วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พริก ตอน1 สรรพคุณพริก Chili properties



พริก ตอน1 สรรพคุณพริก Chili properties
1/5/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
พริก ตอน1 สรรพคุณพริก Chili properties

พริก
พริก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens L.
พริก
ภาษาอังกฤษ : Chili, Chilli Pepper
แต่ถ้าเป็นพริกขนาดใหญ่ๆ ที่มีรสอ่อนๆ
เราจะเรียกว่า Bell pepper, Pepper, Paprika, Capsicum เป็นต้น
โดยมีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้
มีการนำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นแล้ว

ความเผ็ดของพริกมาจากสารชื่อ แคปไซซิน” (Capsaicin)
ซึ่งจะมีอยู่มากใยบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว (คือส่วนเผ็ดมากที่สุด)
ส่วนเปลือกและเมล็ดนั้นจะมีสารนี้น้อย
ซึ่งคนทั่วไปเข้าใจผิดว่าส่วนเมล็ดและเปลือกคือส่วนที่เผ็ดที่สุด
และสารชนิดนี้จะทนทานต่อความร้อนและความเย็นสูงมาก
แม้จะนำมาต้มให้สุกหรือแช่แข็งก็ไม่ได้ทำให้ความเผ็ดสูญหายไป
โดยเราสามารถเรียงลำดับความเผ็ดของพริก
จากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้
คือ พริกขี้หนู > พริกเหลือง > พริกชี้ฟ้า > พริกหยวก > พริกหวาน เป็นต้น

หน่วยวัดความเผ็ดเดิมคือ สโควิลล์ (Scoville)
เป็นคำที่ตั้งขึ้นตามชื่อผู้คิดค้นวิธีการวัดระดับ
ซึ่งก็คือ วิลเบอร์ สโควิลล์ นักเคมีชาวอเมริกัน
โดยพริกขี้หนูสวนบ้านเราจะมีค่าอยู่ที่ 50,000-100,000 สโควิลล์
ส่วนพริกที่ได้รับการบันทึกลงในกินเนสส์บุ๊กว่าเผ็ดที่สุดในโลกก็คือ
พริกฮาบาเนโร วัดค่าได้ถึง 350,000 สโควิลล์หรือมากกว่า

พริกอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เช่น
วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินซี ธาตุแมกนีเซียม
ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ใยอาหาร เป็นต้น
โดยในพริก 100 กรัม จะมีวิตามินซีสูงถึง 144 มิลลิกรัมเลยทีเดียว

หากต้องการลดความเผ็ดร้อนของพริก
ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือพร้อมอาหาร
หรือน้ำอุ่น ส่วนน้ำเย็นลดเผ็ดไม่ได้
สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร
ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานพริก
เพราะอาจจะทำให้กรดไปกัดแผลในกระเพาะอาหารได้
และสำหรับเด็กและผู้สูงอายุที่มักจะสำลักง่าย
ก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเช่นกัน
และควรจะระวังพริกป่นตามร้านอาหาร
พริกซองที่อาจจะมีสารอะฟลาทอกซินปนอยู่
ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา
หากร่างกายได้รับอย่างต่อเนื่องจะเกิดการสะสม
จนกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด
ดังนั้นควรเลือกรับประทานพริกป่นที่สะอาด
ไม่มีเชื้อราและเปลี่ยนบ่อยๆ ทุกๆ 3 วัน
พร้อมทั้งการจัดเก็บในภาชนะที่แห้งและสะอาด

ประโยชน์ของพริก
1 พริก มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย
2 ช่วยให้อารมณ์ดี ทำให้ร่างกายสร้างสาร Endorphin (สารแห่งความสุข)
3 ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
4 วิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกาย
5 ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
6 ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหารยิ่งขึ้น
7 สารแคปไซซินช่วยให้เกิดอาการตื่นตัวของร่างกาย
8 ช่วยในการดีท็อกซ์ของร่างกาย
9 พริกช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ลดน้ำมูก และลดเสมหะ
10 ช่วยบรรเทาอาการไอ
11 ช่วยลดสารที่มากีดขวางระบบทางเดินหายใจ
อันเนื่องมาจากการเป็นไข้หวัด  ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ
12 ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน
13 ช่วยให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น
14 ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
และความเผ็ดของพริกมีส่วนช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้
15 ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเตอรอลในร่างกาย
ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดลดลง
16 ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด เส้นเลือดสมองอุดตัน
17 พริกช่วยในการสลายลิ่มเลือด
18 ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว
19 ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดให้ดียิ่งขึ้น
20 ช่วยลดความดันโลหิต
21 ช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง
ช่วยเพิ่มการยึดตัวของผนังหลอดเลือด
22 ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหาร
เพื่อการดูดซึมอาหารที่ดีขึ้น
23 สาร Capsaicin ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
24 ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสีย
และนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อในร่างกาย
25 ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ขับแก๊สในกระเพาะ
26 มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ
27 ช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆ
ในบริเวณจมูก ลำคอ ปอด เยื่อบุผนังช่องปาก
28 ช่วยไม่ให้เมือกเสียๆ มาจับตัวกันภายในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
29 บรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ เช่น อาการปวดฟัน เจ็บคอ
การอักเสบของผิวหนัง อาการปวดศีรษะ
ปวดเส้นเอ็น โรคเกาต์ ข้อต่ออักเสบ เป็นต้น
30 พริกช่วยกระตุ้นให้อยากอาหารมากขึ้น
31 ใช้ในการประกอบอาหาร ปรุงแต่งอาหาร
32 นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่น
พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก เครื่องแกง น้ำพริกต่าง ๆ
และผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค
33 เป็นอาวุธป้องกันตัวอย่างสเปรย์พริกไทย (ไม่ถือว่าเป็นอาวุธร้ายแรง)
34 ในด้านการแพทย์แผนจีนนำสารนี้มาใช้ประโยชน์เพื่อบำรุงพลังหยาง
35 ในด้านการแพทย์ได้มีการสกัดเอาสารแคปไซซินในพริกออกมา
ในรูปแบบครีมหรือเจล
ใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่ผิวหนัง เช่น
ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก งูสวัด เป็นต้น
36 ในด้านความงามจะใช้สารสกัดจากแคปไซซินมาสกัดเป็นเจล
เพื่อใช้ในการนวดลดเซลลูไลต์ สลายไขมัน

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://en.wikipedia.org/wiki/Chili_pepper

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)

เรียบเรียงสุดท้ายโดย ซ่อมMCU




ไม่มีความคิดเห็น: