ไฟฟ้า #131
ไฟฟ้าบ้านกลับขั้วตายตอน2 เมนไม่ตัด คัทเอาท์ตัดไฟได้ปลอดภัย100เปอร์เซ็นท์ กลับได้2รูปแบบ
27/7/2564 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
ในคลิปใช้มิเตอร์การไฟฟ้า MITSUBISHI ขนาด15(45)A
จานหมุน400รอบ=1ยูนิท
ยูนิทละ4บาท
ไฟขณะยังไม่กลับขั้ว 236V
ถ้ากลับขั้ว ไฟรั่วลงดินประมาณ40A ไฟจะตกเหลือ228V
ไฟจะตกประมาณ8V ที่สายไฟTHWเบอร์10
(ถ้าใช้THWเบอร์16
ไฟจะแข็งขึ้น และกระแสจะสูงขึ้น)
ทำได้สูงสุดที่240V/5Ω
=กระแสรั่วลงดินสูงสุด48A
หลักดินที่ใช้ในการทดสอบ รู้ได้จากสูตร R=V/I
= 228.1V / 41.88A
= หลักดินที่ผมใช้ทดสอบก็จะมีค่า 5.44Ω
228.1V 41.88A จานหมุน10รอบ 9.22วินาที
227.3V 42.38A จานหมุน10รอบ 9.16วินาที
คิดคร่าวๆเป็น 10รอบ9วินาที
400รอบ = 360วินาที =1ยูนิท
1วันมี 86,400 วินาที =240ยูนิท
ยูนิทละ4บาท =เสียค่าไฟรั่วลงดินวันละ
960บาท
คิดคร่าวๆประมาณวันละ1,000บาท
ถ้า1เดือนหรือ30วัน ก็เสียค่าไฟรั่วลงดิน
ประมาณ30,000บาท
ถ้าเป็นมาตรฐานใหม่การไฟฟ้า
การกลับขั้วจะมี2รูปแบบ
1. กลับขั้วที่มิเตอร์การไฟฟ้า
2. กลับขั้วที่เมนเบรคเกอร์
รูปแบบที่1 กลับขั้วที่มิเตอร์การไฟฟ้า
จะมีอันตรายแฝง2อย่าง
1 จากสายดินที่มาจากบัสบาร์กราวด์ หรือสายดินการไฟฟ้า
จะกลายเป็น220V และทำให้เราต้องจ่ายค่าไฟรั่ววันละ1,000บาท
และถ้ามีใครโดนไฟดูดจากสายดินการไฟฟ้า
เมื่อสับเมนเบรคเกอร์ลงมาก็จะไม่ตัดสายดินการไฟฟ้า
ดังนั้นคนที่โดนไฟดูดก็ยังคงโดนไฟดูดต่อไป
แต่ถ้าใช้คัทเอาท์ต่อคุมหน้าตู้คอนซูมเมอร์
เมื่อเราสับคัทเอาท์
ก็จะตัดไฟทั้งหมดรวมถึงสายดินการไฟฟ้าด้วย
ทำให้คนโดนไฟดูดไม่โดนไฟดูดอีกต่อไป
2 จากเบรคเกอร์กันดูดลูกย่อยในตู้คอนซูมเมอร์
ลูกย่อยจะตัดสายไฟเส้นเดียว
ทำให้ไฟอีกเส้นสามารถวิ่งไปดูดเราได้
นั่นหมายความว่า ทุกครั้งที่กันดูดลูกย่อยตัด
อาจมีคนเสียชีวิต
ถ้ามีELCBตัวกันดูดที่ตัดไฟ2เส้นต่ออนุกรมอยู่ที่ปลายทาง
ถ้าELCBตัดก่อน
ก็ปลอดภัย
ถ้ากันดูดลูกย่อยตัดก่อน ตัวELCBก็ขาดไฟ1เส้นไม่สามารถทำงานได้
คนที่โดนไฟดูดก็เสียชีวิต
ถ้าใช้เมนกันดูดที่ตัดไฟ2เส้น
เมื่อมีคนโดนไฟดูดก็ไม่เสียชีวิตเพราะเมนกันดูดตัดไฟ2เส้น
รูปแบบที่2 กลับขั้วที่เมนเบรคเกอร์
จะมีอันตรายแฝง1อย่าง
1 จากเบรคเกอร์กันดูดลูกย่อยในตู้คอนซูมเมอร์
ลูกย่อยจะตัดสายไฟเส้นเดียว
ทำให้ไฟอีกเส้นสามารถวิ่งไปดูดเราได้
นั่นหมายความว่า ทุกครั้งที่กันดูดลูกย่อยตัด
อาจมีคนเสียชีวิต
ถ้ามีELCBตัวกันดูดที่ตัดไฟ2เส้นต่ออนุกรมอยู่ที่ปลายทาง
ถ้าELCBตัดก่อน
ก็ปลอดภัย
ถ้ากันดูดลูกย่อยตัดก่อน ตัวELCBก็ขาดไฟ1เส้นไม่สามารถทำงานได้
คนที่โดนไฟดูดก็เสียชีวิต
ถ้าใช้เมนกันดูดที่ตัดไฟ2เส้น
เมื่อมีคนโดนไฟดูดก็ไม่เสียชีวิตเพราะเมนกันดูดตัดไฟ2เส้น
การตรวจเช็คควรตรวจเช็คเมื่อใด
1 เมื่อมีการทำไฟนอกบ้านหรือในบ้าน
เช่นเมื่อมีการเปลี่ยนเสาไฟใหม่
หรือเรียกช่างมาซ่อมไฟภายในบ้าน
2 เมื่อมีไฟดับทุกครั้ง
3 เมื่อเราไม่อยู่บ้านหลายวัน หรือเป็นเวลานานๆ
4 เมื่อมีเหตุสงสัยอื่นๆ
การตรวจเช็ค ใช้ไขควงวัดไฟ
1
จิ้มไปที่โครงเหล็กของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่อสายดินการไฟฟ้า
หรือจิ้มไปที่รูกราวด์ของปลั๊กกราวด์3รู
ถ้ามีไฟขึ้นแสดงว่ามีการกลับขั้วแล้ว
2 สับหรือปิดเบรคเกอร์ลูกย่อยลงมา
แล้ววัดที่ปลั๊กกราวด์ที่ลูกย่อยนั้นคุมอยู่
ถ้ามีไฟขึ้นก็แสดงว่ามีการกลับขั้วแล้ว
ถ้าจิ้มที่รูกราวด์มีไฟขึ้นก็แสดงว่าเป็นการ
กลับขั้วแบบที่1 คือกลับขั้วที่มิเตอร์การไฟฟ้า
ถ้าจิ้มที่รูกราวด์ไม่มีไฟ
แต่จิ้มรูLNของปลั๊กแล้วมีไฟขึ้นรูใดรูหนึ่งหรือ2รู
ก็แสดงว่าเป็นการ
กลับขั้วแบบที่2 คือกลับขั้วที่เมนเบรคเกอร์