วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

หลอดไฟทดสอบไฟช็อท ตอน3สังเกตุหลอดไฟกระพริบ

Beauty & Helath

หลอดไฟทดสอบไฟช็อท ตอน3สังเกตุหลอดไฟกระพริบ
8/10/2558 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
หลอดไฟทดสอบไฟช็อท ตอน3สังเกตุหลอดไฟกระพริบ

เทคนิคสังเกตุหลอดทดสอบไฟช็อท
1.หลอดติดสว่างจ้าตลอดเวลา
แสดงว่ามีตัวช็อทที่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มาทดสอบ
ถ้าไม่ใช้หลอดทดสอบไฟช็อท
ก็จะทำให้ฟิวส์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าขาดอีก
2.หลอดไม่ติดหรือติดหรี่
แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มาทดสอบดีไม่มีการช็อท
หรือไม่เสียในลักษณะช็อท
แต่อาจจะเสียในลักษณะขาด
3.หลอดไฟติดกระพริบเป็นจังหวะ
แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าปกติมีการทำงานแล้ว
แต่ไฟไม่พอให้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆทำงานอย่างต่อเนื่อง
จึงเกิดการแย่งไฟกันขึ้น
ระหว่างหลอดทดสอบไฟช็อทกับเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ
คือเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเริ่มทำงาน
ก็จะดึงกระแสไฟที่ผ่านหลอดทดสอบ
และเมื่อกระแสไฟที่ผ่านหลอดทดสอบ
ไม่พอจ่ายให้เครื่องใช้ไฟฟ้า
ก็จะทำให้ไฟที่ผ่านหลอดทดสอบตกลง
ทำให้หลอดทดสอบสว่างและเมื่อหลอดทดสอบสว่าง
ก็จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าหยุดทำงาน
และเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าหยุดทำงาน
เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะไม่ดึงกระแสไฟจากหลอดทดสอบ
ทำให้หลอดทดสอบดับไม่สว่าง
และเมื่อหลอดทดสอบดับไม่สว่าง
กระแสไฟที่ผ่านหลอดทดสอบก็จะไม่ตก
ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเริ่มทำงานใหม่
และเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเริ่มทำงาน
ก็จะดึงกระแสไฟที่ผ่านหลอดทดสอบ
ทำให้กระแสไฟที่ผ่านหลอดทดสอบตกลงอีกครั้ง
ทำให้หลอดสว่างอีกครั้ง
ทำให้เกิดการกระพริบของหลอดไฟตลอดเวลานั่นเอง

หลอดทดสอบไฟช็อทจะใช้หลอดไส้หรือหลอดตะเกียบก็ได้

หลอดวัตต์ยิ่งตํ่ายิ่งความต้านทานสูงยิ่งจ่ายกระแสได้น้อย
หลอดวัตต์ยิ่งสูงยิ่งความต้านทานต่ำยิ่งจ่ายกระแสได้มาก

ถ้าในกรณีที่จะนำทีวีแบบจอตู้มาทดสอบ
ก็ต้องทำการถอดดีเก๊าท์ออกก่อนจึงจะสามารถนำมาทดสอบได้
  แต่ถ้าเป็นทีวีแบบจอตู้ที่ดีไม่เสียอยากมาทดสอบ
เพื่อดูหลอดทดสอบ
ก็ไม่จำเป็นต้องถอดดีเก๊าท์ออก
เพียงเปิดเครื่องทีวีแบบจอตู้ให้ติดมีภาพออกก่อน
แล้วจึงจะนำมาทดสอบกับหลอดทดสอบไฟช็อท
เนื่องจากทีวีแบบจอตู้ในขณะเครื่องเย็นจะต้องมีการล้าง
สนามแม่เหล็กในตอนเปิดเครื่องครั้งแรกก่อน
หรือจะถอดดีเก๊าออกก่อนทดสอบกับหลอดทดสอบก็ได้
ถ้าถอดดีเก๊าท์ออกแล้วไม่จำเป็นต้องทำการอุ่นทีวีจอตู้อีก



1 ความคิดเห็น:

อิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า...

ขอบคุณครับ อาจารย์ ที่ไห้ความรู้ดีๆๆ ครับ