วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

นมกินอย่างไรไม่เป็นโรค Eat Fatty stop eat not Fatty



นมกินอย่างไรไม่เป็นโรค Eat Fatty stop eat not Fatty
20/6/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEEE
นมกินอย่างไรไม่เป็นโรค Eat Fatty stop eat not Fatty

นมวัว
นมโคสด100% คือนมที่รีดออกมาสดๆ เหมาะสำหรับคนอายุต่ำกว่า25ปี
โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า2ขวบ
เพราะไขมันในนมจะไปละลายวิตามิน A  D  E  K
ซึ่งเป็นวิตามินที่จะช่วยสร้างเซลล์สมองของเด็ก

นมพร่องมันเนย เหมาะสำหรับคนอายุ25ปีขึ้นไป
จะมีโปรตีน และแคลเซียม เทียบเท่ากับนมธรรมดา
แต่ก็อาจมีไขมันหลงเหลืออยู่คือไม่เกิน15%
ไม่ควรดื่มนมแทนน้ำเพราะยังมีไขมันหลงเหลืออยู่

นมขาดมันเนย คือนมที่แทบจะไม่มีไขมันหลงเหลืออยู่เลย
เหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคไขมันสูง
ไม่ควรดื่มนมแทนน้ำเพราะยังมีไขมันหลงเหลืออยู่

นมถั่วเหลือง คือนมที่มีไขมันพืชสามารถย่อยได้ดีกว่านมวัว
มีโปรตีนและแคลเซียมไม่แพ้นมวัวธรรมดามากนัก
และที่สำคัญน้ำนมถั่วเหลืองยังมีสารเลซิติน
ที่ช่วยเสริมสร้างบำรุงสมอง
ซึ่งต่างจากนมพร่องมันเนยที่ไม่มีสารดังกล่าว

คนที่ดื่มนมเพราะต้องการแคลซียมและโปรตีนจากนม
แต่คนที่ไม่สามารถดื่มนมได้เพราะไม่ย่อยนั้น
แนะนำให้บริโภคโยเกิร์ตทดแทน
เพราะในโยเกิร์ตจะมีจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยได้ดี
แต่ถ้ามีความหวานก็อาจทำให้เป็นเบาหวานได้
ถ้าเป็นเช่นนั้นก็สามารถบริโภคปลาตัวเล็กได้
เพราะมีแคลเซียมไม่ต่างจากนม


ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) และไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fat)
เป็นสารอาหารที่ได้จากอาหารไขมันตัวเดียวกัน
แต่มีสารประกอบทางเคมีต่างกัน
-ไขมันอิ่มตัว คือ ไขมันไม่ดี
ไขมันอิ่มตัว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน
และออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดยสมบูรณ์
และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใดๆในร่างกาย
พบมากในไขมันสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
เช่น ไขมันสัตว์ ไขมันที่แทรกในเนื้อสัตว์ นม เนย
ไขมันกลุ่มนี้ประกอบด้วยไขมันคอเลสเตอรอล และไขมันไตรกลีเซรายด์
ไขมันอิ่มตัว เมื่อบริโภคมากเกินไป
จะไปสะสมในเซลล์ไขมันทั่วร่างกาย
ทำให้เกิดโรคอ้วน และจับที่ผนังหลอดเลือดแดง
ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิด โรคหลอดเลือดหัวใจ
และโรคหลอดเลือดสมอง
แต่ไขมันชนิดนี้ก็ยังจำเป็นต่อร่างกายในการเจริญเติบโต
เช่น เซลล์สมอง เซลล์กระ ดูก เซลล์ผิวหนัง
และยังเป็นส่วนประกอบสำคัญต่างๆของร่างกาย เช่น
ฮอร์โมนต่างๆ
ดังนั้น ไขมันชนิดนี้จึงยังจำเป็นต่อร่างกาย แต่ต้องไม่เกิน
-ไขมันไม่อิ่มตัว หรือไขมันดี
มักเป็นไขมันที่ได้จากพืช ยกเว้นจากพืชบางชนิด เช่น
กะทิ และน้ำมันปาล์ม 2ตัวนี้ มีผลต่อโรคอ้วน
และต่อโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว แต่จะน้อยกว่าไขมันอิ่มตัว

ในอาหารไขมันทั้งจากพืชและสัตว์
ประกอบด้วยไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้เสมอ
แต่สัดส่วนต่างกัน และไขมันทั้ง 2 ชนิดก็ยังมีความจำเป็นต่อร่างกาย
ดังนั้น จึงจำกัดไขมันทั้ง 2 ชนิดรวมกัน
ในการกินอาหารไม่ควรเกิน 30% ของพลังงานที่ร่างกายได้รับทั้งหมดต่อวัน
และให้จำกัดไขมันชนิดอิ่มตัวให้มากที่สุด

โพแทสเซียม (Potassium)
จะทำงานร่วมกับโซเดียมในการควบคุมสมดุลย์ของน้ำในร่างกาย
และช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ
ความเครียดอาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้
หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลย์
จะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป
ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ)
จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้
เหมือนกับการอดอาหารเป็นเวลานาน ท้องร่วงอย่างรุนแรง
โพแทสซียมตามธรรมชาติ ได้แก่ โยเกิร์ต ผลไม้รสเปรี้ยว
ผักชี กล้วย ลูกพีช มันฝรั่ง แคนตาลูป มะเขือเทศ ผักวอเตอร์เครส
ผักใบเขียวทุกชนิด สะระแหน่ เมล็ดทานตะวัน ถั่ว เป็นต้น
การกินโพแทสเซียมมากเกินไป จะทำให้ไตทำงานหนัก
ผู้ใหญ่ ต้องการโพแทสเซียมประมาณ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน
และห้ามเกิน18กรัมต่อวัน ในคนที่มีร่างกายปกติที่ไม่เป็นโรคไต
โรคจากการขาดโพแทสเซียม คือ
อาการบวมและภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (ไฮโปไกลซีเมีย)
สำหรับศัตรูของธาตุโพแทสเซียม
คือ น้ำตาล กาแฟ แอลกอฮอล์ และยาขับปัสสาวะ
ประโยชน์ของโพแทสเซียม
โพแทสเซียมช่วยควบคุมสมดุลย์ของน้ำในร่างกาย
และช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ
ช่วยลดความดันโลหิต
ช่วยรักษาภูมิแพ้
ช่วยให้มีสติปัญญา จิตใจร่าเริงแจ่มใสได้
โดยการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงที่สมอง
ช่วยกำจัดของเสียในร่างกาย
คำแนะนำในการรับประทานโพแทสเซียม
โพแทสเซียมในรูปแบบอาหารเสริม
มักพบได้ในรูปแบบของวิตามินรวมและแร่ธาตุรวม
เกลือโพแทสเซียมอินทรีย์ประกอบไปด้วย
กลูโคเนต ซิเทรต ฟูเมเรต และเกลือโพแทสเซียมอนินทรีย์
จะประกอบไปด้วย ซัลเฟต คลอไรด์ ออกไซด์ คาร์บอเนต
คุณสามารถหาซื้อแบบแยกเป็นโพแทสเซียม
ซิเทรต กลูโคเนต คลอไรด์ ได้ในขนาดประมาณ 600 mg.
ซึ่งจะมีโพแทสเซียมผสมอยู่ประมาณ 100 mg.
โดยรูปแบบที่แนะนำคือ ไกลซิเนตโพแทสเซียมซิเทรต
ยังไม่มีขนาดที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน
แต่โดยทั่วไปแล้วขนาดตั้งแต่ 1,600 – 2,000 mg.
ต่อวันถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับผู้ใหญ่ผู้ที่สุขภาพแข็งแรง
สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำและมีอาการอ่อนล้า
อาจเกิดจากการสูญเสียโพแทสเซียมเพราะกาแฟ
สำหรับผู้ที่ชอบกินของหวานและชอบดื่มแอลกอฮอล์
ระดับโพแทสเซียมในร่างกายอาจจะต่ำได้
สำหรับผู้ที่กำลังลดความอ้วน
ด้วยการกินข้าว(คาร์โบไฮเดรต)น้อย
จะส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในร่างกายลดลง
ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนล้าและตอบสนองช้า
แต่ถ้าโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไป
จะถูกไตขับออกมา ทำให้ไตทำงานหนัก
ผู้ที่เป็นโรคไต ต้องหลีกเลี่ยงการกินโพแทสเซียม
เพราะจะทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น

ระดับโพแทสเซียมปกติในเลือด 3.5 5.0 mmol/l
ระดับโพแทสเซียมต่ำในเลือด < 3.5 mmol/l
จะมีอาการ ซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว
ระดับโพแทสเซียมสูงในเลือด > 5.0 mmol/l
จะเกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

หน่วยวัดโพแทสเซียม
3.5 mEq/L (Milliequivalent/litre) หรือ 3.5 mmol/L (Millimole/litre)



ไม่มีความคิดเห็น: