วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ไฟฟ้า #48 ทดสอบ3ยี่ห้อ ประหยัดไฟด้วยบัลลาส คลิปนี้ผิด ดูคลิปท้ายวีดีโอ ถอดบัลลาสออกประหยัดไฟกว่า22%


















ไฟฟ้า #48 ทดสอบ3ยี่ห้อ ประหยัดไฟด้วยบัลลาส คลิปนี้ผิด ดูคลิปท้ายวีดีโอ ถอดบัลลาสออกประหยัดไฟกว่า22%
4/7/2563 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE

คลิปนี้ผิด วัดแล้วกินไฟน้อยกว่า
แต่วัดด้วยมิเตอร์การไฟฟ้าจะกินไฟเพิ่มขึ้น
เพราะบัลลาสเป็นสนามแม่แหล็ก
ทำให้มีไฟสูญเสียในการสร้างสนามแม่เหล็ก
ทำให้ค่าPOWER FACTORหรือค่าตัวประกอบกำลังต่ำลง
คือต่ำกว่า1

ดูคลิป ไฟฟ้า #50 ถอดบัลลาสออกประหยัดไฟ22เปอร์เซ็น

                LED T8 แทนหลอด FLUORESCENT แบบสั้น 3ยี่ห้อ
บัลลาส
ใส่ / ไม่ใส่
  Philips    8W/800LM
   FSL
9W/900LM
  HAGI
9W/900LM
V ต้นทาง
234.7  / 234.5V
233.3  / 234.3V
235.1 / 234.6 V
กระแส
44.8   / 62.7 mA
52.3   /  78 mA
59.8   / 78.9 mA
V บัลลาส
67.26 / 0 V
74.87 /  0 V
72.78 / 0 V
แสง (LUX)
1090  / 1088
1307  /  1304
1194  / 1165
W บัลลาส
   3.013 W
  3.915 W
   4.352 W
W รวม
10.51 / 14.70 W
12.20 / 18.27 W
14.05 / 18.50 W
W หลอด
7.497 / 14.70 W
8.285 / 18.27 W
9.698 / 18.50 W
ใส่บัลลาส
แสงเพิ่มขึ้น
      2 LUX
    3 LUX
   29 LUX
แต่ในความจริง
มีบัลลาสแสงลด
ประมาณ5 LUX
 ประมาณ5 LUX
ประมาณ5 LUX

ใส่บัลลาส
ประหยัดไฟ
   39.86%
   49.75%
   31.67%
ใส่บัลลาสแสงลด

    0.41%
   0.41%
   0.41%
อุณหภูมิ
ห้อง / บัลลาส
  30.2 / 32.4 C
30.2 / 32.4 C
30.2 / 32.4 C

  ในตารางการใส่บัลลาสทำให้แสงเพิ่มขึ้น
แต่สังเกตุจากการวัด แสงจะค่อยๆลดลงเมื่อหลอดเปิดนานขึ้น

แก้ไข7/7/2563
คลิปนี้ บอกว่าใส่บัลลาสประหยัดไฟ ถือว่าผิดอย่างร้ายแรงครับ
ถ้าวัดไฟและกระแส ผลที่ได้คือ ไม่ถอดบัลลาสประหยัดไฟกว่า

ถ้าวัดไฟและกระแส ผลที่ได้คือ ไม่ถอดบัลลาสประหยัดไฟกว่า
แต่ถ้าวัดด้วยมิเตอร์การไฟฟ้า ถอดบัลลาสประหยัดไฟกว่า

เพราะบัลลาสเป็นตัวเหนี่ยวนำ(L) 

ดังนั้นเมื่อมีกระแสไหลผ่านL ก็จะเกิดสนามแม่เหล็ก

ส่วนพลังงานที่สร้างสนามแม่เหล็ก โหลดไม่ได้นำไปใช้งาน

แต่เราต้องจ่ายค่าไฟในส่วนนี้ด้วย เรียกว่า Reactive Power(VAR)

ส่วนที่โหลดนำไปใช้งาน เรียกว่า Active Power(W)

Reactive Power + Active Power = Apparent Power(VA)

Reactive Power จะเป็นตัวทำให้ค่าPower Factor ไม่เท่ากับ 1


โหลด R, L และ C มีผลอย่างไรต่อค่า Power Factor
โหลดที่เราใช้ในระบบไฟฟ้ามีหลายประเภท
แต่ละประเภทจะส่งผลต่อระบบไฟฟ้าต่างกัน
สามารถจำแนกโหลดพื้นฐานเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้คือ
Load ประเภท Resistive (R), Inductive (L) และ Capacitive  (C)

1. โหลดความต้านทาน (Resistive Load, R)
โหลดความต้าน เช่น หลอดไฟฟ้าแบบไส้ เตารีดไฟฟ้า
หม้อหุงข้าว เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น
โหลดเหล่านี้จะทำให้ค่า Power Factor เท่ากับ 1
คือ กระแสและแรงดันมีมุมเฟสทางไฟฟ้าเดียวกัน
ทำให้ไม่มีการใช้พลังงานรีแอคทีฟและไม่เกิดการสูญเสียพลังงานในระบบ

2.โหลดตัวเหนี่ยวนำ (Inductive Load, L)
โหลดตัวเหนี่ยวนำเป็นโหลดที่ทำให้ค่า Power Factor ไม่เท่ากับ 1 เช่น
มอเตอร์ บัลลาสต์ของหลอดฟลูออเรสเซน เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น 
กระแสที่สร้างขึ้นจะล้าหลังแรงดัน 90 ° เสมอหรือเกิดมุมทางไฟฟ้าต่างกัน (Phase-Shifted) กระแสตามหลังแรงดัน 90 °
ซึ่งหลายคนจะรู้จักโหลดประเภทนี้เป็นแบบ Power Factor Lagging (ล้าหลัง)

3 โหลดตัวเก็บประจุ (Capacitive Load, C)
โหลดตัวเก็บประจุจะทำให้ค่า Power Factor ไม่เท่ากับ 1 เช่นกัน
ส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมจะเป็น Capacitor Bank
โหลด C กระแสที่สร้างขึ้นจะนำหน้าแรงดันอยู่ 90 ° เสมอ
หรือเกิดมุมทางไฟฟ้าต่างกัน (Phase-Shifted)
กระแสนำหน้าแรงดัน 90 °
ซึ่งหลายคนรู้จักโหลดประเภทนี้เป็นแบบ Power Factor Leading (นำหน้า)




ไม่มีความคิดเห็น: