วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ไฟฟ้า #130 ไฟฟ้าบ้านกลับขั้วตาย สูญเงิน3หมื่น อันตรายแฝง2รูปแบบ ตัวกันดูดตัดตาย

 



ไฟฟ้า #130 ไฟฟ้าบ้านกลับขั้วตาย สูญเงิน3หมื่น อันตรายแฝง2รูปแบบ ตัวกันดูดตัดตาย

16/7/2564 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE

 

ถ้าใช้มิเตอร์การไฟฟฟ้าขนาด15(45)A

จานหมุน400รอบ=1ยูนิท ยูนิทละ4บาท

 

ไฟขณะยังไม่กลับขั้ว 236V บ้านผมอยู่ใกล้ไฟฟ้าแรงกลาง

ถ้ากลับขั้ว รั่วลงดินแล้วไฟจะตกประมาณ8V ที่สายไฟTHWเบอร์10

(ถ้าใช้เบอร์16 ไฟจะแข็งขึ้น และกระแสจะสูงขึ้น)

ทำได้สูงสุดที่240V/5 =48A

 

หลักดินที่ใช้ในการทดสอบ รู้ได้จากสูตร R=V/I

= 228.1V / 41.88A

= หลักดินที่ผมใช้ทดสอบอยู่ที่ 5.44

 

228.1V 41.88A 10รอบ 9:22วินาที

227.3V 42.38A 10รอบ 9:16วินาที

 

คิดคร่าวๆเป็น 10รอบ9วินาที

400รอบ = 360วินาที =1ยูนิท

1วันมี 86,400 วินาที  =240ยูนิท

ยูนิทละ4บาท =เสียค่าไฟรั่วลงดินวันละ 960บาท

คิดคร่าวๆประมาณวันละ1,000บาทต่อวัน

ถ้า1เดือน30วัน ก็เสียค่าไฟรั่วลงดิน ประมาณ30,000บาท

 

ถ้าเป็นมาตรฐานใหม่การไฟฟ้า

อันตรายแฝงจากกการกลับขั้วไฟจะมี2แบบ

1 จากสายดินที่มาจากบัสบาร์กราวด์

จะกลายเป็น220V

2 จากเบรคเกอร์กันดูดลูกย่อยในตู้คอนซูมเมอร์

ลูกย่อยจะตัดสายไฟเส้นเดียว ทำให้ไฟอีกเส้นสามารถวิ่งไปดูดเราได้

นั่นหมายความว่า ทุกครั้งที่กันดูดลูกย่อยตัด อาจจะมีคนเสียชีวิต

 

ถ้าเป็นมาตรฐานเก่าการไฟฟ้า

อันตรายแฝงจากกการกลับขั้วไฟจะมี1แบบ

1 จากเบรคเกอร์กันดูดลูกย่อยในตู้คอนซูมเมอร์

ลูกย่อยจะตัดสายไฟเส้นเดียว ทำให้ไฟอีกเส้นสามารถวิ่งไปดูดเราได้

นั่นหมายความว่า ทุกครั้งที่กันดูดลูกย่อยตัด อาจจะมีคนเสียชีวิต

 

มาตรฐานเก่ากับมาตรฐานใหม่ แบบไหนดีกว่ากัน

ความคิดผมวันนี้16/7/2564

  ถ้ามาตรฐานใหม่ จะมีการเตือนการกลับขั้ว เช่น

มิเตอร์หมุนเร็วมาก ค่าไฟสูงกว่าปกติ

ถ้าสัมผัสหลังเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยบังเอิญ แต่พื้นปูนแห้งเท้าแห้ง

เราก็จะสะดุ้ง แล้วใช้ไขควงวัดไฟก็จะมีแสงขึ้น

ทำให้รู้ว่ามีการกลับขั้ว หรือมีความผิดปกติ

แต่ทุกครั้งที่กันดูดลูกย่อยตัด อาจจะมีคนเสียชีวิต

แต่ถ้าสัมผัสหลังเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องทำน้ำอุ่น

ตัวกันดูดจะไม่ตัด เพราะตัวกันดูดตรวจสอบไฟรั่วของสายดินไม่ได้

  ถ้ามาตรฐานเก่าจะไม่มีสิ่งบอกเหตุ จากการกลับขั้ว

นั่นหมายความว่า ทุกครั้งที่กันดูดลูกย่อยตัด อาจจะมีคนเสียชีวิต     

แต่ถ้าใช้เป็นเมนกันดูดตัดไฟ2ขั้วแทน

ก็จะปลอดภัยจากการกลับขั้วทางเข้าตู้คอนซูมเมอร์หรือที่มิเตอร์การไฟฟ้า

 

การตรวจเช็คควรตรวจเช็คเมื่อใด

1 เมื่อมีการทำไฟภายในบ้าน

2 เมื่อมีไฟดับ

3 เมื่อเราไม่อยู่บ้าน เป็นเวลานานๆ

4 เมื่อมีเหตุสงสัยอื่นๆ

การตรวจเช็คดูที่สารบัญใต้คลิปครับ

 


ไม่มีความคิดเห็น: