วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560

พัดลมไม่หมุนเทอร์โมฟิวส์ขาด FAN do not rotate the thermo fuse broken



พัดลมไม่หมุนเทอร์โมฟิวส์ขาด FAN do not rotate the thermo fuse broken
16/4/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
พัดลมไม่หมุนเทอร์โมฟิวส์ขาด FAN do not rotate the thermo fuse broken

การซ่อมต้องใส่รองเท้า และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชีวิตได้

ในกรณีนี้พัดลมไม่หมุน
แต่แกนเพลาหมุนคล่อง
ดังนั้นจะถอดฐานออกมาวัดโอมห์ว่าช็อทรอบ
หรือช็อทข้ามขดหรือไม่

เพราะถ้าช็อทรอบหรือช็อทข้ามขด
จะทำให้มอเตอร์กินกระแสมากขึ้น
จนทำให้ความร้อนที่ขดลวดสูงเกินค่าเทอร์โมฟิวส์
คือ145องศา2A
จนทำให้เทอร์โมฟิวส์ขาดได้
  หรือมอเตอร์กินกระแสเกิน2A
ก็จะทำให้เทอร์โมฟิวส์ขาดได้เช่นกัน

การถอดฐาน ให้จับพัดลมนอนลง
จากนั้นกดเดือยไว้1เดือย แล้วตบจากด้านบนเท่านั้น
แล้วพลิกแล้วกดเดือยไว้อีก1เดือย แล้วตบจากด้านบนเท่านั้น
ตบไปเรื่อยๆก็จะออกแล้ว

ข้อห้ามในการตบออกคือห้ามตบที่ด้านล่าง
เพราะเวลาตบที่ด้านล่างจะเป็นการกดคอ
ทำให้คอหักได้ง่ายนั่นเอง

การวัดโอมห์ต้องดึงปลั๊กไฟออกก่อน

ในการวัดใช้มิเตอร์ดิจิตอลFLUKE115

พัดลมHATARI 16นิ้วรุ่นHT7631
จะมีขดลวดอยู่4ขด
1.ขดSTARTขดที่1 = 211.8 โอมห์
2.ขดSTARTขดที่2 = 78.5 โอมห์
3.ขดSTARTขดที่3 = 111.6 โอมห์
4.ขดลวดมอเตอร์หลัก = 304.3 โอมห์

ถ้าวัดคร่อมCAPACITORจะได้ค่าโอมห์
ของขดลวดทั้ง4ขดรวมกันคือ 706โอมห์

ถ้าวัดได้ประมาณนี้แสดงว่าขดลวดดี
ไม่ชอตรอบ ไม่ช็อทข้ามขด ขดลวดไม่ขาด

ในรุ่นนี้ใช้สีของสายไฟดังนี้
1 สายสีดำที่สวิทช์ คือ สายสวิทช์เบอร์1
2 สายสีดำที่ขั้วคาปาซิเตอร์จะเป็นสายรัน
   แต่รุ่นใหม่จะเป็นสายสีเทาไปแล้ว
3 สายสีน้ำตาล คือ สายสวิทช์เบอร์2
4 สายสีแดงที่สวิทช์ คือ สายสวิทช์เบอร์3
5 สายสีแดงที่ขั้วคาปาซิเตอร์จะเป็นสายสตาร์ท
รุ่นใหม่จะเป็นสายสีส้ม สาเหตุที่ใช้สีเหล่านี้
เพราะจุดนี้เวลาวัดไฟที่สายสตาร์ทจะได้ 300กว่าโวลท์
ซึ่งเป็นสายที่มีไฟสูงที่สุด ส่วนไฟบ้านมีแค่220โวลท์

การวัดว่าขดลวดมอเตอร์ช็อทข้ามขดหรือไม่
1 ให้ใช้สายคีบคีบที่สายสีแดง(สายสตาร์ท)ที่ขั้วคาปาซิเตอร์
ปลายสายคีบอีกด้านจับไว้ที่สายสีดำของมิเตอร์
จากนั้นสายสีแดงของมิเตอร์
จิ้มไปที่สายสีดำสวิทช์เบอร์1 ได้ 211.8โอมห์
จิ้มไปที่สายสีน้ำตาลสวิทช์เบอร์2 ได้ 290.3โอมห์
จิ้มไปที่สายสีแดงสวิทช์เบอร์3 ได้ 401.9โอมห์
จิ้มไปที่สายสีดำสายรันที่ขั้วคาปาซิเตอร์ ได้ 706โอมห์
การวัดแบบนี้เป็นการวัดรวมขด
ดังนั้นโอมห์จะต้องสูงขึ้นเรื่อยๆ
  ถ้าวัดได้ในลัษณะโอมห์สูงขึ้น
ก็แสดงว่ามอเตอร์ไม่ช็อทข้ามขด
  ถ้าวัดได้ในลัษณะโอมห์ต่ำลง
ก็แสดงว่ามอเตอร์ช็อทข้ามขดนั่นเอง

สาเหตุที่ช็อทข้ามขดอาจจะไม่ได้ช็อทผ่านสเตเตอร์
เนื่องจากจะมีแผ่นฉนวนวางกันระหว่างสเตเตอร์
กับขดลวด
แต่การช็อทข้ามขดเกิดจากการที่ขดลวดแต่ละขด
จะต้องผูกมัดเข้าหากันเนื่องจากพื้นที่จำกัด
ดังนั้นจึงเกิดการเสียดสี และอื่นๆ
จนทำให้ส่วนที่ผูกติดกันสามารถช็อทถึงกันได้นั่นเอง

ส่วนการวัดเทอร์โมฟิวส์
ให้ใช้มิเตอร์วัดคร่อมสายสีดำสายรันที่ขั้วคาปาซิเตอร์
กับสายสีขาวที่เข้ามาจากไฟACแบบตรงๆ
สายสีขาวจะผ่านเทอร์โมฟิวส์
แล้วออกมาเป็นสายสีดำสายรัน
แล้วมาเข้าที่ขั้วคาปาซิเตอร์
การวัดจุดนี้จะต้องได้โอมห์ต่ำประมาณ0โอมห์
เทอร์โมฟิวส์จะมีค่าโอมห์ต่ำประมาณ 0.1โอมห์เท่านั้น
ถ้าวัดไม่ขึ้นก็แสดงว่าขาด
ถ้าวัดได้0โอมห์หรือมีโอมห์เล็กน้อยก็แสดงว่าดี
เพราะสายไฟก็จะมีโอมห์ด้วยเช่นกันแต่จะเป็นโอมห์ต่ำ

ขดSTARTขดที่1 อยู่ที่ขาCAPACITORข้างหนึ่ง
กับสวิทช์เบอร์1
ขดSTARTขดที่2 อยู่ที่ขาสวิทช์เบอร์1กับขาสวิทช์เบอร์2
ขดSTARTขดที่3 อยู่ที่ขาสวิทช์เบอร์2กับขาสวิทช์เบอร์3
ขดรัน อยู่ที่ขาสวิทช์เบอร์3กับสายรันคือสายสีดำ
เริ่มจาสายสีขาวที่เป็นไฟACที่เข้ามาแบบตรงๆ
จากนั้นผ่านเทอร์โมฟิวส์ไปเข้าขดรัน
สายสีดำสายรันอีกทางแยกไปต่อกับขาCAPACITORอีกข้าง
เพื่อให้ไฟSTARTครบวงจร

ส่วนเทอร์โมฟิวส์นี้จะมัดไว้กับขดลวด
เมื่อขดลวดเกิดความร้อนเกินเทอร์โมฟิวส์ก็จะขาดทันที
เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟไหม้
และป้องกันขดลวดมอเตอร์ร้อนจนขาด


ส่วนสายไฟACอีกเส้นจะต่อกับสวิทช์
เมื่อกดสวิทช์ใดสายไฟACเส้นนี้ก็จะต่อเข้ากับสวิทช์นั้น
ทำให้ครบวงจร พัดลมหมุนนั่นเอง
สายไฟACเส้นนี้เรียกว่าสายสวิทช์หรือสายคอมม่อน
หรือสายร่วมนั่นเอง

พัดลมHATARIจะมีเทอร์โมฟิวส์ป้องกัน
แต่บางยี่ห้อจะไม่มี

สำหรับพัดลมHARARIรุ่นHT7631
เป็นพัดลมขนาด16นิ้ว
ใช้เทอร์โมฟิวส์ขนาด 139องศา2A
สามารถใช้ค่าใกล้เคียงใส่ได้
ในที่นี้ผมใช้ค่า 135องศา2Aแทนครับ

สาเหตุที่กระบอกไฟเบอร์ที่สวมแกนเพลาละลาย
เริ่มต้นจากน้ำมันในแหวนซับน้ำมันแห้ง
หรือแหวนซับน้ำมันหมดสภาพกลายเป็นผง
ทำให้แกนเพลาแห้ง
เสียดสีกับบู๊ททองเหลืองแบบแห้งๆ
จนเกิดความร้อนทำให้เป็นเขม่าไหม้บริเวณ
บู๊ททองเหลืองกับแกนเพลาในส่วนที่สัมผัสกัน
  จากนั้นความร้อนก็จะเพิ่มขึ้นจนทำให้
กระบอกไฟเบอร์ที่สวมอยู่กับแกนเพลาละลาย
ความร้อนผ่านแกนเพลาไปยังบู๊ททองเหลือง
ผ่านโครงมอเตอร์
ผ่านสเตเตอร์ผ่านฉนวนไปยังขดลวดที่เทอร์โมฟิวส์สัมผัส
เมื่อความร้อนเกินค่าของเทอร์โมฟิวส์
ในที่นี้คือ139องศา
ทำให้เทอร์โมฟิวส์ขาด
ทำให้ขดลวดมอเตอร์ไม่ขาดนั่นเอง
เทอร์โมฟิวส์ทำหน้าที่ป้องกันขดลวดมอเตอร์

ส่วนใหญ่แล้วบู๊ทที่หลวมจะเป็นบู๊ทหน้า
เพราะบู๊ทหน้าจะทำงานหนักกว่า
รับแรงกระแทกจากพัดลมมากกว่าบู๊ทท้ายนั่นเอง

เวลาบู๊ทหลวม
จะเกิดเสียงดัง


พัดลมHATARI 16นิ้ว รุ่นHT7631
รุ่นนี้คอไม่มีอะไหล่
ให้เอาปุ่มที่กดคอขึ้นลงออก
แล้วกดเข้าไปก็ใช้ได้แล้ว
หรือจะใช้สว่านเจาะรูด้านข้างทั้ง2ด้าน
แล้วเอาน็อทไขล็อคก็สามารถใช้ได้แล้ว

พัดลมHATARI 16นิ้ว รุ่นHT7631
รุ่นนี้จะเป็นบู๊ทพลาสติก
ส่วนรุ่นใหม่จะเป็นพลาสติกผสมเหล็ก
ทำหน้าที่ให้แกนโรเตอร์วิ่งอยู่ในช่วงที่ต้องการ
คือไม่ให้ตัวโรเตอร์กระเด็นออกมาชนตะแกรงนั่นเอง
ตัวโรเตอร์จะสามารถให้ตัวได้
คือดันแกนเข้าสุด ประมาณ0.5ซม – 1.5ซม
และดึงออกสุด ประมาณ0.5ซม – 1.5ซม
ทั้งนี้แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ
โดยมีบู๊ทพลาสติกหัวท้ายเป็นตัวล็อคระยะแกนเพลาโรเตอร์

บู๊ทพลาสติก กับบู๊ททองเหลืองจะเป็นคนละส่วนกัน
และทำหน้าที่ต่างกัน

บู๊ทพลาสติก ตัวละ 5 บาท
บู๊ททองเหลือง ตัวละ 8บาท
แหวน8มม. ราคาถุงละ 15บาท
ซื้อได้ที่ร้านขายอะไหล่อิเล็คทรอนิคส์ทั่วไป

พัดลมHATARI 16นิ้ว รุ่นHT7631

บู๊ททองเหลืองตัวหน้าจะทำงานหนักกว่าบู๊ททองเหลืองตัวหลัง
ดังนั้นเปลี่ยนเฉพาะบู๊ททองเหลืองตัวหน้าก็ได้
หรืออยากจะเปลี่ยนบู๊ททองเหลืองตัวท้ายด้วยก็ได้

วิธีตรวจเช็คว่าบู๊ททองเหลืองตัวไหนหลวม
ตรวจเช็คโดยเอาบู๊ททองเหลืองสวมเข้าที่แกนเพลา
แล้วลองโยกบู๊ททองเหลืองดูตามในวีดีโอด้านบนเลยครับ

บู๊ททองเหลืองตัวละ 8บาท
แหวนซับน้ำมัน วงละ 5บาท
ในกรณีเปลี่ยนบู๊ท ต้องเปลี่ยนแหวนซับน้ำมันด้วย

บู๊ททองเหลืองทำหน้าที่ยึดแกนเพลาให้หมุนแบบนิ่งๆ
ถ้าบู๊ทหลวมก็จะทำให้โรเตอร์กรงกระรอก
แกว่งไปชนกับตัวสเตเตอร์
ทำให้เกิดเสียงดังเวลาพัดลมทำงานครับ
ดังแกร็กๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ที่ผมได้ทำไว้ในตอนที่แล้วๆมาครับ

ส่วนแหวนซับน้ำมัน
ก็จะทำหน้าที่ทำให้บู๊ททองเหลืองไม่แห้ง
เมื่อพัดลมทำงานแกนเพลาในส่วนที่หมุนอยู่บริเวณ
บู๊ททองเหลืองมีความลื่นและไม่เกิดความร้อน
ซึ่งแหวนซับน้ำมันสามารถเก็บน้ำมันไว้ได้นานเป็นปี

พัดลมHATARI 16นิ้ว รุ่นHT7631

เปิดพัดลมเบอร์1 มีเสียงดังมาก
เปิดพัดลมเบอร์2 ก็มีเสียงดังมาก
เปิดพัดลมเบอร์3 กลับเสียงเงียบสนิท

สาเหตุเกิดจาก ใส่ใบพัดที่ไม่ใช่ของHATARI
และตัวล็อคไม่ใช่ของHATARI
ดังนั้นก็เกิดเสียงดังเมื่อเปิดเบอร์1กับเบอร์2
ส่วนเบอร์3ไม่ดัง เพราะความเร็วทำให้มันได้ศูนย์นั่นเอง
คือไม่แกว่งเมื่อความเร็วสูง

ต้องเปลี่ยนทั้งใบพัดและตัวล็อคใบพัด
ให้เป็นของHATARIแท้
ถ้าเปลี่ยนอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะไม่หาย
ต้องเปลี่ยนทั้งคู่
  แต่ถ้าเปลี่ยนของเทียม
ก็ต้องเป็นของเทียมHATARI จึงจะใช้ได้
  เนื่องจากขนาดของแต่ละยี่ห้อจะไม่เท่ากันนั่นเอง
ทั้งใบพัด และตัวล็อคใบพัดครับ

เชิญดูวีดีโอประกอบครับ!




ไม่มีความคิดเห็น: