วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พัดลมดิจิตอลHATARIไม่ติดวงจรช็อท HATARI digital fan no power short circuit



พัดลมดิจิตอลHATARIไม่ติดวงจรช็อท HATARI digital fan no power short circuit
11/5/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
พัดลมดิจิตอลHATARIไม่ติดวงจรช็อท HATARI digital fan no power short circuit

การซ่อมต้องใส่รองเท้า และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชึวิตได้

ถอดแผงวงจรพัดลมดิจิตอลออกมาตามแบบวีดีโอ
เสียบปลั๊กไฟแล้ววัดไฟAC220V
ที่แผงวงจรพัดลม ปรากฏว่ามีไฟมา230VAC
แสดงว่าไฟมาแล้ว

ดึงปลั๊กไฟออก
ตั้งย่านโอมห์วัดคร่อมที่ฟิวส์
ถ้าได้ประมาณ0.3โอมห์ ก็แสดงว่าฟิวส์ไม่ขาด

ดึงปลั๊กไฟออกก่อน
ตั้งย่านโอมห์
วัดสวิทช์     ON แล้วกดสวิทช์
ปรากฏว่าได้ 0.3โอมห์ แสดงว่าสวิทช์ดี

ถ้าได้โอมห์ไม่เกิน10โอมห์ก็แสดงว่าสวิทช์ดี

ดึงปลั๊กไฟออกก่อน
มองดูอุปกรณ์ในวงจรปรากฏว่า
Rค่า100โอมห์3W ไหม้แตก แสดงว่าเสียแล้ว

มิเตอร์ดิจิตอลFLUKE115
ปรับไปย่านไดโอด
วัดไดโอดในวงจรทุกตัว
ของดีต้องวัดได้ประมาณ0.5โวลท์
มีอยู่1ตัววัดได้ ประมาณ 0.9โวลท์
ถ้าถอดออกมาวัดอาจจะขาดก็ได้
เพราะการวัดในวงจรจะมีโอม์อยู่ด้วย

ใช้หัวแร้งจี้เอาตัวเสียออกมา

ดึงปลั๊กไฟออกก่อน

การวัดในวงจร
การวัดด้วยมิเตอร์ดิจิตอลจะมีความผิดพลาด
เพราะถ้ามีไฟตกค้างอยู่ในวงจร
ก็จะทำให้การวัดผิดพลาดทันที
ส่วนมิเตอร์เข็มจะวัดได้เที่ยงตรงไม่ผิดพลาด
ส่วนการขึ้นของตัวเลขจะมากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับมิเตอร์แต่ละยี่ห้อจะไม่เท่ากัน

มิเตอร์เข็มSANWAรุ่นYX-361
ตั้งย่านX10 ซีโร่โอมห์ให้เรียบร้อย
สายสีแดงเป็นไฟลบ
สายสีดำเป็นไฟบวก
สายสีแดงจับไปที่ขั้วคาโทด
สายสีดำจับไปที่ขั้วแอโหนด
ได้ประมาณเลข6 ทุกตัว
ส่วนตัวที่วัดด้วยมิเตอร์ดิจะตอลแล้วยืดหรือขาด
เมื่อมาวัดด้วยมิเตอร์เข็มในกรณีนี้ได้ประมาณเลข5
ซึ่งเป็นโอมห์ต่ำกว่าไดโอดที่ดี
แสดงว่าเป็นการวัดโอมห์ในวงจร
ไม่ได้เป็นการวัดไดโอด

แก้ไขโดยตั้งไปย่านX1 ซีโร่โอมห์ให้เป็น0
วัดได้ประมาณเลข8 ทั้งหมด
แสดงว่าไดโอดไม่มีเสีย ดีทั้งหมด

การวัดด้วยย่านX1
จะมีกระแสออกมามาก คือ 150MA
ถ้าย่านX10 จะมีกระแสออกมา 15MA

ดังนั้นการวัดด้วยย่านX1
เมื่อวัดไปเรื่อยๆจะต้องทำการซีโร่โอมห์ไปเรื่อยๆ
ถ้าไม่ การวัดจะขึ้นเลขที่มากขึ้น
เพราะถ่านอ่อนแรงลงเรื่อยๆนั่นเอง

ดึงปลั๊กไฟออกก่อน

แล้วนำRค่า100R2Wบัดกรีเข้าไป

ทันทีที่เสียบปลั๊กไฟ
ก็มีไฟลุกขึ้นที่Rค่า100R2Wที่เปลี่ยนเข้าไป
แสดงว่ายังมีตัวช็อทอยู่

ตามความเป็นจริงแล้ว
น่าจะนำมิเตอร์ตั้งย่านโอมห์จับที่Cมีขั้วทุกตัว
ถ้ามีโอมห์ต่ำเกือบ0โอมห์ก็แสดงว่ามีตัวช็อทอยู่นั่นเอง

แล้วไล่วงจรจากตัวCที่วัดได้โอมห์ต่ำ
ดูว่าช็อทที่ตัวอะไร
การวัดโอมห์ต้องดึงปลั๊กไฟออกก่อน

ดึงปลั๊กไฟออกก่อน

ไล่วงจรจากไฟACผ่านR100R2W
ผ่านไดโอด4007ขั้วแอโหนดผ่านคาโทด
ไฟบวกผ่านออกมาได้แต่ไฟลบจะไม่สามารถผ่านได้
มาเก็บประจุที่Cมีขั้ว
แล้วผ่านL มาเข้าที่ขา5ของไอซีLNK302PN
ขา5คือขาเดรนD

ลอยขา5ขาเดรนออก
จากนั้นวัดขา5ที่ลอยออกเทียบกับกราวด์
ปรากฏว่าได้โอมห์ต่ำประมาณ1.4โอมห์
แสดงว่าช็อทแล้ว

สาเหตุที่ช็อทก็เกิดจากCมีขั้วค่าลดลง
ทำให้เกิดความถี่สูงกว่าปกติ
จนไอซีLNK302PN ช็อท
ทำให้R100R2Wไหม้ไปในที่สุด

ดึงปลั๊กไฟออกก่อน

ใช้หัวแร้งกับที่ดูดตะกั่ว
ทำการถอดไอซีLNK302PN ออก

เวลาซื้อบอกทางร้านว่าLNK302
LNK302เป็นรุ่นต่ำที่สุดแล้ว
สามารถเอาเบอร์สูงกว่าใส่ได้
คือเบอร์ LNK304, LNK305, LNK306
แทนได้ แต่ราคาจะแพงกว่าครับ

ดึงปลั๊กไฟออกก่อน

ใช้หัวแร้งกับที่ดูดตะกั่ว
ทำการถอดCคาปาซิเตอร์ออกมาวัดทุกตัว

มีC ทั้งหมด4ตัวคือ
100UF16V 1ตัว ค่าลดเหลือ96UF
4.7UF400V 2ตัว ค่าลดเหลือ4.53UF
10UF25V 1ตัว วัดได้ปกติไม่ต้องเปลี่ยน

ตัวเสียทั้งหมดคือ
100UF16V 1ตัว ค่าลดเหลือ96UF
4.7UF400V 2ตัว ค่าลดเหลือ4.53UF

R100R2W ไหม้ขาด

LNK302PN ช็อทขาD กับSOURCE

ดึงปลั๊กไฟออกก่อน

ตัวเสียทั้งหมดคือ
100UF16V 1ตัว ค่าลดเหลือ96UF
4.7UF400V 2ตัว ค่าลดเหลือ4.53UF

R100R2W 1ตัว ไหม้ขาด

LNK302PN ช็อทขาD กับSOURCE

ทำการใส่ตัวใหม่เข้าไปแล้วบัดกรี
เสร็จแล้วทดลองเปิด
กดปุ่มON/SPEED
พัดลมทำงานหมุนได้แล้ว
แต่สวิทช์กดติดบ้างไม่ติดบ้าง
ต้องทำการซ่อมสวิทช์ต่อไป

ดึงปลั๊กไฟออกก่อน

เขย่าน้ำมันSONAX ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันก่อน
จากนั้นฉีดน้ำมันSONAX
เข้าไปที่สวิทช์แล้วกดสวิทช์100ครั้ง
ทำ3เที่ยวสวิทช์ก็จะใช้ได้แล้ว

ในกรณีที่ยังใช้ไม่ได้
ให้ทำขั้นตอนซ้ำอีกจนใช้ได้
ถ้ายังใช้ไม่ได้อีกก็ต้องเปลี่ยนสวิทช์

เมื่อกดปุ่มON/SPEEDแล้ว
ไปกดปุ่มTimerทันที จะไม่สามารถกดได้
ต้องรอจนไฟหรี่ลงจึงจะสามารถกดปุ่มTimerได้

ดึงปลั๊กไฟออกก่อน

ร้านอะไหล่อิเลคทรอนิคส์ทั่วไป
สายไฟ16นิ้วยาว2เมตร ราคา30บาท
สายไฟ18นิ้วยาว3เมตร ราคา35บาท

ของศูนย์HATARI
สั่งซื้อได้ที่ห้างที่มีพนักงานHATATRIประจำอยู่
สายไฟ16นิ้วยาว2.2เมตร ราคา35บาท
สายไฟ18นิ้วยาว3.3เมตร ราคา55บาท

ดึงปลั๊กไฟออกก่อนเพื่อความปลอดภัย

C หรือ คาปาซิเดอร์
เมื่อใช้งานไปนานๆก็จะค่าลดเป็นเรื่องธรรมดาของพัดลม
HATARI 16นิ้วใช้ Cค่า1.5UF
HATARI 18นิ้วใช้ Cค่า1.8UF

ถอดจุกส่ายออกโดยการขันสกรูออก
ถอดน็อทตัวครอบมอเตอร์ออก
แล้วถอดตัวครอบมอเตอร์ออกมา

บัดกรีสายไฟคาปาซิเตอร์ออก1ข้าง
วัดCค่า1.5uF ได้0.93uFหรือ930Nf
ค่าลดต้องเปลี่ยนไม่งั้นจะเกิดอาการหมุนเบา

จากนั้นทำการเปลี่ยนCตัวใหม่เข้าไป
เวลาบัดกรีสายเข้าไปไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงขั้ว
เพราะเป็นCแบบAC
และจะต้องทำการฉีดน้ำมันจักรเข้าไปในบู๊ท
ที่บู๊ทจะมีแผ่นซับน้ำมันเพื่อเก็บน้ำมันไว้ให้ได้ยาวนานขึ้น

หลังจากทำการฉีดน้ำมันโซแน็กส์
และทำการเปลี่ยนCแล้ว
ก็จะได้ความแรงของพัดลมเทียบเท่าตอนซื้อมาใหม่

ดึงปลั๊กไฟออกก่อนแล้วจึงทำการถอด
ขั้นตอนการถถอด
1 ถอดตะแกรงหน้า
2 ถอดตัวล็อคใบพัด เวลาถอดให้หมุนตามเข็มนาฬิกา
3 ถอดใบพัด
4 ถอดตัวล็อคตะแกรงหลัง
5 ถอดตะแกรงหลัง
แล้วจับพัดลมนอนลงแล้วหงายขึ้น
ฉีดน้ำมันจักรหรือน้ำมันโซแนกซ์
เข้าไปที่แกนเพลา
แล้วให้แรงดึงดูดของโลกช่วยดึงน้ำมันลงไปในบู๊ทหัว
และแผ่นซับน้ำมันที่อยู่กับบู๊ทหัว
บู๊ทหัวก็จะสวมอยู่ที่แกนเพลาที่ฉีดน้ำมันนั่นเอง
  หมุนแกนเพลาเพื่อให้น้ำมันไหลไปทั่ว
ให้น้ำมันไหลได้คล่องขึ้น

จากนั้นถอดจุกส่ายออก
ถอดตัวครอบมอเตอร์ออก
จะเห็นมีร่องระหว่างรอยต่อโครงอลูมิเนียม
กับเฮ๊าซิ่งตัวส่าย(โครงตัวส่าย)

ใช้น้ำมันโซแนกซ์ฉีดเข้าไปในร่องนั้น
แล้วให้แรงดึงดูดของโลกช่วยดึงน้ำมันลงไปในบู๊ทท้าย
และแผ่นซับน้ำมันที่อยู่กับบู๊ทท้าย
บู๊ทท้ายก็จะสวมอยู่ที่แกนเพลาตรงร่องที่ฉีดน้ำมันนั่นเอง
  หมุนแกนเพลาเพื่อให้น้ำมันไหลไปทั่ว
ให้น้ำมันไหลได้คล่องขึ้น

ให้ฉีดซ้ำแบบนี้อีกรอบ
เท่ากับฉีดบู๊ทหัว2รอบ
ฉีดบู๊ทท้าย2รอบ
เพื่อให้น้ำมันเข้าไปที่แผ่นซับน้ำมันที่อยู่ตรงบู๊ทหัวท้าย
ได้มากที่สุด เพื่อการใช้งานได้นานขึ้น

หลังจากทำเสร็จแล้วสังเกตุว่าจะหมุนได้คล่องขึ้นมาก

ดึงปลั๊กไฟออกก่อนแล้วจึงทำการถอด

ขั้นตอนการเช็ค
1 ถอดตะแกรงหน้า
2 ถอดตัวล็อคใบพัด เวลาถอดให้หมุนตามเข็มนาฬิกา
3 ถอดใบพัด
4 ถอดตัวล็อคตะแกรงหลัง
5 ถอดตะแกรงหลัง

จากนั้นเอามือจับที่ปลายแกนเพลา
ดันเข้าให้สุดจะได้ประมาณ4มิลลิเมตร
ดึงออกให้สุดจะได้ประมาณ4มิลลิเมตร
ส่วนนี้ไม่เกี่ยวกับบู๊ทหลวม
เป็นการให้ตัวของพัดลมครับ

ให้ดึงแกนเพลาออกมาให้สุด
จากนั้นดันขึ้นของดีจะต้องไม่เกิน1มิลลิเมตร
จากนั้นดันลงของดีจะต้องไม่เกิน1มิลลิเมตร

แต่ตัวนี้ตันขึ้นได้ประมาณ2มิลลิเมตร
ตันลงได้ประมาณ2มิลลิเมตร
แสดงว่าหลวมแล้วแต่ไม่มาก
ก็ยังสามารถใช้งานได้ครับ

รุ่นนี้ทางHATARIใช้R100R3W
แต่Rค่า3Wหาซื้อยาก
ผมเลยใช้Rค่า2Wแทน
ดังนั้นจึงต้องทำการทดลอง
ว่าสามารถใช้ค่า2Wได้หรือไม่

ทดลองวัดอุณหภูมิ
โดยการเปิดพัดลมเบอร์3แรงสุด
จากนั้นใช้มิเตอร์ที่วัดอุณหภูมิ
ในที่นี้ใช้ มิเตอร์UNI-Tรุ่นUT71C
ตั้งไปย่าน Cองศาเซ็นเซียส
จากนั้นใช้สายโพรบวัดอุณหภูมิ
จี้ไปที่ตัวR100R2W
ตอนแรกวัดได้35.5องศาเซ็นเซียส
ผ่านไป5นาที วัดได้37.9องศาเซ็นเซียส
ถ้าอุณหภูมิระดับนี้สามารถใช้งานได้สบายมากครับ
ไม่มีการเสียเลยครับ

แต่ถ้าประกอบวงจรเข้าไป
อุณหภูมิก็จะสูงขึ้นอีก
เดาว่าน่าจะไม่เกิน50องศาเซ็นเซียส
ซึ่งอุณหภูมิระดับนี้สามารถใช้งานได้สบายมาก

ถ้าเป็นR2Wในทีวีจะร้อนเกือบ100องศาเซ็นเซียส
ก็ยังสามารถใช้งานได้หลายปีกว่าจะค่ายืดหรือขาด

ดึงปลั๊กไฟออกก่อน
จากนั้นก็ทำการประกอบ
และทำการทดลอง
ปรากฏว่าใช้ได้
เป็นอันจบการซ่อมแล้วครับ

ภาควงจรตัวเสียคือ
1 R100โอมห์3W ไหม้ เปลี่ยนเป็น2Wแทนได้
ผมได้ทำการวัดอุณหภูมิแล้ว
เปิดนาน15นาทีอุณหภูมิตัว R100โอมห์2W
ประมาณ39องศาเซ็นเซียส
Rตัวนี้ทำหน้าที่เป็นRฟิวส์
2 LNK302PN ช็อทขาD กับSOURCE
ถ้าไม่มีใช้ เบอร์ที่ทนกว่าใส่แทนได้
คือเบอร์ LNK304PN , LNK305PN , LNK306PN

กันการตีกลับของลูกค้า
เปลี่ยนCค่า 100uF16V 1ตัว
เปลี่ยนCค่า 10uF25V 1ตัว
ส่วนตัวผมเปลี่ยนหมดตามคลิปป้องกันการตีกลับ

มีC กระป๋องหรืออิเล็คทรอไลท์ ทั้งหมด4ตัวคือ
100uF16V 1ตัว ค่าลดเหลือ96uF
10uF25V 1ตัว วัดได้10uF
4.7uF400V 2ตัว ค่าลดเหลือ4.53uF
วัดค่าได้แบบนี้แสดงว่าCดีทุกตัว
เนื่องจากCแต่ละยี่ห้อจะผลิตค่ามาไม่เท่ากัน
และยังมีค่าความผิดพลาดทั้งตัวC
และมิเทอร์ดิจิทอลที่มาทำการวัด
ดังนั้น ผมก็จะถือว่าค่าที่วัดได้ด้านบนเป็นค่าปกติทั้งหมดครับ
  ส่วนCค่า4.7uF400V 2ตัว
ทำหน้าที่เป็นCกรองไฟเปรียบเสมือนเป็นแบทเทอรี่
ถ้าหากค่าลดเพียงเล็กน้อยก็ยังสามารถใช้งานต่อไปได้
ดังนั้น Cค่า4.7uF400V 2ตัว ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน
แต่ถ้าค่าลดมากๆก็จะทำให้ไอซีLNK302PNช็อทได้เช่นกัน
เนื่องจากถ้าค่าCลดจะทำให้ความถี่สูงขึ้นจนทำให้LNK302PNทนต่อไปไม่ได้นั่นเอง
  ส่วนCค่า100uF16V กับCค่า10UF25V
อาจมีตัวใดตัวหนี่งทำหน้าที่เป็นตัวถ่วงความถี่ไมให้สูงเกินไป
ถ้าหากค่าที่ตัวมันลดหรือไม่สามารถตอบสนองความถี่ได้
ก็จะทำให้ไอซี LNK302PN ช็อทได้
ดังนั้นถึงวัดค่าไม่ลดก็ควรเปลี่ยน
  บางทีอาจเสียที่ตัวไอซี LNK302PN เองก็ได้

ภาคพัดลม
1 น้ำมันจักรแห้ง
2 Cค่า1.5uF ค่าลด   
3 สายไฟชำรุด
4 ต้องเป่าฝุ่นที่มอเทอร์พัดลมด้วย
ในกรณีนี้มีฝุ่นมากทำให้พัดลมหมุนช้า
5 ซ่อมสวิทช์เลอะด้วยน้ำมันSONAX

เชิญดูวีดีโอประกอบครับ!






ไม่มีความคิดเห็น: