วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562

การเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์สำหรับเมืองไทยระหว่างโมโนกับโพลี MONO POLY SOLAR CELL IN THAILAND





การเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์สำหรับเมืองไทยระหว่างโมโนกับโพลี MONO POLY SOLAR CELL IN THAILAND
17/4/2562 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
การเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์สำหรับเมืองไทยระหว่างโมโนกับโพลี MONO POLY SOLAR CELL IN THAILAND

แผงโซล่าเซลล์ (Solar panel หรือ Photovoltaics)
1 CELL ผลิตไฟได้ประมาณ 0.5V

ปัจจุบันจะแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.โมโนคริสทอลลีน ( Monocrystalline Silicon )
มีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20%

2.โพลีคริสทอลลีน ( Polycrystalline Silicon )
มีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 13-16%

3. เซลล์แสงอาทิตย์แบบไม่เป็นรูปผลึก (Amorphous silicon)
หรือเรียกว่า ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cell, TFSC)
มีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 7-13%
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่เป็นฟิล์มฉาบ


1.โมโนคริสทอลลีน ( Monocrystalline Silicon )
ผลึกเดี่ยว
เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่ทำมาจากผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si)
หรือเรียกว่า single crystalline (single-Si)
สังเกตุว่าจะเห็นแต่ละเซลล์เป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม
และมีสีเข้ม
เป็นชนิดที่ทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง
โดยเริ่มจากแท่งซิลิคอนทรงกระบอก
เกิดจากกระบวนการ กวนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลาง
ทำให้เกิดแท่งทรงกระบอก
จากนั้นจึงนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยม และลบมุมทั้งสี่ออก
เพื่อที่จะได้ประสิทธิภาพสูงสุด และลดการใช้วัตถุดิบโมโนซิลิคอนลง
โดยมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20%
    ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์โมโน
1. มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะผลิตมาจาก ซิลิคอนเกรดดีที่สุด
โดยมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20%
2. เหมาะสำหรับเมืองหนาวที่มีอากาศต่ำกว่าหรือเท่ากับ25*C
2. มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด ประมาณ 25 ปีขึ้นไป
  ข้อเสียของโมโนคริสทอลลีน
1. มีราคาสูง
2. ไม่เหมาะสำหรับเมืองร้อน

2 โพลีคริสทอลลีน (Polycrystalline Silicon)
 (polycrystalline,p-Si)
หรือเรียกว่า มัลติ-คริสทอลลีน (multi-crystalline,mc-Si)
แปลว่าหลายผลึก (Multicrystal) ทำให้ระบายความร้อนได้ดี
ทำมาจากผลึกซิลิคอน โดยทั่วไปเรียกว่า
โพลีคริสทอลลีน (polycrystalline, p-Si)
ในการผลิต จะนำเอาซิลิคอนเหลว มาเทใส่โมลด์ที่เป็นสี่หลี่ยม
ก่อนที่จะนำมาตัดเป็นแผ่นบาง
ทำให้เซลล์แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม
สีของแผงจะเป็นสีน้ำเงิน
โดยมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 13-16%
     ข้อดีของโพลี
1. มีขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ง่าย ไม่ซับซ้อน
ใช้ปริมาณซิลิคอนในการผลิตน้อยกว่า
2. ใช้งานในที่อุณหภูมิสูง ดีกว่า ชนิด โมโนคริสทอลลีน
ในการผลิตแผงโซล่าเซลล์จะมีการวัดค่าประสิทธิภาพ
การทำงานของแผงโซล่าเซลล์ของแต่ละชนิด
ณ อุณหภูมิใด อุณหภูมิหนึ่ง เช่น วัดค่ากันที่อุณหภูมิ 25 *C
ตัวอย่าง
อุณหภูมิคงที่ 25 *c
    แผงโพลี ขนาด 100w
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 80% คือ 80w/ช.ม.
    แผงโมโน ขนาด 100w
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 85% คือ 85w/ช.ม.

อุณหภูมิคงที่ 27 *c
    แผงโพลี ขนาด 100w
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 88% คือ 88w/ช.ม.
    แผงโมโน ขนาด 100w
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 75% คือ 75W/ช.ม.

อุณหภูมิคงที่ 23 *c
    แผงโพลี ขนาด 100w
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 75% คือ 75w/ช.ม.
    แผงโมโน ขนาด 100w
ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 90% คือ 90w/ช.ม.

จากตัวอย่าง ทั้งแผงโพลี และแผงโมโน
มีความสามารถผลิตกระแสไฟผันแปรตามอุณหภูมิเหมือนกัน
ส่วนที่ต่างกันคือ
    แผงโพลี ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 25 *C
ความสามารถผลิตกระแสไฟจะมากกว่า แผงโมโน
    แต่ถ้าแผงโพลี อุณหภูมิน้อยกว่าหรือเท่ากับ 25 *C
ความสามารถผลิตกระแสไฟจะน้อยกว่า แผงโมโน

ดังนั้นประเทศเมืองหนาว เช่น ยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น
จึงนิยมใช้แผงโซล่าเซลล์ชนิด Mono (โมโน)
เช่นโรงผลิตกระแสไฟฟ้าโซล่าเซลล์ต่างๆ ในเขตประเทศเมืองหนาว
แต่สำหรับเมืองไทย ซึ่งเป็นประเทศเขตร้อน
ต้องใช้แผงโพลี
เช่นโรงผลิตกระแสไฟฟ้าโซลาเซลล์ในเขตร้อน

3  เซลล์แสงอาทิตย์แบบไม่เป็นรูปผลึก หรือ Amorphous silicon
หรือเรียกว่า ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cell, TFSC)
(แผงโซล่าเซลล์ อะมอร์ฟัส เป็นหนึ่งในหลายชนิดของแบบฟิล์มบาง)
การผลิตโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cell, TFSC)
คือ การนำเอาสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงเป็นกระแสไฟฟ้า
มาฉาบเป็นฟิล์มหรือชั้นบางๆ ซ้อนกันหลายๆชั้น
จึงเรียกโซล่าเซลล์ชนิดนี้ว่า ฟิล์มบาง หรือ thin film
ซึ่งสารฉาบนี้ก็มีด้วยกันหลายชนิด
ชื่อเรียกของ แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง จึงแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุที่นำมาใช้ เช่น
 อะมอร์ฟัส Amorphous silicon (a-Si),
Cadmium telluride (CdTe),
Copper indium gallium selenide (CIS/CIGS)
และ Organic photovoltaic cells (OPC)

ประสิทธิภาพของ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบาง
มีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 7-13%
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่เป็นฟิล์มฉาบ
    ข้อดี ของแผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบาง
แผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบาง มีราคาถูกกว่า
เพราะสามารถผลิตจำนวนมากได้ง่ายกว่า ชนิดผลึกซิลิคอน
ในที่อากาศร้อนมากๆ แผงโซล่าเซลล์ ชนิด ฟิล์มบาง
มีผลกระทบน้อยกว่า
    ข้อเสีย ของแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง
แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง มีประสิทธิภาพต่ำ
การรับประกันสั้นกว่าชนิด ผลึกซิลิคอน

สรุป แผงโซล่าเซลล์ระหว่างโมโนกับโพลี
แผงโมโน เหมาะสำหรับเมืองหนาวที่มีอากาศต่ำกว่าหรือเท่ากับ25*C
แผงโพลี เหมาะสำหรับเมืองร้อนที่มีอากาศสูงกว่า >25*C
ดังนั้นประเทศไทยควรใช้เป็น โพลี
ยกเว้นพื้นที่หนาว

/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

       
 ความร้อนทำให้ประสิทธิภาพของแผ่นโซล่าเซลล์ลดลง
เช่น แผงโมโนและโพลี120W ชาร์จแบตเตอรี่ที่เมืองไทยเขตร้อน
 08.00น.
 โมโน3.0A   
 โพลี4.2A
>30*C
 10.30น.
 โมโน5.0A   
 โพลี6.4A
>40*C
 12.00น.
 โมโน4.9A   
 โพลี6.3A
   51*C




ไม่มีความคิดเห็น: