วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ขดลวดมอเตอร์ขาดพัดลมHATARI Motor coil lack



ขดลวดมอเตอร์ขาดพัดลมHATARI Motor coil lack
2/5/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
ขดลวดมอเตอร์ขาดพัดลมHATARI Motor coil lack

การซ่อมต้องใส่รองเท้า และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชึวิตได้

ในกรณีสายรัดมอเทอร์ขาด
จะทำให้ขั้วสายหรือขั้วขดลวดห้อยลงมา
ทำให้สายขั้วขดลวดห้อยลงมาด้วย
จนทำให้ครีบระบายความร้อนของโรเทอร์
หรือตัวโรเทอร์สัมผัสกับสายขั้วขดลวด
จนอาจทำให้สายขั้วขดลวดขาดได้
  เมื่อสายตรงบริเวณขั้วขดลวดขาด
ก็จะทำให้มอเทอร์ขาดไม่ครบวงจร
ทำให้มอเทอร์พัดลมไม่หมุนนั่นเอง

เสียงตืดไม่หมุนในพัดลมอาจเกี่ยวกับCหรือคาปาซิเทอร์แห้ง
ก็เป็นไปได้

ในพัดลม
ถ้าCแห้งก็จะทำให้พัดลมไม่สามารถหมุนได้
และบางรุ่นก็อาจทำให้เกิดเสียงตืดได้ด้วย
ถ้าCค่าลดก็จะทำให้พัดลมหมุนช้าลงไม่แรงนั่นเอง
  ส่วนในเครื่องซักผ้า
ถ้าCแห้งก็จะทำให้เครื่องซักผ้ามีเสียงตืด
และเครื่องซักผ้าไม่หมุน
 ถ้าCค่าลดก็จะทำให้เครื่องซักผ้าหมุนช้าลง
หรือเกิดอาการปั่นไม่แห้ง
ในบางยี่ห้อที่มีREVOLUTION
ก็จะมีการตรวจจับรอบการหมุนของมอเทอร์
ถ้าCPUนับรอบการหมุนไม่ได้ตามที่กำหนดไว้
ก็จะทำการฟ้องERRORนั่นเอง

Cแห้ง หมายถึงCที่ไม่มีค่าความจุเหลืออยู่เลย
หรือมีค่าความจุเหลือน้อยมาก

พัดลมHATARI ขนาด16นิ้วใช้Cค่า 1.5UF
พัดลมHATARI ขนาด18นิ้วใช้Cค่า 1.8UF

แต่ปรากฏว่าใส่Cมาให้แค่1.5UF
ลองถอดออกมาวัดด้วยมิเทอร์ดิจิทอล
ปรากฏว่าค่าลดเหลือ1.29UF
แต่ในความเป็นจริงค่าเหลือ1.29UF
ก็ยังสามารถทำให้พัดลมHATARIขนาด18นิ้ว
หมุนได้อย่างสบายแต่ว่าจะหมุนได้ไม่แรง

แต่การซ่อมที่จะสามารถประสพความสำเร็จได้
ก็จะต้องไม่สันนิษฐานอะไรไปก่อน
เมื่อเจออะไรผิดปกติก็ต้องทำการเปลี่ยนและแก้ไขไปก่อน
บางครั้งก็อาจจะติดขึ้นมาได้โดยที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน
ก็เป็นไปได้บ่อยครั้ง

หลังจากเปลี่ยนCเป็นค่า1.8UF
ก็ยังไม่สามารถทำให้พัดลมHATARI 18นิ้ว
ที่เสียอยู่นี้ติดได้ครับ

ซ่อมพัดลมHATARI 18นิ้ว
ผมได้ใส่Cค่า1.8UFตัวใหม่เข้าไป
แล้วทดลองเปิดสวิทช์เบอร์1 ไม่ติดไม่มีเสียงตืด
เปิดสวิทช์เบอร์2 ก็ไม่ติดไม่มีเสียงตืด
เปิดสวิทช์เบอร์3 ไม่ติดแต่มีเสียงตืดดังเหมือนออดเลยครับ

ผมลองถอดCหรือคาปาซิเทอร์ออก
แล้วทดลองเปิดสวิทช์เบอร์1 ไม่ติดไม่มีเสียงตืด
เปิดสวิทช์เบอร์2 ก็ไม่ติดไม่มีเสียงตืด
เปิดสวิทช์เบอร์3 ไม่ติดแต่มีเสียงตืดดังเหมือนออดเลยครับ
ผลลัพท์เหมือนใส่Cครับ

อาการนี้เป็นอาการแปลกครับ!

ผมซื้อ สว่านปรับรอบMAKTECรุ่นMT606
เมื่อวันที่12/9/2558 ราคา1,100บาท
สามารถไขสกรูตะปูควงเข้าและออกได้
ใช้ดอกเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน10mm.
220VAC ,2.2A ,450W ,50-60HZ ,0-3000/min
ปรับความเร็วรอบ ตั้งแต่0-3000รอบต่อนาที

สว่านMAKTECรุ่นMT606
เป็นสว่านแบบมีสายไฟ

ถ้าใช้สว่านแบบถ่านเวลาถ่านหมดสภาพ
ก็จะกลายเป็นเศษเหล็ก
รุ่นนี้เป็นพัดลมรุ่นเก่า
สายที่ขั้วCหรือคาปาซิเทอร์จะเป็นสีแดงกับสีดำ
ซึ่งรุ่นใหม่จะเป็นสีส้มกับสีเทาไปแล้ว
สีแดงที่ขั้วC จะเป็นสายสตาร์ทซึ่งรุ่นใหม่จะเป็นสีส้ม
สีดำที่ขั้วCอีกขั้ว จะเป็นสายรันซึ่งรุ่นใหม่จะเป็นสีเทา

สีแดงที่ขั้วCกับสายสีแดงสวิทช์เบอร์3จะเป็นคนละเส้นกัน
สีดำที่ขั้วCกับสายสีดำที่สวิทช์เบอร์1ก็จะเป็นคนละเส้นกัน

การวัดโอมห์ต้องถอดไฟออกก่อน
และต้องกดสวิทช์ปิดด้วยเพื่อป้องกันอันตราย
ในกรณีที่ลืมเสียบไฟไว้ก็จะช่วยได้มาก

การวัดโอมห์ขดลวดไม่จำเป็นต้องถอดCออกก็ได้
สามารถวัดได้เลย

นำมิเทอร์สายสีดำจับที่สายสตาร์ทสีแดงที่ขั้วCเป็นหลัก
แล้วนำสายสีแดงของมิเทอร์จิ้มไปที่
สวิทช์เบอร์1สีดำเป็นการวัดสตาร์ทขดที่1 ได้ 353.7โอมห์
  ย้ายสายมิเทอร์สีแดงจิ้มไปที่
สวิทช์เบอร์2สีน้ำตาล
เป็นการวัดสตาร์ขดที่1กับสตาร์ทขดที่2รวมกัน
ได้ 420.4โอมห์
  ย้ายสายมิเทอร์สีแดงจิ้มไปที่
สวิทช์เบอร์3สีแดง
เป็นการวัดสตาร์ขดที่1กับสตาร์ทขดที่2กับสตาร์ทขดที่3รวมกัน
ปรากฏว่าวัดโอมห์ไม่ขึ้น
แสดงว่าสตาร์ทขดที่3ขาด

จากนั้นนำสายมิเทอร์สายสีดำจับที่สายรันสีดำที่ขั้วCเป็นหลักบ้าง
สายมิเทอร์สายสีแดงจิ้มไปที่สวิทช์เบอร์3สีแดง
เป็นการวัดขดรัน ได้251โอมห์
  ย้ายสายมิเทอร์สีแดงจิ้มไปที่สวิทช์เบอร์2สีน้ำตาล
เป็นการวัดขดรันกับขดสตาร์ทขดที่3รวมกัน
ปรากฏว่าวัดไม่ขึ้น
แสดงว่าขดสตาร์ทขดที่3ขาด
ขดสตาร์ทขดที่3 จะอยู่ที่สวิทช์เบอร์2สีน้ำตาล
กับสวิทช์เบอร์3สีแดง

เมื่อขดสตาร์ทขดที่3ขาดทำไมจึงเกิดเสียงตืดได้
แต่การเกิดเสียงตืดในกรณีพัดลมตัวนี้
จะเกิดขึ้นเมื่อมีการกดสวิทชเบอร์3เท่านั้น
ถ้ากดสวิทช์เบอร์1กับสวิทช์เบอร์2จะไม่เกิดเสียงตืดใดๆ

การวิเคราะห์อาการเกิดเสียงตืดที่สวิทช์เบอร์3
เมื่อขดสตาร์ทขดที่3ขาดทำให้ขดลวดไม่ครบวงจร
แต่เมื่อเรากดสวิทช์เบอร์3ไฟAC220โวลท์
ก็จะวิ่งผ่านสวิทช์เบอร์3สีแดงไปเข้าขดรันแบบตรงๆ
ส่วนไฟAC220โวลท์เส้นสีขาวจะผ่านเทอร์โมฟิวส์
ออกมาเป็นสายสีดำแล้วเข้าไปที่ขั้วคาปาซิเทอร์
อีกทางก็จะไปเข้าขดรันทำให้ขดรันครบวงจร
ทำให้ขดรันสร้างสนามแม่เหล็กทำให้โรเทอร์เกิดการสั่น
จนเกิดเสียงตืดขึ้นมา
โดยมอเทอร์ไม่สามารถหมุนได้
เนื่องจากวงจรสตาร์ทขาดทำให้ไม่มีการสตาร์ทเพื่อฉุดให้พัดลมหมุนได้
ดังนั้นก็จึงเกิดเสียงตืดตลอดเวลาเฉพาะเมื่อกดสวิทช์เบอร์3
  ถ้ากดสวิทช์เบอร์1หรือสวิทช์เบอร์2ก็จะไม่มีเสียงตืดใดๆ
เพราะไฟACไม่สามารถผ่านไปเข้าขดรันได้
เนื่องจากขดสตาร์ทขดที่3ขาดอยู่นั่นเอง

ในตอนที่แล้วผมได้บอกว่าถ้าในกรณีพัดลมCแห้ง
จะไม่เกิดเสียงตืดใดๆเพราะที่ผมเคยเจอจะไม่เกิดเสียงตืด
แต่เมื่อมาถึงตอนนี้
ผมก็ต้องขอบอกว่าถ้าCแห้ง
พัดลมบางรุ่นอาจเกิดเสียงตืดขึ้นได้ครับ!

มิเทอร์ตั้งย่านโอมห์แล้วสายมิเทอร์สีดำ
จับที่โครงมอเทอร์เป็นหลัก
สายมิเทอร์สีแดงจิ้มไปที่
สวิทช์เบอร์1สายสีดำ ไม่ขึ้นไม่มีโอมห์
สวิทช์เบอร์2สายสีน้ำตาล ไม่ขึ้นไม่มีโอมห์
สวิทช์เบอร์3สายสีแดง ไม่ขึ้นไม่มีโอมห์
ขั้วคาปาซิเทอร์สายสีแดงสตาร์ท ไม่ขึ้นไม่มีโอมห์
ขั้วคาปาซิเทอร์สายสีดำรัน ไม่ขึ้นไม่มีโอมห์
ถ้าวัดได้อย่างนี้ก็แสดงว่าไม่มีการช็อทลงสเทเทอร์แต่อย่างใด

ถ้าในกรณีขดลวดมีการช็อทลงสเทเทอร์
หรือช็อทข้ามขด หรือช็อทรอบ
เทอร์โมฟิวส์ก็น่าจะขาดไปแล้ว

มิเทอร์ตั้งย่านโอมห์แล้วสายมิเทอร์สีดำ
จับที่โครงมอเทอร์เป็นหลัก
ลองนำมิเทอร์สายสีแดงจิ้มไปที่ส่วนต่างๆของ
มอเทอร์ในส่วนที่เป็นเหล็กหรืออลูมิเนียม เช่น
แกนเพลาโรเทอร์
ก็จะมีโอมห์ต่ำประมาณ0โอมห์
แต่ตะแกรงหน้ากับตะแกรงหลังและก้านเหล็กส่าย
จะวัดโอมห์ไม่ขึ้นเพราะจะมีพลาสติกขวางกั้นอยู่
ซึ่งเป็นการปลอดภัยต่อผู้ใช้
ในกรณีที่มีขดลวดขาดแล้วหล่นตกมาบริเวณสเทเทอร์
ทำให้ไม่มีไฟไหลออกมาช็อทผู้ใช้นั่นเอง

การต่อขดลวดเพื่อต่อขดลวดที่ขาด
สิ่งสำคัญที่สุดคืออย่าลืมใช้ปากกาเมจิ
ขีดลากยาวผ่านฝาบู๊ทหน้า สเทเทอร์
ฝาบู๊ทหลังและชุดเกียร์บล๊อคหรือชุดเฟืองส่าย

ถ้าลืมขีดแล้วไปต่อขดลวดที่ขาด
เวลาใส่กลับจะยากเป็นสิบเท่า

การต่อขดลวดที่ขาด
สิ่งสำคัญที่สุดคืออย่าลืมใช้ปากกาเมจิ
ขีดลากยาวผ่านฝาบู๊ทหน้า สเทเทอร์
ฝาบู๊ทหลังและชุดเกียร์บล๊อคหรือชุดเฟืองส่าย

ถ้าลืมขีดแล้วไปต่อขดลวดที่ขาด
เวลาใส่กลับจะยากเป็นสิบเท่า

รุ่นนี้เป็นพัดลมรุ่นเก่า
สายที่ขั้วCหรือคาปาซิเทอร์จะเป็นสีแดงกับสีดำ
ซึ่งรุ่นใหม่จะเป็นสีส้มกับสีเทาไปแล้ว
สีแดงที่ขั้วC จะเป็นสายสตาร์ทซึ่งรุ่นใหม่จะเป็นสีส้ม
สีดำที่ขั้วCอีกขั้ว จะเป็นสายรันซึ่งรุ่นใหม่จะเป็นสีเทา

สีแดงที่ขั้วCกับสายสีแดงสวิทช์เบอร์3จะเป็นคนละเส้นกัน
สีดำที่ขั้วCกับสายสีดำที่สวิทช์เบอร์1ก็จะเป็นคนละเส้นกัน

การวัดโอมห์ต้องถอดไฟออกก่อน
และต้องกดสวิทช์ปิดด้วยเพื่อป้องกันอันตราย
ในกรณีที่ลืมเสียบไฟไว้ก็จะช่วยได้มาก

การวัดโอมห์ขดลวดไม่จำเป็นต้องถอดCออกก็ได้
สามารถวัดได้เลย

ดูการวัดที่คลิป
พัดลมHATARI18นิ้ว ตอน5วัดโอมห์ขดลวดช็อทข้ามขดหรือไม่

การวัดปรากฎว่าขาดที่ขดสตาร์ทขดที่3
ซึ่งจะอยู่ที่สวิทช์เบอร์2สีน้ำตาลกับสวิทช์เบอร์3สีแดง

ในเมื่อรุ่นนี้สายสีแดงมี2เส้น
จะรู้ได้อย่างไรว่าเส้นไหนเป็นสายสตาร์ทขดที่1ที่ต่ออยู่กับขั้วC
หรือสายสีแดงที่ต่ออยู่กับสวิทช์เบอร์3
  วิธีสังเกตุง่ายมาก
สายสีแดงที่มีขดลวดมาต่อที่ขั้วสายเพียงเส้นเดียวจะเป็นขดสตาร์ทขดที่1ที่ต่ออยู่กับขั้วC(คาปาซิเทอร์)
  ส่วนสายสีแดงที่มีขดลวดต่อออกมา2เส้นจะเป็น
สายสีแดงของสวิทช์เบอร์3
ซึ้งเส้นที่1จะไปที่สตาร์ทขดที่3
ส่วนเส้นที่2จะไปที่ขดรันนั่นเอง
  จำง่ายๆคือถ้าขั้วสายเส้นใดมีขดลวดมาต่อเพียงเส้นเดียว
ขั้วสายนั้นจะเป็นขดสตาร์ทขดที่1
ซึ่งเป็นสายที่จะไปต่อกับขั้วCนั่นเอง
ส่วนขั้วสายใดที่มีขดลวดมาต่อ2เส้น
สายนั้นก็จะเป็นสายของสวิทช์นั่นเอง
  ส่วนสายสีดำรันที่ต่ออยู่กับขั้วC
จะต่อกับขดลวดเพียงเส้นเดียวคือขดรัน
และยังต่อกับขาของเทอร์โมฟิวส์อีก1ขาด้วย
ซึ่งในบางยี่ห้อจะไม่มีเทอร์โมฟิวส์

ก่อนทำการต่อให้ใช้สายไฟเส้นเล็กที่สุดมาต่อ
  การต่อในกรณีที่ขดลวดที่ขาดสั้นมาก
ให้ทำการงอสายเหมือนเบ็ดแล้วทำการเกี่ยวกันแล้วบีบปลายให้ล็อคกันก่อนจากนั้นทำการบัดกรี
  การต่อในกรณีที่ขดลวดที่ขาดยาว
ให้ทำการพันสายแบบขวาทับซ้ายและซ้ายทับขวาก่อน
จากนั้นทำการบัดกรี

พันสายแบบขวาทับซ้ายจะแน่นกว่าแบบเบ็ดหรือแบบตะขอครับ

การบัดกรีแบบใช้หัวแร้งจี้เอาฉนวนออก
ความแน่นจะสู้แบบใช้มีดขูดเอาฉนวนของขดลวดออกไม่ได้
การต่อขดลวดจะต้องใส่ท่อหดกันช็อทด้วยทุกครั้ง

การประกอบมอเทอร์ในกรณีลืมขีดมาร์ค
การใส่สามารถเหลื่อมล้ำได้
แต่ต้องคำนึงถึงเวลาพัดลมส่าย
สายไฟจะต้องพอให้พัดลมส่าย

หลังจากต่อขดลวดที่ขาดในตอนที่
พัดลมHATARI18นิ้ว ตอน9ต่อขดลวดที่ขาดแบบใช้หัวแร้งจี้เอาฉนวนออก
ก็ทำการประกอบแล้วทดลองเปิดพัดลม
ปรากฏว่าตอนนี้พัดลมสามารถหมุนได้เป็นปกติแล้ว
แต่เกิดอาการใหม่คือมีเสียงดังมากที่สวิทช์เบอร์3
เสียงดังปานกลางที่สวิทช์เบอร์2
เสียงดังน้อยที่สุดที่สวิทช์เบอร์1

ต้องหาสาเหตุและทำการแก้ไขในตอนต่อไปครับ!

หลังจากต่อขดลวดที่ขาดในตอนที่
พัดลมHATARI18นิ้ว ตอน9ต่อขดลวดที่ขาดแบบใช้หัวแร้งจี้เอาฉนวนออก
ก็ทำการประกอบแล้วทดลองเปิดพัดลม
ปรากฏว่าตอนนี้พัดลมสามารถหมุนได้เป็นปกติแล้ว
แต่เกิดอาการใหม่คือมีเสียงดังมากที่สวิทช์เบอร์3
เสียงดังปานกลางที่สวิทช์เบอร์2
เสียงดังน้อยที่สุดที่สวิทช์เบอร์1

ตอนไม่ใส่ใบพัดเสียงดังอือน่ารำคาญ
แต่พอใส่ใบพัดเข้าไปอาการเสียงดังก็หายไป
ทดสอบแรงลมแล้วแรงใช้ได้ครับ
บทสรุป
สาเหตุที่เกิดเสียงอือหรือเสียงหอนหรือเสียงคราง
เป็นเพราะในส่วนโรเทอร์กรงกระรอก
ไปแตะโดนสเทเทอร์ทำให้เกิดเสียงดัง
  ซึ่งในความเป็นจริงโรเทอร์กับสเทเทอร์จะเป็นส่วนที่อยู่ชิดกันมากๆ แต่จะไม่แตะติดกัน
  แต่อย่างไรก็ดีถึงแม้โรเทอร์จะแตะโดนกับสเทเทอร์
ก็สามารถใช้งานได้ตามปกติตราบเท่าที่มันไม่มีเสียงดังน่ารำคาญครับ
 
เชิญชมวีดีโอครับ!




ไม่มีความคิดเห็น: