วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ไฟฟ้าบ้านเบื้องต้น ในชีวิตประจำวัน สิ่งที่ควรรู้ Electrical In everyday life Things to know










ไฟฟ้าบ้านเบื้องต้น ในชีวิตประจำวัน สิ่งที่ควรรู้ Electrical In everyday life Things to know
18/12/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
ไฟฟ้าบ้านเบื้องต้น ในชีวิตประจำวัน สิ่งที่ควรรู้ Electrical In everyday life Things to know

1991 Square D joining Schneider Electric
2011 The brand of Square D is becoming and fully operated under
Schneider Electric worldwide brand

Square D กับ Schneider คือยี่ห้อเดียวกัน

ตู้คอนซูมเมอร์ มี2แบบ คือ แบบราง กับแบบPLUG ON
1 แบบราง จะต้องมีการติดรางตัวนำเพิ่ม หรือเรียกว่า BUSBAR LINE
เพื่อให้ เบรคเกอร์ย่อย มายึดติดกับBUSBAR LINEด้วยนัท
และถ้าขันนัทไม่แน่นก็จะเกิดความต้านทานระหว่างจุดสัมผัส
ทำให้เกิดความร้อน จนเกิดไฟไหม้ได้
ถ้าขันนัทหลวม ก็จะเกิดไฟแลบหรือสปาร์ค
ทำให้เกิดไฟไหม้ได้ เช่นกัน
และการติดตั้งยากกว่าแบบPLUG ON
ดังนันจึงไม่เป็นที่นิยมของช่าง
2 แบบ PLUG ON จะมีBUSBAR LINE อยู่ในตัวไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม
ด้านหลังเบรคเกอร์จะเป็นทองแดงลักษณะเป็นก้ามปู
สามารถนำเบรคเกอร์ย่อยเสียบเข้ากับบัสบาร์ไลน์(BUSBAR LINE)
ภายในตัวกล่องคอนซูมเมอร์ได้เลย
ทำงานสะดวกรวดเร็ว และที่สำคัญ เมื่อมีการกินกระแสมาก
ทำให้หน้าสัมผัสหลังเบรคเกอร์ที่เสียบร้อน
ก็จะทำให้เกิดการเกาะแน่นกับบัสบาร์มากยิ่งขึ้น
เนื่องจากออกแบบการเกาะติดแบบสนามแม่เหล็ก

เบรคเกอร์ก็จะมี2แบบคือ
1 เบรคเกอร์เมน = Main breaker
2 เบรคเกอร์ย่อย = Miniature Circuit Breaker
ทำหน้าที่พื้นฐานอย่างน้อยสุด2อย่าง คือ
1 ตัดเมื่อกระแสเกิน หรือ OVERLOAD เช่น
ถ้าสายไฟทนกระแสได้ที่ 10แอมป์
เบรคเกอร์ก็ต้องใช้ขนาด10แอมป์ ถ้าใช้ไฟเกินจาก10แอมป์
ก็จะทำให้เบรคเกอร์ตัด เพื่อป้องกันสายไฟไหม้นั่นเอง
2 ตัดเมื่อมีการลัดวงจร เช่น เรานำสายLine กับสายNeutral
มาจี้กัน เบรคเกอร์ก็จะตัดทันที
เพราะเวลาลัดวงจรกระแสจะพุ่งขึ้นหลักร้อยแอมป์เลยทีเดียว

เบรคเกอร์ที่ใช้ภายในบ้าน ต้องผ่านมาตรฐาน IEC 60898
เบรคเกอร์ที่ใช้ภายในโรงงาน ช่างสามารถซ่อมบำรุงได้
ก็จะต้องผ่านมาตรฐาน IEC 60947-2

ขนาดเบรคเกอร์ย่อย ใช้กับโหลดแบบต่างๆ
รูปแบบโหลดไฟฟ้า
 เบรคเกอร์-แอมป์
วงจร ไฟส่องสว่าง
    10-20
เต้ารับ
    16-20
เครื่องปรับอากาศ (BTU)

9000
10
12000
16
18000
20
24000
25
30000
32
36000
40
50000
50
60000
63
เครื่องทำความร้อน(Watt)

1800
10
2500
16
3500
20
4500
25
6000
32
9000
50


ระดับอันตรายจากกระแสไฟฟ้า ที่ไหลผ่านร่างกายมนุษย์
จากการทดสอบ ตามมาตรฐาน IEC60479-1
80mA - 1A
บาดเจ็บสาหัส,หัวใจล้มเหลว
AC4-3
50mA - 80mA
เนื้อเยื่อไหม้
AC4-2
40mA - 50mA
หายใจติดขัด,อวัยวะต่างๆยังไม่เสียหาย
AC4-1
10mA - 40mA
กล้ามเนื้อกระตุก แต่ยังไม่เป็นอันตราย
AC3
0.5mA - 10mA
รู้สึกว่าไฟรั่ว แต่ไม่เป็นอันตราย
AC2
0mA – 0.5mA
เริ่มรู้สึกว่าไฟรั่ว แต่ไม่เป็นอันตราย
AC1

คนที่มีผิวหนังหยาบความต้านทานจะสูง
ถ้าความต้านทานสูงมากอาจสัมผัสไฟได้โดยไม่เป็นอันตราย
คนที่มีผิวบางก็จะมีความต้านทานต่ำ
ถ้าสัมผัสไฟก็จะมีอันตรายมากกว่าคนที่มีผิวหยาบ
ส่วนการเสียชีวิตจะขึ้นอยู่กับกระแสไฟที่ไหลผ่าน
และระยะเวลาที่กระแสไหลผ่านตัวเรา

ถ้าในกรณีน้ำท่วมอุปกรณ์ไฟฟ้าเช่นปั๊มน้ำ
ระยะห่าง3เมตรขึ้นไปถือว่าปลอดภัย
ถ้าเข้าใกล้ปั๊มน้ำในระยะ3เมตรจะทำให้เสียชีวิตได้

ตัวป้องกันไฟดูดไฟรั่ว
มาตรฐานใหม่ IEC 61008
และ มอก.2425-2552
RCCB ตัดกระแสรั่ว แต่ไม่ตัดกระแสเกิน

มาตรฐานใหม่ IEC 61009
และ มอก.909-2548
RCBO ตัดกระแสรั่ว และตัดกระแสเกิน
ความเร็วในการตัด จะต้องไม่เกิน 0.04 วินาที (40 mS)

เชิญชมวีดีโอประกอบครับ!


ไม่มีความคิดเห็น: