วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พัดลมHATARIไม่หมุนบู๊ทติดแกนโรเตอร์ boot stuck and no rotate the fan rotor



พัดลมHATARIไม่หมุนบู๊ทติดแกนโรเตอร์ boot stuck and no rotate the fan rotor
5/5/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
พัดลมHATARIไม่หมุนบู๊ทติดแกนโรเตอร์ boot stuck and no rotate the fan rotor

การซ่อมต้องใส่รองเท้า และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชีวิตได้

พัดลมไม่หมุนเพราะ
น้ำมันในแผ่นซับน้ำมันแห้ง
ทำให้เกิดความร้อนระหว่างแกนเพลา
กับบู๊ทจนเกิดเป็นเขม่า
จนทำให้บู๊ทกับแกนเพลาฝืดจนไม่สามารถหมุนได้
  เมื่อเป็นเช่นนี้พัดลมก็จะฝืดไม่สามารถหมุนได้
ทำให้ที่ขดลวดมอเตอร์เกิดความร้อน
จนทำให้เทอร์โมฟิวส์ขนาด140องศา2Aขาด
เพื่อเป็นการป้องกันขดลวดไม่ให้เกิดความเสียหายนั่นเอง

การฉีดต้องใช้น้ำมันจักรที่มีฉลากบอกว่า
ปลอดภัยต่อฉนวน
และน้ำมันต้องไม่เป็นตัวน้ำไฟฟ้า
ถ้าฉีดโดนขดลวดก็จะไม่ทำลายฉนวนของขดลวด
เช่นน้ำมันยี่ห้อSONAX
เวลาฉีดให้ใช้ท่อฉีด
เพื่อจะได้แหย่เข้าไปได้

ทดสอบว่าบู๊ทติดหรือไม่
โดยการดึงแกนเพลาออกมาจนสุด
แล้วดันเข้าจนสุด
จะต้องให้ตัวได้คือเข้าออกสุดได้
ประมาณ3มม. ถึง 1ซม.
แล้วแต่รุ่น ถ้ารุ่นใหญ่ก็จะให้ตัวมากกว่ารุ่นเล็กเป็นต้น
ถ้าให้ตัวได้ก็แสดงว่าบู๊ทไม่ติดกับแกนเพลา
หมายถึงเป็นอิสระต่อกันนั่นเอง

ทดสอบว่าบู๊ทหลวมหรือไม่
โดย ดึงแกนออกมาให้สุดก่อน
จากนั้นก็โยกแกนเพลาในลัษณะขึ้นลง
ของดีจะต้องขึ้นไม่เกิน 1มม.
ลงไม่เกิน 1มม.
  ถ้าโยกขึ้นลงประมาณ2มม.ขึ้นไป
และถ้าโยกแบบเร็วๆแล้วเกิดเสียงดังก๊อกแก๊ก
แบบชัดเจนก็แสดงว่าบู๊ทหลวมแล้ว
หรือจะให้แน่นอน ก็ต้องเปิดพัดลมใช้งานดู
โดยเปิดไปที่เบอร์3แรงสุด
ถ้าไม่ดังก็แสดงว่าบู๊ทดีไม่หลวม
แต่ถ้าดังก็แสดงว่าบู๊ทหลวมแล้วครับ

ในกรณีพัดลมไม่หมุนเพราะ
น้ำมันในแผ่นซับน้ำมันแห้ง
ทำให้เกิดความร้อนระหว่างแกนเพลา
กับบู๊ทจนเกิดเป็นเขม่า
จนทำให้บู๊ทกับแกนเพลาฝืดจนไม่สามารถหมุนได้
  เมื่อเป็นเช่นนี้พัดลมก็จะฝืดไม่สามารถหมุนได้
ทำให้ที่ขดลวดมอเตอร์เกิดความร้อน
จนทำให้เทอร์โมฟิวส์ขนาด140องศา2Aขาด
เพื่อเป็นการป้องกันขดลวดไม่ให้เกิดความเสียหายนั่นเอง

แต่ถ้ามอเตอร์หมุนได้ก็จะเกิดลม
และบริเวณแกนโรเตอร์ส่วนที่เป็นกรงกระรอกจะมีครีบ
ดังนั้นเมื่อพัดลมหมุนก็จะเกิดลม
ที่ตัวโรเตอร์กรงกระรอก
ทำให้เหล็กสเตเตอร์ได้รับลม
เป็นการระบายความร้อน
ทำให้ขดลวดที่พันอยู่รอบสเตเตอร์ไม่เสียหายนั่นเอง

แต่ในกรณีCหรือคาปาซิเตอร์แห้งหรือค่าCหมด
ก็จะทำให้มอเตอร์ไม่สามารถหมุนได้
และไม่มีเสียงตืดใดๆ
เท่ากับว่ามอเตอร์ถ้าขาดCก็จะไม่สามารถทำงานได้
ดังนั้นขดลวดมอเตอร์จะไม่เกิดความร้อนจนไหม้ขาดนั่นเอง

แต่ถ้าCหรือคาปาซิเตอร์ปกติ
แล้วมีอะไรมาขวางการหมุน
จนใบพัดไม่สามารถหมุนได้
ก็จะทำให้มอเตอร์เกิดความร้อน
จนทำให้ขดลวดขาดในที่สุด
แต่ในกรณีที่พัดลมที่มีเทอร์โมฟิวส์
เช่นพัดลมยี่ห้อHATARI
เทอร์โมฟิวส์ที่แปะติดอยู่กับขดลวดมอเตอร์
ก็จะขาดเมื่อความร้อนเกิน140องศา
หรือขดลวดมอเตอร์ช็อทรอบ
แล้วกินกระแสเกิน2A เทอร์โมฟิวส์ก็จะขาดได้เช่นกัน

เทอร์โมฟิวส์ที่ใช้ในพัดลม
คือ ประมาณ140องศา2A

ถ้าจะถอดชุดเฟืองส่ายภายในออกมา
ต้องทำการกดจุกส่าย
ให้อยู่ในลักษณะส่ายก่อน
เพื่อให้ลูกปืนถูกล็อคอยู่ระหว่าง
เฟืองแกนเพลากับแกนล็อคเฟืองแกนเพลา
เพื่อทำการส่ายได้ต่อไป

แต่ถ้าเกิดทำพลาดลูกปืนก็มักจะตกหาย
ก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านอิเล็คทรอนิคส์ทั่วไป
ราคาชุดละไม่เกิน 10บาท มีลูกปืน2ลูกกับสปริง1ตัว

หลังจากถอดชุดเกียร์บล็อค
ออกมา
สังเกตุพบว่าบู๊ทหลังหลุด
ลองใช้ฆ้อนตอกแกนทั้งด้านหน้าและด้านหลังแล้ว
ลองหมุนแกนดูปรากฏว่าหมุนพริ้ว
หมุนคล่องมาก
  แต่ลองใช้มือดึงแกนเข้าออกจนสุด
ปรากฏว่าไม่สามารถให้ตัวได้
คือขยับเข้าออกแล้วได้ประมาณ1มม.
หรือไม่สามารถขยับเข้าออกได้เลย
ของดีต้องเข้าออกได้ประมาณ 3มม
ถึง 1ซม. แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ

ลองกดสวิทช์เบอร์1
แล้วทำการเสียบไฟ
ปรากฏว่าไม่ติดเงียบสนิท
แสดงว่า น่าจะเป็นเทอร์โมฟิวส์140องศา2Aขาด
หรือCค่าแห้ง หรือCค่าหมดก็เป็นไปได้

การวัดต้องถอดปลั๊กไฟออกก่อน
วัดโอมห์คร่อมCหรือคาปาซิเตอร์
ได้ประมาณ785โอมห์
แสดงว่าขดลวดมอเตอร์ไม่ขาด
  วัดค่าCค่า1.8UF (รุ่น18นิ้ว)
โดยการลอยสายที่ขั้วCออกข้างหนึ่ง
แล้ววัดด้วยมิเตอร์ดิจิตอลได้ 1.53UF
แสดงว่าCค่าลดไปเล็กน้อย
นั่นหมายถึงยังสามารถสตาร์ทติดได้
แต่แรงลมจะเบากว่าปกติเล็กน้อย
ถ้าไม่มีการนำพัดลมมาเปรียบเทียบ
ก็จะไม่รู้สึกว่าหมุนช้ากว่าปกติครับ

ถ้าวัดได้ดังนี้แล้วก็ให้ทำการเปลี่ยน
เทอร์โมฟิวส์ค่าประมาณ140องศา2A
เป็นอันดับต่อไป

การวัดเทอร์โมฟิวส์พัดลมฃองHATARI
เทอรโมฟิวส์จะใช้อยู่ระหว่าง135องศาเซ็นเซียส2A
ถึง145องศาเซ็นเซียส2A

จากการวัดด้วยมิเตอร์ดิจิตอลFLUKE115
เทอร์โมฟิวส์พัดลมได้ประมาณ 0.1โอมห์

ถ้าวัดไม่ขึ้นก็แสดงว่าเทอร์โมฟิวส์ขาดแล้วครับ
ในพัดลมยี่ห้อHATARIจะมีเทอร์โมฟิวส์
ส่วนยี่ห้ออื่นส่วนใหญ่แล้วก็จะไม่มีเทอร์โมฟิวส์
มีส่วนน้อยที่จะใส่เทอร์โมฟิวส์

สาเหตที่เทอร์โมฟิวส์ขาดมี3สาเหตุ
1 พัดลมไม่หมุนเนื่องจาก
น้ำมันในแผ่นซับน้ำมันแห้ง
ทำให้เกิดความร้อนระหว่างแกนเพลา
กับบู๊ทจนเกิดเป็นเขม่า
จนทำให้บู๊ทกับแกนเพลาฝืด
ด้วยเขม่าไปจับระหว่างบู๊ทกับแกนเพลา
จนไม่สามารถหมุนได้
  เมื่อเป็นเช่นนี้พัดลมก็จะฝืดไม่สามารถหมุนได้
ทำให้ที่ขดลวดมอเตอร์เกิดความร้อนเกิน145องศา
จนทำให้เทอร์โมฟิวส์ขนาด145องศา2Aขาด
เพื่อเป็นการป้องกันขดลวดไม่ให้เกิดความเสียหายนั่นเอง
ถ้าขาดลักษณะนี้ก็สามารถเปลี่ยนเทอร์โมฟิวส์
แล้วกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

2 ถ้าพัดลมมีศักยภาพที่จะหมุนได้
แต่มีอะไรมาขัดขวางไม่ให้พัดลมหมุน
ก็จะทำให้ขดลวดมอเตอร์เกิดความร้อนเกิน145องศา
จนทำให้เทอร์โมฟิวส์ขนาด145องศา2Aขาด
เพื่อเป็นการป้องกันขดลวดไม่ให้เกิดความเสียหายนั่นเอง
ถ้าขาดลักษณะนี้ก็สามารถเปลี่ยนเทอร์โมฟิวส์
แล้วกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
  แต่ถ้าCแห้งหรือค่าไม่พอ
ที่จะจุดสตาร์ทให้มอเตอร์หมุนได้
ในกรณีนี้พัดลมก็จะไม่สามารถหมุน
และไม่มีเสียงตืดใดๆ
  ดังนั้นขดลวดก็จะไม่เกิดความร้อน
และไม่เกิดความเสียหายนั่นเอง

3 ขดลวดมอเตอร์ช็อทรอบ
ก็จะทำให้มอเตอร์กินกระแสมาก
และถ้ากินกระแสมากกว่า2Aเกินค่าที่กำหนด
เทอร์โมฟิวส์ก็จะขาด
แต่ถ้าขาดในลัษณะช็อทรอบ
เมื่อเปลี่ยนเทอร์โมฟิวส์แล้วก็จะขาดอีก
ต้องพันขดลวดมอเตอร์ใหม่
หรือเปลี่ยนมอเตอร์ใหม่จึงจะใช้ได้นั่นเอง

การเปลี่ยนเทอร์โมฟิวส์
สำหรับรุ่นนี้คือ 145องศาเซ็นเซียส 2A
ถ้าไม่มีสามารถใช้135องศาเซ็นเซียส 2Aแทนได้ครับ
เวลาเอาเทอร์โมฟิวส์ไปแตะกับขดลวด
สามารถแตะแบบตรงๆก็ได้
คือไม่ต้องใช้กระดาษกันช็อทก็ได้
แต่ต้องระวังอย่าให้ขาของเทอร์โมฟิวส์แตะถูก
ส่วนที่เป็นตัวนำหรือโครงมอเตอร์เพราะจะทำให้
ไฟ220VACไหลลงไปที่แกนเพลาโรเตอร์ได้
นั่นหมายถึงจะไหลไปทั่วตัวพัดลม
ในส่วนที่เป็นตัวนำเช่นอลูมิเนียม เหล็กและน็อททั้งหมด
แต่ไฟจะไม่มาที่ตะแกรงเพราะตะแกรง
จะวางไว้บนพลาสติก เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อยู่แล้วครับ

สำหรับตอนนี้เป็นการเปลี่ยนเทอร์โมฟิวส์จากภายนอก
โดยไม่ต้องแกะมอเตอร์ออกมา

หลังจากเปลี่ยนเทอร์โมฟิวส์แล้ว
ลองดันแกนเข้าสุดออกสุด
ปรากฏว่าไม่สามารถให้ตัวได้
ของดีจะต้องให้ตัวได้
คือดันแกนเข้าสุดออกสุดต้องได้
ประมาณ 3มม.ถึง1ซม.
แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ

จากนั้นเสียบไฟแล้วเปิดพัดลมเบอร์3แรงสุด
ปรากฏว่ามีเสียงดังแกรก
สาเหตุเพราะบู๊ทหลังหลุดนั่นเอง

ผมทดลองเปิดเบอร์3แรงสุด
นานประมาณ10นาที
ตอนหน้าจะเปิดมอเตอร์ออกมาดู
ว่าจะเกิดอะไรขึ้น กับแกนเพลาโรเตอร์

ในกรณีที่ซากูไรหรือไขควงที่ไม่ได้ขนาด
มาไขอาจทำให้น๊อทเกิดการสไลซ์
จนทำให้หัวน๊อทเยินได้

ดังนั้นวิธีแก้ทำได้ 2อย่างดังนี้
1 ใช้ซากูไรหรือไขควง4แฉก
แล้วใช้ฆ้อนตีจะหัวน็อทให้แตกอ้าออก
จากนั้นใช้ซากูไรปากแบน
แหย่เข้าไปที่รอยแตก
จากนั้นใช้ฆ้อนตอกซากูไร
เหมือนการสะกัด
ให้ตอกน็อทออกมา ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
จากนั้นก็หาซื้อน็อทมาใส่ใหม่ก็ใช้ได้แล้ว

2 ใช้คีมบีบที่ปลายหัวน๊อท
แล้วทำการหมุนคลายน็อทออกมา
แต่ในกรณีนี้หัวน๊อทมอเตอร์ของพัดลมHATARI
จะเป็นหัวน็อทกลมหนา
ดังนั้นสามารถใช้คีมจับที่หัวน็อทแล้วหมุนคลายออกมา
ได้อย่างสบาย และที่สำคัญน็อทก็ไม่เสียด้วย

ในตอนแรกที่บอกว่าบู๊ทหลังหลุด
มาถึงตอนนี้ไม่น่าจะใช่
น่าจะเป็นเพราะบู๊ทหน้าติดกับแกนเพลาแน่น
มากกว่า

ฉีดน้ำมันโซแนกซ์ที่บู๊ทกับแกนเพลาก่อน
จากนั้นใช้คีมล็อค ล็อคบู๊ทเอาไว้
แล้วใช้ฆ้อนตีแกนเพลาออกมา
เท่านี้ก็ออกแล้วครับ

เมื่อแผ่นซับน้ำมันหรือแหวนซับน้ำมันแห้ง
หรือแหวนซับน้ำมันหมดสภาพ
เวลาใช้งานพัดลม
ก็จะทำให้เกิดความร้อนระหว่างแกนเพลากับบู๊ท
จนเกิดเป็นเขม่า
จนทำให้บู๊ทกับแกนเพลาฝืด
เนื่องจากเขม่าไปจับระหว่างบู๊ทกับแกนเพลา
ในส่วนที่เสียดสีกัน จนไม่สามารถหมุนได้
  เมื่อเป็นเช่นนี้พัดลมก็จะฝืดไม่สามารถหมุนได้
ทำให้ที่ขดลวดมอเตอร์เกิดความร้อนเกิน145องศา
จนทำให้เทอร์โมฟิวส์ขนาด145องศา2Aขาด
เพื่อเป็นการป้องกันขดลวดไม่ให้เกิดความเสียหายนั่นเอง
ถ้าขาดลักษณะนี้ก็สามารถเปลี่ยนเทอร์โมฟิวส์
แล้วกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

ในกรณีCหรือคาปาซิเตอร์แห้ง
หรือค่าลดลงไปจนมอเตอร์พัดลมไม่สามารถหมุนได้
ในกรณีนี้ถ้าเรากดสวิทช์พัดลมทิ้งไว้
ก็จะไม่เกิดการหมุนและก็จะไม่มีเสียงร้องตืดใดๆ
  ถ้าพัดลมไม่หมุนเพราะCแห้ง
ก็จะไม่เกิดความร้อนกับขดลวดมอเตอร์
ดังนั้นขดลวดมอเตอร์ก็จะไม่ไหม้นั่นเอง

พัดลมHATARI 16นิ้ว ใช้Cค่า1.5UF
พัดลมHATARI 18นิ้ว ใช้Cค่า1.8UF

ในกรณีนี้เป็นรุ่น18นิ้ว
วัดได้ 1.53UF
ต้องเปลี่ยน
ถ้าไม่เปลี่ยนจะทำให้ลมไม่แรง

แต่ถ้าวัดได้ 1.7UFขึ้นไป
ก็ไม่ต้องเปลี่ยนก็ได้ครับ
ในกรณีต่ำกว่าต้องเปลี่ยนครับ

การวัดCรั่วด้วยมิเตอร์ดิจิตอล
โดยการวัดโอมห์จะไม่สามารถวัดได้
เพราะถ้าวัดด้วยมิเตอร์ดิจิตอลจะเพื้ยนทันที

ในกรณีนี้วัดด้วยมิเตอร์ดิจิตอลFLUK115
ปรับไปย่านโอมห์จะมีไฟออกมาประมาณ0.53V 295UA
เมื่อวัดCพัดลมก็จะมีโอมห์ขึ้นประมาณหลักเมกะโอมห์
หรือบางครั้งจะเป็นโอมห์แบบติดลบด้วย
  เพราะมิเตอร์ดิจิตอลปล่อยไฟออกมาที่สายมิเตอร์
น้อยเกินไปนั่นเอง
สายสีแดงเป็นไฟบวก
สายสีดำเป็นไฟลบ
ดังนั้นการวัดโอมห์ที่Cแม้จะมีไฟเพียงเล็กน้อยก็จะเพี้ยนทันที

การวัดรั่วจำเป็นต้องใช้มิเตอร์เข็มในการวัด
โดยตั้งไปที่ย่านX10K
ถ้าเข็มขึ้นแล้วต้องลงสุด
ถ้าค้างแม้เพียงเล็กน้อยก็จะถือว่ารั่วไม่สามารถใช้งานได้
แต่ในการวัดระวังอย่าจับโดนปลายมิเตอร์ทั้ง2ด้าน
เพราะจะเป็นการวัดโอมห์ของตัวเราเองครับ

สรุป ถ้าเป็นCไม่มีขั้ว มิเตอร์เข็มตีขึ้นแล้วจะต้องลงสุด
ถ้าลงไม่สุดหรือค้างก็แสดงว่ารั่ว
เพราะCไม่มีขั้วจะใช้งานเกี่ยวกับความถี่

แต่ถ้าเป็นCแบบมีขั้ว มิเตอร์เข็มตีขึ้นแล้วลง
แต่ลงไม่สุดหรือค้างอยู่เล็กน้อย
อันนี้ไม่เป็นไร เพราะไม่ได้ใช้งานเกี่ยวกับความถี่
Cแบบมีขั้ว จะเป็นการใช้งานเกี่ยวกับกรองไฟให้เรียบ
หรือเก็บประจุไฟไว้เพื่อเป็นการสำรองไฟนั่นเอง
ดังนั้นการค้างเพียงเล็กน้อยก็ไม่มีผลอะไรครับ
ของใหม่ซื้อมาบางครั้งก็ยังเข็มค้างเลยครับ

หลังจากประกอบเข้าไปแล้วใช้ได้
ลมแรงปกติครับ

สาเหตุที่แกนเพลาเป็นรอย
จนทำให้บู๊ทติดกับแกนเพลาจนแน่น
และทำให้มอเตอร์พัดลมไม่สามารถหมุนได้
จนทำให้ขดลวดมอเตอร์พัดลมร้อน
เกิน145องศา ทำให้เทอร์โมฟิวส์ขาด
ดังนั้นขดลวดจึงปลอดภัยไม่เสียหาย

พัดลมHATARIจะมีเทอร์โมฟิวส์ป้องกัน
แต่บางยี้ห้อจะไม่มี

เริ่มต้นจากน้ำมันในแหวนซับน้ำมัมแห้ง
ทำให้แกนเพลาเสียดสีกับบู๊ทแบบแห้งๆ
จนเกิดความร้อนทำให้เป็นเขม่าบริเวณ
บู๊ทกับแกนเพลาในส่วนที่สัมผัสกัน
  ขณะที่มอเตอร์พัดลมทำงาน
และความฝืดในส่วนที่สัมผัสคือบู๊ทกับแกนเพลา
ในขณะที่แกนเพลาหมุน
ความฝืดก็จะทำให้เกิดรอยขึ้นที่บริเวณที่สัมผัสกัน
จนในที่สุดบู๊ทกับแกนเพลาติดกันแน่น
เนื่องจากรอยที่เกิดขึ้นจะเกิดขอบลัษณะเกลียว
ทำให้ผิวแกนไม่เรียบ จนทำให้เกิดการยึดเกาะกันแน่น
ทำให้มอเตอร์พัดลมไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป
คือไม่หมุนนั่นเอง

เชิญดูวีดีโอประกอบครับ!




ไม่มีความคิดเห็น: