วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วัดดิบทรานซิสเตอร์A1015คู่C945ตัวหยอดเหรียญSG9แบบทุกเหรียญ ตอน2มิเตอร์ดิจิตอล



วัดดิบทรานซิสเตอร์A1015คู่C945ตัวหยอดเหรียญSG9แบบทุกเหรียญ ตอน2มิเตอร์ดิจิตอล
9/8/2558 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
วัดดิบทรานซิสเตอร์A1015คู่C945ตัวหยอดเหรียญSG9แบบทุกเหรียญ ตอน2มิเตอร์ดิจิตอล

การซ่อมต้องใส่รองเท้า และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชึวิตได้

ตัวหยอดเหรียญSG9แบบหยอดได้ทุกเหรียญสามารถโปรแกรมเหรียญได้เองเมื่อมีเหรียญออกมาใหม่

มิเตอร์เข็มสายสีดำเป็นไฟบวก
สายสีแดงจะเป็นไฟลบหรือกราวด์
  การวัดด้วยมิเตอร์เข็มย่านX1
จะมีไฟออกมา3โวลท์ 150MA
ส่วน3โวลท์150MA ที่ว่านี้คือขณะยังไม่มีโหลด
ถ้าเรานำสายมิเตอร์เข็มมาจึ้ติดกัน
จังหวะนี้จะได้ประมาณ150MA
แต่โวลท์จะตกเหลือ0โวลท์
เพราะเป็นการช็อทตรงนั่นเอง
การวัดในย่านX1นี้จะแม่นยำกว่าย่านX10
ย่านX10จะมีไฟออกมาที่3V 15MA

ส่วนการวัดด้วยมิเตอร์ดิจิตอลFLUKE115
ปรับไปย่านไดโอด ย่านนี้จะมีไฟออกมา
2.5V 860 uA
สายสีแดงเป็นไฟบวก
สายสีดำเป็นไฟลบ
ซึ่งจะตรงข้ามกับมิเตอร์เข็ม

การวัดดิบคือการวัดในวงจรโดยไม่ต้องเสียบไฟ
เรียกว่าเป็นการวัดดิบ

การวัดดิบด้วยมิเตอร์เข็มย่านX1 จะแม่นยำถึง100%
การวัดดิบด้วยมิเตอร์เข็มย่านX10 จะแม่นยำ80%
การวัดดิบด้วยมิเตอร์ดิจิตอล จะแม่นยำประมาณ70%

การวัดดิบลักษณะช็อท
มิเตอร์เข็มย่านX1และย่านX10และมิเตอร์ดิจิตอล
สามารถวัดดิบลักษณะช็อทได้แม่นยำ100%
แต่มีอีกกรณีอาจโดนหลอกได้
คือบางครั้งอาจมีการต่อคร่อมขดลวดได้
เช่นไดโอด4148 ต่อคร่อมขดลวดปล่อยเหรียญ
หรือHOROUTในTV ก็จะต่อคร่อมขดลวดHOR DRIVE
เป็นต้น

การวัดดิบลักษณะขาดหรือยืด
  มิเตอร์เข็มย่านX1 วัดได้100%
เพราะไม่มีวงจรอะไรที่จะจัดวงจรต่ำกว่าย่านX1นั่นเอง
  มิเตอร์เข็มย่านX10 วัดได้80%
เพราะในวงจรมักจะจัดความต้านทาน
อยู่ในย่านใกล้กับย่านX10 ทำให้หลงทางได้ง่าย
  มิเตอร์ดิจิตอล วัดได้70%
สาเหตุเพราะ ถ้าที่ตัวCหรือคาปาซิเตอร์
มีไฟค้างอยู่แม้เพียงเล็กน้อย
ก็จะทำให้การวัดเพี้ยนเป็นโอมห์สูงทันที
และถ้าCที่มีค่าเป็นร้อยโวลท์แม้ดึงไฟออก
ก็อาจจะมีไฟตกค้างได้
ดังนั้นการวัดต้องคลายประจุก่อน
ถ้าไม่งั้นอาจทำให้มิเตอร์พังได้ทันที

การวัดดิบทรานซิสเทอร์
ด้วยมิเตอร์ดิจิตอลFLUKE115ย่านไดโอด
สายสีแดงไฟบวกจับที่ขาใดขาหนึ่งเป็นหลัก
สายสีดำไฟลบจับ2ขาที่เหลือตามลำดับ
จะต้องขึ้นประมาณ 0.5VDCทั้ง2ขา
ถ้าไม่ได้ให้ย้ายสายสีแดงไฟบวกไปจับขาอื่นเป็นหลักต่อไป
  ถ้าไม่ได้ให้ใช้สายสีดำไฟลบจับเป็นหลักบ้าง
แล้วใช้สายสีแดงไฟบวกไปจับ2ขาที่เหลือตามลำดับ
ทำไปเรื่อยๆ
ถ้าทรานซิสเทอร์ดีจะต้องมีอยู่ครั้งหนึ่งที่วัดแล้วได้
ประมาณ0.5VDCทั้ง2ครั้ง
ถ้าครั้งที่ได้
ใช้สายสีแดงไฟบวกP จับไว้เป็นหลัก
ก็แสดงว่าเป็นชนิดNPN
โดยสายที่จับไว้เป็นหลักจะเป็นขาB(BASE)
และอักษรชนิด จะอยู่ตรงกลางเสมอ
ถ้าครั้งที่ได้
ใช้สายสีดำไฟลบN จับไว้เป็นหลัก
ก็แสดงว่าเป็นชนิดPNP
โดยสายที่จับไว้เป็นหลักจะเป็นขาB(BASE)
และอักษรชนิด จะอยู่ตรงกลางเสมอ
  ถ้าวัดได้อย่างนี้ก็แสดงว่าดี
แต่ความแม่นยำเพียง 70% เท่านั้น
เพราะอาจเป็นการวัดโอมห์ในวงจรก็ได้
แต่ถ้าวัดรั่วเล็กน้อย จะไม่สามารถวัดในวงจรได้

ถ้าวัดขึ้นประมาณ0.5VDCทั้ง2ครั้ง วิเคราะห์ได้ดังนี้
ความแม่นยำได้เพียงประมาณ 70%เท่านั้น
เนื่องจากอาจเป็นการวัดโอมห์ในวงจรก็ได้
หรือมีไฟค้างอยู่ที่Cแม้เพียงเล็กน้อยก็จะวัดเพี้ยนทันที

ถ้าวัดขึ้นประมาณ0.5VDC เพียง1ครั้ง
และอีกครั้งวัดได้1VDC วิเคราะห์ได้ดังนี้
ทรานซิสเตอร์ยืดหรือขาด
แต่ที่วัดได้เป็นการวัดโอมห์ในวงจรแทน
ความแม่นยำได้เพียงประมาณ 70%เท่านั้น
เนื่องจากอาจมีไฟค้างอยู่ที่C(คาปาซิเตอร์)
แม้เพียงเล็กน้อยก็จะวัดเพี้ยนได้ทันที

ถ้าวัดขึ้นประมาณ0.5VDC เพียง1ครั้ง
และอีกครั้งวัดได้0.2VDC วิเคราะห์ได้ดังนี้
ทรานซิสเตอร์รั่วหรือช็อท
ความแม่นยำเพียง70% เท่านั้น
เพราะอาจเป็นการวัดโอมห์ในวงจรแทน

ถ้าวัดขึ้นประมาณ0.5VDC เพียง1ครั้ง
และอีกครั้งวัดได้ 0VDC มีเสียงร้องตี๊ดยาว วิเคราะห์ได้ดังนี้
ทรานซิสเตอร์ช็อท 100% ฟันธงได้เลยครับ



ไม่มีความคิดเห็น: