ตัวหยอดเหรียญSG9แบบทุกเหรียญ
ตอน7ขั้นตอนเซ็นเซอร์ขณะรับเหรียญ
8/8/2558 SONGCHAI
PRAPATRUNGSEE
ตัวหยอดเหรียญSG9แบบทุกเหรียญ
ตอน7ขั้นตอนเซ็นเซอร์ขณะรับเหรียญ
การซ่อมต้องใส่รองเท้า
และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชึวิตได้
ตัวหยอดเหรียญSG9แบบหยอดได้ทุกเหรียญสามารถโปรแกรมเหรียญได้เองเมื่อมีเหรียญออกมาใหม่
ในที่นี้ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์เบอร์MB89F202
ซึ่งต่อไปนี้ผมจะเรียกว่าCPUเพื่อความกระชับ
เซ็นเซอร์จะมีตัวรับกับตัวส่ง
ตัวส่งแสงคือ LED INFRAREDรูปร่างใส
ตัวรับแสงคือ โฟโต้ทรานซิสเตอร์รูปร่างดำๆ
โฟโต้ทรานซิสเทอร์จะชอบแสงอินฟราเรด(INFRARED)
เพราะจะทำให้โฟโต้ทรานซิสเทอร์โอมห์ต่ำลงได้มาก
แต่ถ้าเป็นแสงแดดก็จะทำให้โอมห์ต่ำลงได้น้อยกว่า
ในรุ่นนี้จะใช้LED INFRARED 2ตัว
และโฟโต้ทรานซิสเทอร์2ตัว
LED INFRARED
กับโฟโต้ทรานซิสเทอร์จะต้องจ่อตรงกัน
เรียกว่าเซ็นเซอร์1ชุด
ในตัวหยอดนี้จะใช้2ชุด
อยู่ที่ด้านบน1ชุด
และอยู่ที่ด้านล่างตรงช่องที่เงินลงกล่องอีก1ชุด
เซ็นเซอร์ชุดล่างจะวางขนานกัน
คือไม่ได้จ่อตรงข้ามแบบชุดบน
คือLED INFRAREDจะยิงแสง
ไปกระทบกับเหรียญ
แล้วสะท้อนกลับมายังโฟโต้ทรานซิสเทอร์
ทันที่ที่ป้อนไฟให้กับตัวหยอด
LED INFRARED ของเซ็นเซอร์ชุดบน
ก็จะส่งแสงอินฟราเรดไปที่โฟโต้ทรานซิสเทอร์
ทำให้โฟโต้ทรานซิสเทอร์มีโอมห์ต่ำลงตลอดเวลา
ส่วนเซ็นเซอร์ชุดที่อยู่ด้านล่าง
แสงจะไม่ส่องถึงกันเพราะวางในแนวขนานกัน
หมายความว่าโฟโต้ทรานซิสเทอร์จะมีโอมห์ที่สูงมาก
เมื่อมีเหรียญผ่านลงกล่องเงิน
เหรียญที่ผ่านก็จะสะท้อนแสงจาก LED
INFRARED
ไปที่โฟโต้ทรานซิสเทอร์ทำให้โฟโต้ทรานซิสเทอร์
มีโอมห์ที่ต่ำลงนั่นเอง
การทำงานเริ่มจากเมื่อเราหยอดเหรียญ
สมมุติว่าหยอดเหรียญ5บาทเข้าไป
เหรียญ5ก็จะไหลผ่านเซ็นเซอร์ชุดบน
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงไฟ
ชั่วขณะที่เหรียญ5บาทผ่าน
ซึ่งCPUก็จะทำการตรวจจับเวลา
ที่เปลี่ยนแปลงนี้เป็นระดับไมโครวินาที
โดยผ่านขบวนการต่างๆในวงจรร่วมด้วย
จากนั้นก็ทำการเปรียบเทียบระยะเวลากับ
ไอซีเม็มโมรี่หน่วยความจำเบอร์24C16
ที่ทำการโปรแกรมขนาดเหรียญไว้
ว่าตรงกับเหรียญใด ในที่นี้เราหยอดเหรียญ5บาท
CPUก็จะเข้าใจว่าเป็นพัลส์5ลูก
CPUก็จะสั่งไฟไปที่ขดลวดปล่อยเหรียญ
ทำให้เหรียญไหลผ่านเซ็นเซอร์ชุดล่าง
แล้วไหลไปลงกล่องเงินได้
นั่นหมายความว่าเงินไหลเข้ากล่องเงิน
ของผู้ให้บริการแล้วแน่นอน
CPUก็จะรับรู้ว่าเหรียญลงกล่องแล้ว
จากแรงไฟที่เปลี่ยนแปลง
จากเซ็นเซอร์ชุดล่าง
CPUก็จะสั่งพัลส์ออกมา5ลูก
โดยการดึงสัญญาณไฟจากสายสีขาว
ช็อทลงสายสีดำซึ่งเป็นสายกราวด์
ทำการดึงปล่อยจำนวน5ครั้งหรือเป็น0เป็น1
หรือเป็นกราวด์กับไฟ5ชุดนั่นเอง
ทำให้บอร์ดเครื่องซักผ้า
ตู้โทรศัพท์หรือตู้น้ำ
ถูกกดจำนวน5ครั้ง ทำให้ขึ้นเลข5ได้นั่นเอง
ถ้าเหรียญไม่ได้ขนาดตามที่โปรแกรมไว้
CPUก็จะสั่งคืนเหรียญมายังช่องคืนเหรียญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น