคิดเห็น: