วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ซ่อมย่านX1มิเตอร์เข็มSANWA-YX361TR




ซ่อมย่านX1มิเตอร์เข็มSANWA-YX361TR
16/5/2557 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
ซ่อมย่านX1มิเตอร์เข็มSANWA-YX361TR

ทดลองโดยการตั้งย่านวัดX1
เอาสายวัดสีแดงและสีดำ
แหย่เข้าไปในปลั๊กไฟAC 220V
มีเสียงดังปุ๊กไฟแลปเข็มไม่ขึ้น

เสร็จแล้วเอาสายวัดสีแดงและสีดำ
ออกมาจากปลั๊กไฟAC 220V
จากนั้นเอาสายวัดสีแดงกับสีดำแตะกัน
ปรากฏว่าเข็มไม่ขึ้นแสดงว่าฟิวส์ขาด

ลำดับเหตุการณ์ตอนขาด
ก่อนอื่นต้องมารู้จักธรรมชาติของไฟก่อน
ไฟจะไหลไปที่ความต้านทานต่ำกว่า
จนกว่าจะได้กระแส
ตามที่ความต้านทานต่ำจำกัดกระแสไว้หรืออิ่มก่อน
ไฟจึงสามารถไหลไปที่ความต้านทานสูงกว่าได้

ไฟAC 220V (ไม่คำนึงขั้ว)
เข้าสายวัดสีดำผ่านRค่า19โอมห์
ผ่านเข้าซีเลคเตอร์ย่านX1
ออกซีเลคเตอร์
ผ่านเข้าขั้ว+ออกขั้วลบถ่าน3โวลท์
ผ่านฟิวส์ออกสายวัดสีแดงครบวงจร

ในกรณีนี้ไฟAC 220V ผ่านRค่า19โอมห์
ผ่านถ่าน3โวลท์ ผ่านฟิวส์250V/0.5A
ถ่าน3โวลท์ไม่มีสิทธิ์เสีย
เพราะฟิวส์กับRค่า19โอมห์จะขาดก่อนที่ถ่านจะพัง
สาเหตุที่ฟิวส์ขาดเพราะกระแสไหลเกิน0.5A
ทำให้เกิดความร้อนสูงจนไหม้ขาด
ส่วนRค่า19โอมห์ก็เช่นกัน
ถ้าเกิดความร้อนถึงจุดหนึ่งจะขาดหรือยืดค่า

แต่ในSANWA-YX361TRของแท้จะมีอีก1เส้นทาง
ที่ต้องควรรู้ในกรณีที่ซ่อมแล้วย่านวัดโอมห์ X1
ซีโร่โอมห์แล้วเข็มไม่ขึ้น
นั่นเป็นเพราะไดโอดที่ทำหน้าที่โปรเทคชอต
ถ้าไดโอดโปรเทคชอต
เวลาซีโร่โอมห์(เอาสายดำแดงแตะกัน)
ก็เท่ากับเอาถ่าน3โวลท์ขั้ว+กับขั้ว-ชอตกันนั่นเอง
ทำให้ไฟถ่าน3โวลท์เหลือ0โวลท์
ดังนั้นเวลาซีโร่โอมห์เข็มมิเตอร์จึงไม่ขึ้น
หรือขึ้นเล็กน้อย

ลองวัดกระแสที่สายแดงและสายดำ
ของมิเตอร์เข็มได้ประมาณ.0.84A
ถ่าน3โวลท์ที่ใช้จ่ายกระแสสูงสุดที่0โวลท์3A
แต่มีโอมห์จากฟิวส์และไดโอดโปรเทคที่ชอต
และถ่านก็ใช้ไปบ้างแล้วเลยเหลือแค่0.84A

เส้นทางเริ่มที่
ไฟACเข้าสายวัดสีดำก็จะวิ่งไปที่ความต้านทานต่ำกว่าก่อน
ในกรณีที่Rค่า19โอมห่ยืดหรือขาดไปแล้ว
ไดโอดโปรเทคจึงมีความต้านทานต่ำกว่า
ไฟACจึงผ่านไดโอดโปรเทค
ผ่านเข้าซีเลคเตอร์แล้วออกซีเลคเตอร์
ผ่านเข้าขั้ว+ออกขั้วลบถ่าน3โวลท์
ผ่านฟิวส์ออกสายวัดสีแดงครบวงจร
ทำให้ไดโอดโปรเทคชอตจากนั้นฟิวส์ก็ขาด

ในส่วนไดโอดโปรเทคจะมีความต้านทาน
มากกว่า19โอมห์ดังนั้นไดโอดโปรเทคจึงไม่ค่อยเสีย
เพราะไฟจะวิ่งเข้าไปที่Rค่า19โอมห์ที่ต่ำกว่าแทน
แล้วฟิวส์250V/0.5Aก็จะขาดก่อน
ทำให้ไฟACไม่สามารถเข้าไปได้อีกต่อไป
ไดโอดโปรเทคจึงไม่เสีย

แต่ในกรณีที่ใช้ฟิวส์สูงกว่า0.5A
ไดโอดโปรเทคก็มีสิทธิ์เสียสูงขึ้น
เพราะระยะเวลาในการขาดของฟิวส์จะนานขึ้น
ทำให้ไดโอดโปรเทคเสียร่วมด้วย

แต่ถ้าใช้ไดโอดโปรเทคเป็นเบอร์4148
ก็จะเสียร่วมด้วยกับRค่า19โอมห์
ถึงแม้จะใช้ฟิวส์250V/0.5AแบบมีCEรับรองก็ตาม
เพราะไดโอดเบอร์4148จะเปราะบางกว่า
ตัวสีดำที่ติดมากับมิเตอร์

ถอดด้านหลังมิเตอร์เข็มออก
เอามิเตอร์เข็มหรือดิจิตอลก็ได้มาวัดในวงจรที่ชอต
วัดขณะอุปกรณ์อยู่ในวงจร
1.วัดฟิวส์250V/0.5A ถ้าได้ประมาณ2.2โอมห์ไม่ขาด
ในกรณีนี้วัดโอมห์ไม่ขึ้นแสดงว่าขาดแล้ว
2.วัดRค่า19โอมห์2Wที่ต่ออยู่กับตำแหน่งย่านวัดX1
ถ้าวัดได้ประมาณ19โอมห์ไม่ขาด
ถ้าวัดได้50โอมห์แสดงว่ายืดหรือขาดแล้ว
ในการทดลองใช้ฟิวส์250V/0.5AแบบมีCEรับรอง
แล้วลองวัดไฟAC 220Vที่ย่านวัดX1
บางครั้งRค่า19โอมห์2Wไม่เสียบางครั้งเสีย
แต่ถ้าใช้Rค่า19โอมห์ครึ่งวัตต์
Rค่า19โอมห์จะขาดตลอด
3.วัดไดโอดโปรเทคจะเป็นตัวสีดำ
และมีสัญญลักษณ์บอกว่าเป็นไดโอด
ถ้าวัดแล้วได้ประมาณ0โอมห์แสดงว่าชอตเสียแล้ว
ให้เปลี่ยนเอาไดโอดเบอร์4148ใส่เข้าไปแทน
แต่ต้องใส่ให้ถูกขั้วเท่านี้ก็ใช้ได้แล้ว
แต่ไดโอด4148จะเปราะบางกว่าไดโอด
ตัวสีดำของเดิมที่อยู่ในเครื่อง
ดังนั้นเมื่อลองวัดไฟAC 220Vด้วยย่านวัดX1อีก
ก็จะเสียไดโอด4148ร่วมด้วยทุกครั้ง
เสียลักษณะชอต

คราวนี้มาลองคิดค่าวัตต์ของRค่า19โอมห์
ย่านวัด X1จะจ่ายโวลท์ออกมา3โวลท์
ผ่านRค่า19โอมห์
กระแสจะออกมาประมาณ 150MA
คิดได้จากสูตร I = V / R
3V / 19โอมห์ = 157.89mA
แต่กระแสจะออกมาไม่ถึง 157.89mA
เพราะเมื่อมีการใช้กระแสโวลท์ก็จะตกลง
ยิ่งใช้กระแสมากก็ยิ่งโวลท์ตกลงมาก

แสดงว่าRค่า19โอมห์ตัวนี้จะต้องใช้กี่วัตต์
สูตรหาค่าวัตต์ P = V * I
3V * 150MA = 450MW
ตามความจริงต้องเผื่ออย่างน้อยอีก1เท่าตัว
แต่ใช้แค่500MWเปรียบเสมือนไม่ได้เผื่อ
ค่านี้ก็เหลือเฟือแล้วเพราะ
เราใช้แค่ซีโร่โอมห์ให้เข็มขึ้นอยู่เลข0 แค่แป๊ปเดียว
จึงไม่เกิดความร้อนที่ตัวRจนทำให้Rยืดหรือขาดได้
ดังนั้นRที่จะเปลี่ยนคือRค่า19โอมห์0.5Wก็พอแล้ว

สีของRค่า19โอมห์ คือ 5แถบสี
น้ำตาล ขาว ดำ ทอง น้ำตาล
น้ำตาล = 1
ขาว = 9
ดำ = 0
ทอง = คูณด้วย0.1
น้ำตาลตัวหลังสุด = ค่าความผิดพลาด1%

น้ำตาล ขาว ดำ = 190
ทอง=คูณด้วย0.1 หรือเลื่อนจุดทศนิยมลดลง1จุด
=190*0.1=19โอมห์
น้ำตาลตัวหลังสุด คือ ค่าความผิดพลาด1%
=Rตัวนี้ค่า 19โอมห์ ผิดพลาด1%
=19/100*1% = ความคลาดเคลื่อน 0.19
=ค่าขึ้นได้0.19 ลงได้0.19
หมายความว่าRตัวนี้
จะอยู่ในช่วง 18.81โอมห์ ~ 19.19โอมห์

ถ้าหาRค่า19โอมห์ไม่ได้ให้ใช้
Rค่า18โอมห์อนุกรมกับRค่า1โอมห์=19โอมห์
หรือRค่า20โอมห์ขนานกับ390โอมห์=19.02โอมห์
หลังจากได้Rมาแล้ว
ให้เอามิเตอร์ดิจิตอลวัดค่าความต้านทาน
ถ้าอยู่ในช่วง 18.81โอมห์ ~ 19.19โอมห์
ก็ใช้ได้แล้ว
เสร็จแล้วลองวัดโอมห์
ย่าน X1ค่าเที่ยงตรงเหมือนเดิม


1 ความคิดเห็น: