วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เสียงตืดหมุนช้าระเบิดพัดลมIMARFLEXรุ่นIF929 ตอน8วัดโอมห์มอเทอร์ต่อขดลวดถูกต้องหรือไม่

Toy & Babies

เสียงตืดหมุนช้าระเบิดพัดลมIMARFLEXรุ่นIF929 ตอน8วัดโอมห์มอเทอร์ต่อขดลวดถูกต้องหรือไม่
30/10/2558 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
เสียงตืดหมุนช้าระเบิดพัดลมIMARFLEXรุ่นIF929 ตอน8วัดโอมห์มอเทอร์ต่อขดลวดถูกต้องหรือไม่

การซ่อมต้องใส่รองเท้า และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชึวิตได้

การต่อขดลวดสำหรับตัวนี้มีการขาด2เส้น
ดังนั้นจะต้องวัดว่าการต่อนั้นถูกต้องหรือไม่
ทำการวัดดังนี้
ให้ใช้มิเทอร์สายสีดำจับที่ขั้วCหรือคาปาซิเทอร์
ขั้วใดขั้วหนึ่งเป็นหลัก
ส่วนมิเทอร์สายสีแดงจิ้มไปที่สวิทช์เบอร์1สายสีเขียว
แล้วย้ายสวิทช์เบอร์2สีเหลือง
แล้วย้ายไปที่สวิทช์เบอร์3สีแดง
แล้วย้ายไปที่ขั้วCหรือคาปาซิเทอร์อีกขั้ว(วัดคร่อมC)
ถ้าวัดตามที่กล่าวด้านบนแล้ว
ได้โอมห์ที่สูงขึ้นเรื่อยๆแสดงว่ามิเทอร์สายสีดำ
ที่จับไว้ที่ขั้วCเป็นหลักนั้นเป็นสายสตาร์ท
แต่ถ้าได้โอมห์ลดลงเรื่อยๆก็แสดงว่า
ขั้วCที่จับไว้เป็นหลักนั้นเป็นสายรัน
เพราะเป็นการวัดลดขดลงมาเรื่อยๆนั่นเอง

ผลการวัดในเครื่องนี้คือ
มิเทอร์สายสีดำจับที่ขั้วCที่เป็นสายสตาร์ทเป็นหลัก
มิเทอร์สายสีแดงจิ้มไปที่
สวิทช์เบอร์1สีเขียวได้ 222โอมห์
สวิทช์เบอร์2สีเหลืองได้ 305โอมห์
สวิทช์เบอร์3สีแดงได้ 422.7โอมห์
ขั้วCอีกขั้วเป็นการวัดคร่อมCได้40MΩหรือไม่ขึ้น
แสดงว่าขดรันขาด
  การวัดคร่อมCจะเป็นการวัดขดลวดทั้งหมด4ขดรวมกัน
เนื่องจากขดลวดทั้ง4ขดจะต่ออนุกรมกันนั่นเอง

ดังนั้นจะต้องทำการหาขดรันที่ขาดแล้วต่อขดลวด
เข้าไปเท่านี้ก็ใช้ได้แล้ว

ถ้าวัดโอมห์แล้วถูกต้อง
คือการวัดเพิ่มขดจะต้องได้โอมห์ที่สูงขึ้น
และการวัดลดขดจะต้องได้โอมห์ที่ต่ำลง
ถ้าวัดได้ถูกต้องแล้วมอเทอร์ยังไม่หมุนก็ให้สลับสายที่ต่อไว้
เพราะอาจจะเป็นการต่อกลับเฟสกันก็ได้

เชิญชมวีดีโอประกอบครับ!



ไม่มีความคิดเห็น: