วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พัดลมPROTECHไม่หมุนCแห้ง Do not rotate dry C fan



พัดลมPROTECHไม่หมุนCแห้ง Do not rotate dry C fan
8/5/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
พัดลมPROTECHไม่หมุนCแห้ง Do not rotate dry C fan

การซ่อมต้องใส่รองเท้า และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชีวิตได้

พัดลม12นิ้วยี่ห้อโปรเทค
อาการหมุนช้าก่อน แล้วต่อมาก็ไม่หมุน
ลองถอดตะแกรงครอบพัดลมออก
แล้วใช้มือหมุนพัดลมปรากฏว่าหมุนได้คล่องไม่ฝืด

ถอดฝาด้านล่างออก
สายไฟACเส้นหนึ่งจะต่อกับขั้วCคาปาซิเตอร์
และจะมีสายสีขาวต่อร่วมอยู่ด้วย
จุดนี้จะเรียกว่าสายมอเตอร์หลักหรือสายรัน

ส่วนไฟACอีกเส้นจะต่อเข้ากับสวิทช์

ส่วนขั้วCคาปาซิเตอร์อีกขั้วจะมีสายสีชมพูต่ออยู่
จุดนี้เรียกว่าสายสตาร์ท

ในการทำใช้มิเตอร์ดิจิตอลFLUKE115ในการวัดโอมห์
โดยจับที่สายสตาร์ทสีชมพูที่อยู่ตรงขั้วCคาปาซิเตอร์
เป็นหลัก
แล้ววัดที่ขดสตาร์ทขดที่1
ที่สวิทช์เบอร์1 ได้247.8โอมห์

แล้ววัดขดสตาร์ทขดที่1กับสตาร์ทขดที่2รวมกัน
ที่สวิทช์เบอร์2 ได้285.1โอมห์

แล้ววัดขดสตาร์ทขดที่1กับสตาร์ทขดที่2
กับสตาร์ทขดที่3รวมกัน
ที่สวิทช์เบอร์3 ได้322.6โอมห์

จากนั้นวัดคร่อมCคาปาซิเตอร์
เท่ากับวัดทั้ง4ขดรวมกัน ได้ 937โอมห์
แสดงว่าขดลวดทั้ง4ขดดี

สังเกตุว่าโอมห์จะค่อยๆสูงขึ้นเนื่องจากเป็นการวัดเพิ่มขด
ถ้าวัดแล้วเกิดโอมห์ต่ำลงที่ขดใดก็แสดงว่าขดนั้นชอตรอบ
ต้องทำการพันมอเตอร์ใหม่

จากนั้นลองวัดไฟคร่อมCคาปาซิเตอร์ได้230โวลท์
แสดงว่าCแห้ง
ถ้าของดีสำหรับรุ่น12นิ้วรุ่นนี้
จะต้องได้อย่างน้อยประมาณ245โวลท์

Cในรุ่นนี้ใช้ค่า1.2UF
บัดกรีเอาสายที่ขั้วCออก1เส้นจากนั้น
นำมิเตอร์ดิจิตอลFLUKE115ตั้งย่านไดโอดC
จากนั้นกดปุ่นเหลือง เป็นการวัดค่าC
วัดได้0.125UF(125nF) แสดงว่าCแห้ง

ใช้มิเตอร์เข็มตั้งย่านX10Kซีโร่โอมห์
วัดครั้งแรกเป็นการวัดแบบเก็บประจุเข็มจะตีขึ้นเท่าเดียว
เข็มตีขึ้นนิดเดียวประมาณเลข 500
จากนั้นสลับสายวัดเป็นการวัดแบบคลายประจุเข็มตีขึ้น2เท่า
ได้ประมาณเลข200
ค่าที่แท้จริงที่จะไปเทียบกับตารางวัดค่าCคาปาซิเตอร์
คือจาก2เท่าคือตีขึ้นเลข200 ลดเข็มลงมาครึ่งหนึ่งคือเลข500
ค่านี้มีค่าตามตารางวัดค่าCประมาณ0.1UF(100nF)
แสดงว่าCคาปาซิเตอร์แห้งแล้ว
แต่ไม่ได้ยินเสียงตืด ถ้าเป็นเครื่องซักผ้าจะได้ยินเสียงตืด

ไปซื้อCที่ร้านเทค บอกว่าค่านี้ไม่ได้ขาย
เพราะค่านี้สามารถใช้Cค่า1.5UFแทนได้เลข
ราคาตัวละ30บาท

แต่ของผมมีCค่า1.5UFของที่ใช้แล้ว
ผมลองวัดค่าได้1.25UF
ค่าลดลงมาเนื่องจากมีการใช้งานมาแล้ว
ใส่ได้พอดีเลยครับ

การใช้Cที่มีค่ามากกว่าอาจทำให้มอเตอร์ชอตรอบได้ง่าย
ควรใช้ค่าพอดีจะดีที่สุด
ถ้าใช้Cค่าต่ำกว่าที่กำหนดไว้ก็จะทำให้พัดลมหมุนช้าลง

ทางร้านบอกว่าใช้Cค่า1.5UFแทนได้
ผมไม่ได้ซื้อเพราะผมมีตัวเก่าที่ใช้แล้ว
ลองวัดดูด้วยมิเตอร์ดิจิตอลFLUKE115
ได้1.24UF ค่าลดลงมาประมาณ0.26UF ใช้ได้สบายครับ

ลองวัดด้วยมิเตอร์เข็มตั้งย่านX10K
ซีโร่โอมห์เพื่อความแม่นยำ
สายสีดำเป็นไฟบวก สายสีแดงเป็นไฟลบ
วัดครั้งแรกในกรณีไม่มีไฟอยู่ในC
จะเป็นการวัดแบบเก็บประจุ
เข็มจะขึ้นเท่าเดียว

จากนั้นสลับสายวัด
เนื่องจากการวัดครั้งแรกจะเป็นการวัดแบบเก็บประจุ
ทำให้Cมีไฟค้างอยู่
การวัดครั้งที่2จะเป็นการวัดแบบคลายประจุ
เข็มจึงตีขึ้น2เท่า

จากนั้นให้คำนวณเข็มลงมาอีกครึ่งหนึ่ง
แล้วเอาค่าตัวเลขไปเทียบกับตารางการวัดC

หากได้ค่าใกล้เคียงก็ใช้ได้แล้ว

การวัดด้วยมิเตอร์เข็มไม่สามารถวัดค่าลดได้
แต่วัดได้แค่ใกล้เคียงเท่านั้น

ถ้าจะวัดให้แม่นยำต้องวัดด้วยมิเตอร์ดิจิตอล

การใช้Cที่มีค่ามากกว่าอาจทำให้มอเตอร์ชอตรอบได้ง่าย
ควรใช้ค่าพอดีจะดีที่สุด
ถ้าใช้Cค่าต่ำกว่าที่กำหนดไว้ก็จะทำให้พัดลมหมุนช้าลง

ในกรณีเปลี่ยนCสตาร์ท
ถอดออกมาแล้วลืมว่าสายใดเป็นสายใด
ก็ให้ทำการวัดโอมห์ดังนี้

เอาสายมิเตอร์สีดำจับที่สายสีชมพูเป็นหลัก
สายมิเตอร์สีแดงจับที่สวิทช์เบอร์3
แล้วจำว่าได้กี่โอมห์
จากนั้นย้ายสายมิเตอร์สีแดงมาจับที่สวิทช์เบอร์2
ถ้าได้โอมห์ที่ต่ำกว่าก็แสดงว่าสายสีชมพูเป็นสายสตาร์ท
ถ้าได้โอมห์ที่สูงกว่า
ก็แสดงว่าสายสีชมพูเป็นสายมอเตอร์หลักหรือสายรัน

มิเตอร์ดิจิตอลFLUKE115 ตั้งย่านโอมห์
 วัดคร่อมC 1.2Uf สายสีขาวกับสายสีชมพูได้ 987 โอมห์
เป็นการวัดขดลวดทั้งหมด4ขดรวมกัน

 วัดขดสตาร์ทขดที่1
สายสีชมพูเป็นสายสตาร์ทอยู่ที่Cสตาร์ท
กับสายสวิทช์เบอร์1 ได้ 257.1โอมห์

 วัดขดสตาร์ทขดที่2
สายสวิทช์เบอร์1 กับสายสวิทช์เบอร์2 ได้ 39.4โอมห์

 วัดขดสตาร์ทขดที่3
สายสวิทช์เบอร์2 กับสายสวิทช์เบอร์3 ได้ 39.6โอมห์
ในความเป็นจริงโอมห์จะต้องค่อยๆลดลงตามลำดับ
แต่มิเตอร์ดิจิตอลFLUKE115
วัดขดสตาร์ทขดที่2น้อยกว่าขดสตาร์ทขดที่3
แสดงว่าวัดเพี้ยน
สาเหตุเป็นเพราะพัดลมรุ่น12นิ้ว
มีโอมห์ตกคร่อมCสูงประมาณ1Kโอมห์
ถ้าวัดพัดลมHATARIรุ่น16นิ้วจะวัดได้แม่นยำ
สาเหตุเพราะโอมห์ตกคร่อมCจะต่ำกว่า
คือประมาณ7ร้อยกว่าโอมห์ ทำให้คลายประจะได้ทัน
ถ้าCมีไฟตกค้างมากก็จะวัดเพี้ยนมาก
ถ้าCมีไฟตกค้างน้อยก็จะวัดเพื้ยนน้อย
 การวัดในวงจรมิเตอร์เข็มจะวัดได้แม่นยำ
เพราะภายในตัวมิเตอร์เข็ม
จะใช้โอมห์ต่ำกว่ามิเตอร์ดิจิตอลมาก

 วัดขดมอเตอร์หลัก(ขดรัน)
สายสวิทช์เบอร์3 กับสายมอเตอร์หลัก(สายรัน)
คือสายสีขาวที่Cสตาร์ท(สังเกตุมีสายไฟACต่อร่วมอยู่ด้วย)
ได้ 638โอมห์ บางครั้งวัดได้661โอมห์ไม่แน่นอน
เพราะCมีไฟตกค้างจากการวัด

ถ้าวัดได้แบบนี้แสดงว่าขดลวดดีทั้ง4ขด

โอมห์ที่ขดมอเตอร์หลัก(ขดรัน)
ถ้าโอมห์ยิ่งต่ำยิ่งมีกำลัง จะใช้กับพัดลมที่ใหญ่ขึ้น
แต่กินกระแสมากขึ้นและทำให้เสียเร็วขึ้น

มิเตอร์เข็ม ตั้งย่านX10แล้วซีโร่โอมห์
 วัดคร่อมC 1.2Uf สายสีขาวกับสายสีชมพูได้ 1.2K โอมห์
เป็นการวัดขดลวดทั้งหมด4ขดรวมกัน

 วัดขดสตาร์ทขดที่1
สายสีชมพูเป็นสายสตาร์ทอยู่ที่Cสตาร์ท
กับสายสวิทช์เบอร์1 ได้ 280โอมห์

 วัดขดสตาร์ทขดที่2
สายสวิทช์เบอร์1 กับสายสวิทช์เบอร์2 ได้ 41โอมห์

 วัดขดสตาร์ทขดที่3
สายสวิทช์เบอร์2 กับสายสวิทช์เบอร์3 ได้ 40.8โอมห์
สังเกตุดูโอมห์จะต้องค่อยๆลดลงตามลำดับ
แต่มิเตอร์ดิจิตอลFLUKE115
วัดขดสตาร์ทขดที่2น้อยกว่าขดสตาร์ทขดที่3
แสดงว่าวัดเพี้ยน
สาเหตุเป็นเพราะพัดลมรุ่น12นิ้ว
มีโอมห์ตกคร่อมCสูงประมาณ1Kโอมห์
ถ้าวัดพัดลมHATARIรุ่น16นิ้วจะวัดได้แม่นยำ
สาเหตุเพราะโอมห์ตกคร่อมCจะต่ำกว่า
คือประมาณ7ร้อยกว่าโอมห์ ทำให้คลายประจะได้ทัน
ถ้าCมีไฟตกค้างมากก็จะวัดเพี้ยนมาก
ถ้าCมีไฟตกค้างน้อยก็จะวัดเพื้ยนน้อย
 การวัดในวงจรมิเตอร์เข็มจะวัดได้แม่นยำกว่า
เพราะภายในตัวมิเตอร์เข็ม
จะใช้โอมห์ต่ำกว่ามิเตอร์ดิจิตอลมาก

 วัดขดมอเตอร์หลัก(ขดรัน)
สายสวิทช์เบอร์3 กับสายมอเตอร์หลัก(สายรัน)
คือสายสีขาวที่Cสตาร์ท(สังเกตุมีสายไฟACต่อร่วมอยู่ด้วย)
ได้ 700โอมห์

ถ้าวัดได้แบบนี้แสดงว่าขดลวดดีทั้ง4ขด

โอมห์ที่ขดมอเตอร์หลัก(ขดรัน)
ถ้าโอมห์ยิ่งต่ำยิ่งมีกำลัง จะใช้กับพัดลมที่ใหญ่ขึ้น
แต่กินกระแสมากขึ้นและทำให้เสียเร็วขึ้น

รุ่นนี้ใช้Cสตาร์ท ค่า1.2Uf
วัดด้วยมิเตอร์ดิจิตอลFLUKE115
ตั้งเป็นย่านVAC การวัดไม่ต้องคำนึงถึงขั้ว
เสียบไฟบ้าน220VAC
  กดสวิทช์เบอร์1  วัดCได้ 244.6VAC
ถ้าเป็นHATARI 18นิ้ว จะได้ 328VAC
  กดสวิทช์เบอร์2  วัดCได้ 248VAC
ถ้าเป็นHATARI 18นิ้ว จะได้ 357VAC
  กดสวิทช์เบอร์3  วัดCได้ 252.5VAC
ถ้าเป็นHATARI 18นิ้ว จะได้ 368VAC
สังเกตุว่า โวลท์ของเบอร์3มากสุด
เบอร์2รองลงมา เบอร์3ต่ำสุด

ถ้าวัดได้อย่างนี้แสดงว่า Cดี
ขดลวดทั้ง4ขด คือสตาร์ทขดที่1,2,3
และขดลวดมอเตอร์หลัก(ขดรัน)ดี
สวิทช์ดี ทุกอย่างดี

สายสวิทช์เบอร์1สีเขียว เบอร์2สีเหลือง เบอร์3สีขาว
สายสตาร์ทต่ออยู่ที่ขั้วCสีชมพู

สายมอเตอร์หลัก(สายรัน)สีขาว
สังเกตุจะมีสายไฟACต่อร่วมอยู่ที่ขั้วCด้วย
สายสวิทช์เบอร์1 2 3เป็นสายคอมม่อนหรือสายร่วม

วัดไฟโดยการกดสวิทช์เบอร์1
สายมิเตอร์สีดำจับที่สายสวิทช์เบอร์1เป็นหลัก
สายสีแดงจับที่สายมอเตอร์หลัก(สายรัน)ได้228VAC
สายสีแดงย้ายไปจับที่สายสตาร์ทได้46VAC

วัดไฟโดยการกดสวิทช์เบอร์2
สายมิเตอร์สีดำจับที่สายสวิทช์เบอร์2เป็นหลัก
สายสีแดงจับที่สายมอเตอร์หลัก(สายรัน)ได้226VAC
สายสีแดงย้ายไปจับที่สายสตาร์ทได้57VAC

วัดไฟโดยการกดสวิทช์เบอร์3
สายมิเตอร์สีดำจับที่สายสวิทช์เบอร์3เป็นหลัก
สายสีแดงจับที่สายมอเตอร์หลัก(สายรัน)ได้224VAC
สายสีแดงย้ายไปจับที่สายสตาร์ทได้67.7VAC

ขดสตาร์ทขดที่2 และสตาร์ทขดที่3
จะทำหน้าที่2อย่าง
สมมุติว่ากดสวิทช์เบอร์2
สวิทช์เบอร์2จะเป็นสายคอมม่อนหรือสายร่วม
  เอาสายมิเตอร์จับที่สายสวิทช์เบอร์2เป็นหลัก
นำสายมิเตอร์อีกเส้นไปวัดที่สายมอเตอร์หลัก(สายรัน)
จะเป็นการวัดขดมอเตอร์หลักกับขดสตาร์ทขดที่3รวมกัน
ขดสตาร์ทขดที่3ในที่นี้ทำหน้าที่จำกัดกระแสให้มอเตอร์
  เอาสายมิเตอร์จับที่สายสวิทช์เบอร์2เป็นหลัก
นำสายมิเตอร์อีกเส้นไปวัดที่สายสตาร์ทสายสีชมพู
จะเป็นการวัดขดสตาร์ทขดที่1กับขดสตาร์ทขดที่2รวมกัน
ทำให้มีแรงไฟที่ขดสตาร์ทเพิ่มขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น: