วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

หมุนช้าเสียงตืดมีกลิ่นไหม้ผ่าดูมอเตอร์พัดลมKASHIWA Fan Slow spin loud smell burn see motor



หมุนช้าเสียงตืดมีกลิ่นไหม้ผ่าดูมอเตอร์พัดลมKASHIWA Fan Slow spin loud smell burn see motor 
7/5/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
หมุนช้าเสียงตืดมีกลิ่นไหม้ผ่าดูมอเตอร์พัดลมKASHIWA Fan Slow spin loud smell burn see motor 

การซ่อมต้องใส่รองเท้า และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชึวิตได้

พัดลมรุ่นนี้เป็นพัดลมขนาด16นิ้ว
ใช้ไฟ220VAC/50HZ
กินกระแสไฟฟ้า 0.24 A
ใช้กำลังไฟฟ้า 55 W

ที่ขั้วCคาปาซิเตอร์
ขั้วที่มีไฟACต่อร่วมกับสายสีเทา
คือสายรันหรือสายมอเตอร์หลัก

ส่วนขั้วCคาปาซิเตอร์อีกขั้วคือสายสตาร์ทสายสีชมพู

สายสวิทช์เบอร์1 สีเขียว
สายสวิทช์เบอร์2 สีเหลือง
สายสวิทช์เบอร์3 สีขาว
สายรันหรือสายมอเตอร์หลัก คือสายสีเทาต่อกับขั้วC
สายสตาร์ท คือสายสีชมพูต่อกับขั้วC

มิเตอร์ตั้งย่านโอมห์
สายสีดำจับที่ขั้วCสายสีเทาเป็นหลัก
แล้วสายสีแดงจับที่สวิทช์เบอร์3 ได้ 410.6โอมห์
เป็นการวัดขดรันหรือขดมอเตอร์หลักขดเดียว

สายสีแดงจับที่สวิทช์เบอร์2 ได้ 498.8โอมห์
เป็นการวัดขดรันกับขดสตาร์ทขดที่3รวมกัน

สายสีแดงจับที่สวิทช์เบอร์1 ได้ 531โอมห์
เป็นการวัดขดรันกับขดสตาร์ทขดที่3
กับขดสตาร์ทขดที่2รวมกัน

สายสีแดงจับที่ขั้วCคาปาซิเตอร์
สายสีชมพู เป็นการวัดคร่อมC ได้ 521โอมห์
เป็นการวัดขดรันกับขดสตาร์ทขดที่3
กับขดสตาร์ทขดที่2กับขดสตาร์ขดที่1รวมกัน
ทั้ง4ขด
ปรากฏว่าได้โอมห์ต่ำลง
แสดงว่าต้องมีการชอตข้ามขด

สายสีดำจับที่ขั้วCสายสีชมพูสายสตาร์ทเป็นหลัก
แล้วสายสีแดงจับที่สวิทช์เบอร์1 ได้ 63โอมห์
เป็นการวัดขดสตาร์ทขดที่1ขดเดียว

สายสีแดงจับที่สวิทช์เบอร์2 ได้ 38โอมห์
เป็นการวัดขดสตาร์ทขดที่1กับขดสตาร์ทขดที่2รวมกัน
โอมห์จะต้องมากกว่าเดิม
แต่ปรากว่าโอมห์ต่ำกว่าเดิม
แสดงว่า ขดสตาร์ทขดที่1กับขดสตาร์ทขดที่2 ชอตกัน
ทำให้ไฟสตาร์ทไม่พอ
เป็นสาเหตุให้พัดลมหมุนช้า หรือไม่หมุน

พัดลมรุ่นนี้เป็นพัดลมขนาด16นิ้ว
ใช้ไฟ220VAC/50HZ
กินกระแสไฟฟ้า 0.24 A
ใช้กำลังไฟฟ้า 55 W

มิเตอร์ปรับไปย่านAC
กดสวิทช์เบอร์1 แล้ววัดไฟคร่อมCสตาร์ท
ได้ 227 VAC
แสดงว่าไม่มีไฟสตาร์ท เป็นการวัดไฟบ้าน220เท่านั้น

การวัดคร่อมCสตาร์ท
จะเป็นการวัดไฟมอเตอร์หลัก(ขดรัน)
กับไฟสตาร์ทรวมกัน
ที่สวิทช์เบอร์1 สำหรับรุ่น16นิ้ว จะต้องได้ประมาณ300VAC
ถ้าเป็นรุ่น12นิ้วจะต้องได้ประมาณ 244 VAC

ดึงปลั๊กไฟออกก่อน
บัดกรีสายที่ขั้วCสตาร์ทออก1เส้น
ใช้มิเตอร์FLUKE115ปรับไปย่านไดโอดC
แล้วกดปุ่มเหลืองก็จะเป็นการวัดC
Cรุ่นนี้คือ 2UF วัดได้1.92UF
ค่าคลาดเคลื่อนเล็กน้อนก็แสดงว่าดี

ถ้าจะวัดด้วยมิเตอร์เข็มก็ให้เข้าไปดูวิธีการวัด
ได้ที่ ตารางการวัดค่าซีCหรือคาปาซิเตอร์CAPACITORด้วยมิเตอร์เข็ม
http://repairsmcu.blogspot.com/2015/02/ccapacitor.html

สาเหตุที่พัดลมหมุนช้าหรือไม่หมุน
เสียที่ขดสตาร์ทขดที่1กับขดสตาร์ทขดที่2 ชอตกัน
ทำให้ไฟสตาร์ทไม่พอ
เป็นสาเหตุให้พัดลมหมุนช้า หรือไม่หมุน

พัดลมรุ่นนี้เป็นพัดลมขนาด16นิ้ว
ใช้ไฟ220VAC/50HZ
กินกระแสไฟฟ้า 0.24 A
ใช้กำลังไฟฟ้า 55 W

ดึงปลั๊กไฟออกก่อน
จากนั้นถอดตะแกรงด้านหน้าออก
แล้วใช้มือหมุนดู
ถ้าใบพัดหมุนคล่องก็แสดงว่า
อาการหมุนช้าหรือไม่หมุนไม่ได้เกิดที่จุดนี้

สาเหตุที่พัดลมหมุนช้าหรือไม่หมุน
เสียที่ขดสตาร์ทขดที่1กับขดสตาร์ทขดที่2 ชอตกัน
ทำให้ไฟสตาร์ทไม่พอ
เป็นสาเหตุให้พัดลมหมุนช้า หรือไม่หมุน

พัดลมจะมีขดลวดอยู่4ขด
1.ขดSTARTขดที่1
2.ขดSTARTขดที่2
3.ขดSTARTขดที่3
4.ขดลวดมอเตอร์หลัก(ขดรัน)

CAPACITORในที่นี้ผมขอเรียกย่อๆว่าC
/////////////////////////////////////////////////////
สายคอมม่อนคือสายร่วม มี3เส้น
คือสายสวิทช์เบอร์1สีเขียว
เบอร์2สีเหลือง เบอร์3สีขาว
สายมอเตอร์หลัก(สายรัน)เป็นสีเทาต่ออยู่ที่C
และมีสายไฟACมาต่อร่วมด้วย
สายสตาร์ทสีชมพูต่ออยู่กับขั้วCอีกขั้ว

เมื่อมีการกดสวิทช์เบอร์1
สายไฟACสีน้ำตาลจะต่อไฟเข้าสายสีเขียวซึ่งเป็นสวิทช์เบอร์1
แล้วสายสีเขียวจะแยกออกเป็น2ทาง
สายสีเขียวแยกที่1
เข้าไปที่ขดSTARTขดที่2ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่จำกัดกระแส
แล้วเข้าขดSTARTขดที่3ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่จำกัดกระแส
แล้วเข้าขดลวดมอเตอร์หลักตามลำดับ
เมื่อไฟACออกจากมอเตอร์หลักก็จะเป็นสายสีเทา
ต่อเข้ากับขั้วC และจะมีสายไฟACสีน้ำเงินมาต่อร่วมด้วย

สายสีเขียวแยกที่2
ไฟACผ่านขดSTARTขดที่1เข้าไปที่ขาCAPACITORอีกขั้ว
ทำให้ไฟSTARTครบวงจร
CAPACITORเกิดการเก็บประจุและคลายประจุ
เนื่องจากไฟบ้านในประเทศไทยใช้220VAC/50HZ
ดังนั้นจึงเก็บประจุ50ครั้งและคลายประจุ50ครั้งภายใน1วินาที
ตามความถี่50HZ
ทำให้CAPACITORมีแรงไฟเพิ่มขึ้นประมาณ2เท่าคือ
จากไฟบ้าน220ACVเป็น440ACV
ทำให้เกิดแรงฉุดมอเตอร์ให้หมุนได้
ถ้าCแห้งมอเตอร์ก็จะไม่หมุนมีแต่เสียงตืดนั่นเอง
เสียงตืดในพัดลมเบาอาจจะไม่ได้ยิน
แต่เสียงตืดในเครื่องซักผ้าจะได้ยินชัดกว่า

ในพัดลมKASHIWAรุ่น16นิ้ว ที่ทำการทดลองวัดนี้ใช้
Cค่า2UF/400VAC
สมมุติถ้าใช้ค่าCที่สูงกว่านี้ก็จะทำให้มอเตอร์หมุนแรงขึ้น
แต่ไม่ทนคือพังง่ายนั่นเอง

แต่ถ้าวัดไฟคร่อมCAPACITORจะได้ไม่ถึง440ACV
เพราะเมื่อมีโหลดไฟก็จะตกลงมาตามส่วน
สำหรับรุ่น16นิ้วนี้ ยังไม่เคยวัดไฟคร่อมC
แต่จะใช้เดาว่า น่าจะประมาณ300กว่าโวลท์

ถ้าเป็นHATARIรุ่น18นิ้ว วัดไฟคร่อมCจะได้ดังนี้
สวิทช์เบอร์1  328 ACV
สวิทช์เบอร์2  357 ACV
สวิทช์เบอร์1  368 ACV

ถ้าเป็นPROTECHรุ่น12นิ้ว วัดไฟคร่อมCจะได้ดังนี้
สวิทช์เบอร์1  244 ACV
สวิทช์เบอร์2  248 ACV
สวิทช์เบอร์1  252 ACV
///////////////////////////////////////////////////

เมื่อมีการกดสวิทช์เบอร์2
สายไฟACสีน้ำตาลจะต่อไฟเข้าสายสีเหลืองซึ่งเป็นสวิทช์เบอร์2
แล้วสายสีเหลืองจะแยกออกเป็น2ทาง
สายสีเหลืองแยกที่1
เข้าไปที่ขดSTARTขดที่3ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่จำกัดกระแส
แล้วเข้าขดลวดมอเตอร์หลักตามลำดับ
เมื่อไฟACออกจากมอเตอร์หลักก็จะเป็นสายสีเทา
ต่อเข้ากับขั้วC และจะมีสายไฟACสีน้ำเงินมาต่อร่วมด้วย

สายสีเหลืองแยกที่2
ไฟACผ่านขดSTARTขดที่2
แล้วเข้าไปที่ขดSTARTขดที่1
แล้วเข้าไปที่ขาCAPACITORอีกขั้ว
ทำให้ไฟSTARTครบวงจร
CAPACITORเกิดการเก็บประจุและคลายประจุ
เนื่องจากไฟบ้านในประเทศไทยใช้220VAC/50HZ
ดังนั้นจึงเก็บประจุ50ครั้งและคลายประจุ50ครั้งภายใน1วินาที
ตามความถี่50HZ
ทำให้CAPACITORมีแรงไฟเพิ่มขึ้นประมาณ2เท่าคือ
จากไฟบ้าน220ACVเป็น440ACV
ทำให้เกิดแรงฉุดมอเตอร์ให้หมุนได้
ถ้าCแห้งมอเตอร์ก็จะไม่หมุนมีแต่เสียงตืดนั่นเอง
เสียงตืดในพัดลมเบาอาจจะไม่ได้ยิน
แต่เสียงตืดในเครื่องซักผ้าจะได้ยินชัดกว่า

แต่ถ้าวัดไฟคร่อมCAPACITORจะได้ไม่ถึง440ACV
เพราะเมื่อมีโหลดไฟก็จะตกลงมาตามส่วน
///////////////////////////////////////////////////

เมื่อมีการกดสวิทช์เบอร์3
สายไฟACสีน้ำตาลจะต่อไฟเข้าสายสีขาวซึ่งเป็นสวิทช์เบอร์3
แล้วสายสีขาวจะแยกออกเป็น2ทาง
สายสีขาวแยกที่1
เมื่อไฟACออกจากมอเตอร์หลักก็จะเป็นสายสีเทา
ต่อเข้ากับขั้วC และจะมีสายไฟACสีน้ำเงินมาต่อร่วมด้วย
ทำให้ครบวงจร

สายสีขาวแยกที่2
ไฟACผ่านขดSTARTขดที่3
แล้วเข้าไปที่ขดSTARTขดที่2
แล้วเข้าไปที่ขดSTARTขดที่1
แล้วเข้าไปที่ขาCAPACITORอีกขั้ว
ทำให้ไฟSTARTครบวงจร
CAPACITORเกิดการเก็บประจุและคลายประจุ
เนื่องจากไฟบ้านในประเทศไทยใช้220VAC/50HZ
ดังนั้นจึงเก็บประจุ50ครั้งและคลายประจุ50ครั้งภายใน1วินาที
ตามความถี่50HZ
ทำให้CAPACITORมีแรงไฟเพิ่มขึ้นประมาณ2เท่าคือ
จากไฟบ้าน220ACVเป็น440ACV
ทำให้เกิดแรงฉุดมอเตอร์ให้หมุนได้
ถ้าCแห้งมอเตอร์ก็จะไม่หมุนมีแต่เสียงตืดนั่นเอง
เสียงตืดในพัดลมเบาอาจจะไม่ได้ยิน
แต่เสียงตืดในเครื่องซักผ้าจะได้ยินชัดกว่า

แต่ถ้าวัดไฟคร่อมCAPACITORจะได้ไม่ถึง440ACV
เพราะเมื่อมีโหลดไฟก็จะตกลงมาตามส่วน
///////////////////////////////////////////////////

เมื่อกดสวิทช์เบอร์1 พัดลมจะหมุนเบาสุด
เพราะมีการจำกัดกระแสด้วยขดลวด2ขด
คือ ขดSTARTขดที่2, กับขดSTARTขดที่3

เมื่อกดสวิทช์เบอร์2 พัดลมจะหมุนปานกลาง
เพราะมีการจำกัดกระแสด้วยขดSTARTขดที่3
เพียงขดเดียวเท่านั้น

เมื่อกดสวิทช์เบอร์3 พัดลมจะหมุนแรงสุด
เพราะไม่มีการจำกัดกระแส
เป็นการเข้าแบบตรงๆ

มอเตอร์พัดลม
คือมอเตอร์เหนี่ยวนำ1เฟส (1Phase Induction Motor)
เป็นมอเตอร์กระแสสลับ(Alternating Current Motor)
แบบ1เฟส (AC Single Phase)
แบบ Asynchronous
แบบโรเตอร์กรงกระรอก(Squirrel cage rotor)
แบบคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ (Capacitor Run Motor)
หรือแบบคาปาซิเตอร์ถาวร (Permanent Capacitor)

คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ (Capacitor Run Motor)
โครงสร้างเหมือนกับชนิด คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์
ต่างกันที่คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์จะไม่มีสวิทช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์
( สวิทช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ คือเมื่อมอเตอร์หมุนด้วยความเร็ว
75%ของความเร็วสูงสุด แกนมอเตอร์ก็จะเคลื่อนไปดัน
สวิทช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ที่อยู่ที่ฝาครอบ ให้จากออกไป
ซึ่งขดสตาร์ทจะต่ออนุกรมกับสวิทช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์
เป็นการตัดขดสตาร์ทออกไปนั่นเอง )

มอเตอร์พัดลม
เป็นแบบคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ (Capacitor Run Motor)
คือไม่มีสวิทช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง
(Centrifugal Switch)
หมายความว่าคาปาซิเตอร์จะทำงานตลอดเวลา
ดังนั้นขดสตาร์ทจะต้องพันขดลวดเล็กกว่าและมากรอบกว่าขดรัน
เพื่อให้ความต้านทานสูงกว่าขดรันนั่นเอง
และค่าคาปาซิเตอร์จะต้องเป็นค่าต่ำๆด้วย
เพื่อลดกระแสให้ขดสตาร์ท
เนื่องจากขดสตาร์ทจะต้องทำงานตลอดเวลา

มอเตอร์พัดลม ประกอบด้วย
1.ตัวคงที่(Stator) คือส่วนกลวงที่อยู่กับที่ ประกอบด้วย
แผ่นเหล็กลามิเนท(Laminated Sheet Steel)
บางๆหลายชิ้นมาประกบกัน  แล้วเซาะเป็นร่อง(SLOT)
เพื่อพันขดลวดทองแดงที่อาบด้วยฉนวน(Field Coil)
ขดลวดที่พันอยู่กับแผ่นเหล็กลามิเนท มี4ขด
จะมีขดลวดอยู่2แบบคือ
แบบที่1 คือ ขดผู้ช่วย(Auxiliary winding)
หรือขดสตาร์ท(Starting winding) มี3ขด
และจะมีขดสตาร์ท2ขดที่ทำหน้าที่เป็นขดจำกัดกระแส
ให้มอเตอร์หลัก ในกรณีที่กดสวิทช์เบอร์1หรือเบอร์2ด้วย
แบบที่2 คือ ขดลวดหลัก(Main winding)
หรือขดรัน(Running winding) มี1ขด

2.ตัวหมุน(ROTOR) คือส่วนที่เป็นแกนหมุนอย่างอิสระ
โรเตอร์กรงกระรอกเป็นมอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำ
ทำจากแผ่นเหล็กบางๆ(Laminated Sheet Steel)
อัดซ้อนกัน มีร่องเป็นทางยาว
ซึ่งจะมีแท่งทองแดงหรือแท่งอลูมิเนียม
ที่เป็นเส้นโตๆฝังอยู่รอบๆโรเตอร์
ปลายของแท่งทองแดงหรือแท่งอลูมิเนียมจะเชื่อมติดกัน
ด้วยวงแหวนที่เป็นทองแดงหรืออลูมิเนียม
ซึ่งมีลักษณะคล้ายกรงกระรอก
เรียกว่า โรเตอร์กรงกระรอก(Squirrel cage rotor)
และจะมีแกนเพลา(Shaft Core) เป็นตัวร้อยยึดกรงกระรอก
กรงกระรอกจะเจาะเป็นรูเพื่อระบายความร้อน
และใบพัด2ชุดติดที่แกนเพลาเพื่อระบายความร้อนให้มอเตอร์
และมีสลักไว้สำหรับยึดใบพัดลม

แกนเพลานี้จะวางอยู่ในบู๊ทหัวและบู๊ทท้าย
บู๊ทหัวและบู๊ทท้ายทำหน้าที่คล้ายตลับลูกปืน(Bearings)
เพื่อให้โรเตอร์หมุนได้นิ่ง ไม่สั่น

3.ฝาครอบหัว และฝาครอบท้าย ประกอบด้วย
แหวนซับน้ำมัน และบู๊ท
และฝาครอบบู๊ท เพื่อไม่ให้บู๊ทหลุดออกมา
ทำหน้าที่ล็อคแกนเพลาโรเตอร์ให้หมุนอยู๋กับที่

การทำงานของพัดลม
เมื่อกดสวิทช์ไฟก็จะไหลผ่านขดลวดในสเตเตอร์
ทำให้สเตเตอร์เกิดสนามแม่เหล็ก ไปตัดกับแท่งทองแดง
หรือแท่งอลูมิเนียมรอบๆโรเตอร์กรงกระรอก
ทำให้โรเตอร์กรงกระรอกเกิดสนามแม่เหล็กผลักและดึง
ทำให้โรเตอร์กรงกระรอกหมุน(Motor action)

การถอดดูว่าการส่ายของพัดลมส่ายอย่างไร
ให้กดจุกส่ายลง(ส่าย)
เวลาถอดลูกปืนที่ล็อคแกนส่าย2ลูกจะไม่หลุดออกมา
ถ้าดึงจุกส่ายขึ้น(ไม่ส่าย)ลูกปืนจะหลุดออกมา

ถอดฝาครอบออกมาแล้ว
จะเห็นแกนเพลาพัดลม
ส่วนนี้จะเป็นเหล็กแล้วทำเกลียวไว้เพื่อส่ายพัดลม
ติดกับแกนเพลาเหล็กก็จะมีเฟืองแกนเพลา
ที่เป็นพลาสติกเกาะติดกับแกนเพลาเหล็ก
เวลาใบพัดหมุนแกนเพลามอเตอร์ก็จะหมุน
เฟืองแกนเพลาก็จะหมุน
ภายในเฟืองเพลาก็จะมีแกนล็อคเฟืองแกนเพลาล็อคอยู่
ถ้ากดลงก็จะล็อคเฟืองแกนเพลา
ทำให้แกนล็อคเฟืองแกนเพลาล็อคติดกับเฟืองแกนเพลา
เวลาใบพัดหมุนแกนล็อคเฟืองแกนเพลา
ก็จะไปหมุนเฟืองส่ายด้านล่าง
เฟืองส่ายด้านล่างก็ล็อคติดกับก้านพลาสติกสั้น
เวลาใบพัดหมุนก้านพลาสติกสั้นก็จะหมุนทวนเข็มนาฬิกา
ก้านพลาสติกสั้นก็ติดอยู่กับก้านเหล็กยาว
เมื่อก้านพลาสติกสั้นหมุนก็จะทำให้ก้านเหล็กยาวหมุนไปด้วย
ก้านเหล็กยาวจะยึดติดกับคอพัดลม
ทำให้หมุนส่ายไปส่ายมาได้




ไม่มีความคิดเห็น: