วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคตรวจเช็คมอเตอร์ช็อทข้ามขดเทอร์โมฟิวส์ขาดพัดลมHARARIรุ่นHT7631



เทคนิคตรวจเช็คมอเตอร์ช็อทข้ามขดเทอร์โมฟิวส์ขาดพัดลมHARARIรุ่นHT7631
27/8/2558 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
เทคนิคตรวจเช็คมอเตอร์ช็อทข้ามขดเทอร์โมฟิวส์ขาดพัดลมHARARIรุ่นHT7631

การซ่อมต้องใส่รองเท้า และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชึวิตได้

การวัดโอมห์ต้องดึงปลั๊กไฟออกก่อน

ในการวัดใช้มิเตอร์ดิจิตอลFLUKE115

พัดลมHATARI 16นิ้วรุ่นHT7631
จะมีขดลวดอยู่4ขด
1.ขดSTARTขดที่1 = 211.8 โอมห์
2.ขดSTARTขดที่2 = 78.5 โอมห์
3.ขดSTARTขดที่3 = 111.6 โอมห์
4.ขดลวดมอเตอร์หลัก = 304.3 โอมห์

ถ้าวัดคร่อมCAPACITORจะได้ค่าโอมห์
ของขดลวดทั้ง4ขดรวมกันคือ 706โอมห์

ถ้าวัดได้ประมาณนี้แสดงว่าขดลวดดี
ไม่ชอตรอบ ไม่ช็อทข้ามขด ขดลวดไม่ขาด

ในรุ่นนี้ใช้สีของสายไฟดังนี้
1 สายสีดำที่สวิทช์ คือ สายสวิทช์เบอร์1
2 สายสีดำที่ขั้วคาปาซิเตอร์จะเป็นสายรัน
   แต่รุ่นใหม่จะเป็นสายสีเทาไปแล้ว
3 สายสีน้ำตาล คือ สายสวิทช์เบอร์2
4 สายสีแดงที่สวิทช์ คือ สายสวิทช์เบอร์3
5 สายสีแดงที่ขั้วคาปาซิเตอร์จะเป็นสายสตาร์ท
รุ่นใหม่จะเป็นสายสีส้ม สาเหตุที่ใช้สีเหล่านี้
เพราะจุดนี้เวลาวัดไฟที่สายสตาร์ทจะได้ 300กว่าโวลท์
ซึ่งเป็นสายที่มีไฟสูงที่สุด ส่วนไฟบ้านมีแค่220โวลท์

การวัดว่าขดลวดมอเตอร์ช็อทข้ามขดหรือไม่
1 ให้ใช้สายคีบคีบที่สายสีแดง(สายสตาร์ท)ที่ขั้วคาปาซิเตอร์
ปลายสายคีบอีกด้านจับไว้ที่สายสีดำของมิเตอร์
จากนั้นสายสีแดงของมิเตอร์
จิ้มไปที่สายสีดำสวิทช์เบอร์1 ได้ 211.8โอมห์
จิ้มไปที่สายสีน้ำตาลสวิทช์เบอร์2 ได้ 290.3โอมห์
จิ้มไปที่สายสีแดงสวิทช์เบอร์3 ได้ 401.9โอมห์
จิ้มไปที่สายสีดำสายรันที่ขั้วคาปาซิเตอร์ ได้ 706โอมห์
การวัดแบบนี้เป็นการวัดรวมขด
ดังนั้นโอมห์จะต้องสูงขึ้นเรื่อยๆ
  ถ้าวัดได้ในลัษณะโอมห์สูงขึ้น
ก็แสดงว่ามอเตอร์ไม่ช็อทข้ามขด
  ถ้าวัดได้ในลัษณะโอมห์ต่ำลง
ก็แสดงว่ามอเตอร์ช็อทข้ามขดนั่นเอง

สาเหตุที่ช็อทข้ามขดอาจจะไม่ได้ช็อทผ่านสเตเตอร์
เนื่องจากจะมีแผ่นฉนวนวางกันระหว่างสเตเตอร์
กับขดลวด
แต่การช็อทข้ามขดเกิดจากการที่ขดลวดแต่ละขด
จะต้องผูกมัดเข้าหากันเนื่องจากพื้นที่จำกัด
ดังนั้นจึงเกิดการเสียดสี และอื่นๆ
จนทำให้ส่วนที่ผูกติดกันสามารถช็อทถึงกันได้นั่นเอง

ส่วนการวัดเทอร์โมฟิวส์
ให้ใช้มิเตอร์วัดคร่อมสายสีดำสายรันที่ขั้วคาปาซิเตอร์
กับสายสีขาวที่เข้ามาจากไฟACแบบตรงๆ
สายสีขาวจะผ่านเทอร์โมฟิวส์
แล้วออกมาเป็นสายสีดำสายรัน
แล้วมาเข้าที่ขั้วคาปาซิเตอร์
การวัดจุดนี้จะต้องได้โอมห์ต่ำประมาณ0โอมห์
เทอร์โมฟิวส์จะมีค่าโอมห์ต่ำประมาณ 0.1โอมห์เท่านั้น
ถ้าวัดไม่ขึ้นก็แสดงว่าขาด
ถ้าวัดได้0โอมห์หรือมีโอมห์เล็กน้อยก็แสดงว่าดี
เพราะสายไฟก็จะมีโอมห์ด้วยเช่นกันแต่จะเป็นโอมห์ต่ำ

ขดSTARTขดที่1 อยู่ที่ขาCAPACITORข้างหนึ่ง
กับสวิทช์เบอร์1
ขดSTARTขดที่2 อยู่ที่ขาสวิทช์เบอร์1กับขาสวิทช์เบอร์2
ขดSTARTขดที่3 อยู่ที่ขาสวิทช์เบอร์2กับขาสวิทช์เบอร์3
ขดรัน อยู่ที่ขาสวิทช์เบอร์3กับสายรันคือสายสีดำ
เริ่มจาสายสีขาวที่เป็นไฟACที่เข้ามาแบบตรงๆ
จากนั้นผ่านเทอร์โมฟิวส์ไปเข้าขดรัน
สายสีดำสายรันอีกทางแยกไปต่อกับขาCAPACITORอีกข้าง
เพื่อให้ไฟSTARTครบวงจร

ส่วนเทอร์โมฟิวส์นี้จะมัดไว้กับขดลวด
เมื่อขดลวดเกิดความร้อนเกินเทอร์โมฟิวส์ก็จะขาดทันที
เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟไหม้
และป้องกันขดลวดมอเตอร์ร้อนจนขาด


ส่วนสายไฟACอีกเส้นจะต่อกับสวิทช์
เมื่อกดสวิทช์ใดสายไฟACเส้นนี้ก็จะต่อเข้ากับสวิทช์นั้น
ทำให้ครบวงจร พัดลมหมุนนั่นเอง
สายไฟACเส้นนี้เรียกว่าสายสวิทช์หรือสายคอมม่อน
หรือสายร่วมนั่นเอง

เชิญดูวีดีโอประกอบครับ!



ไม่มีความคิดเห็น: