วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เสียงตืดหมุนช้าระเบิดพัดลม imarflex slow rotation fan explode



เสียงตืดหมุนช้าระเบิดพัดลม imarflex slow rotation fan explode
6/5/2560 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
เสียงตืดหมุนช้าระเบิดพัดลม imarflex slow rotation fan explode

การซ่อมต้องใส่รองเท้า และห้ามเปียกน้ำ
และห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
แตะถูกตัวนำไฟฟ้า
เพราะอันตรายอาจถึงชึวิตได้

อาการ เสียงตืดหมุนช้าๆสักพักระเบิด
มีประกายไฟที่มอเทอร์พัดลม
ฟิวส์8Aของปลั๊กไฟที่ต่อไว้ขาดเบรคเกอร์ตัด

อาการ เสียงตืดหมุนช้าๆสักพักระเบิด
มีประกายไฟที่มอเทอร์พัดลม
ฟิวส์8Aของปลั๊กไฟที่ต่อไว้ขาดเบรคเกอร์ตัด

เราสามารถซ่อมเต้ารับได้
เพราะอาการนี้เกิดจากฟิวส์เต้ารับขาด
ฟิวส์เต้ารับที่ผมใช้นี้คือยี่ห้อBigZ
จะใช้ฟิวส์ขนาด8A/250V แบบตัวสั้น
แต่ผมมีติดบ้านอยู่ที่ขนาด5A/250V
ซึ่งขนาดนี้ก็เพียงพอต่อการใช้งานได้แล้วครับ

ฟิวส์แอมป์สูงยิ่งโอมห์ต่ำ
ส่วนฟิวส์แอมป์ต่ำยิ่งโอมห์สูง
เช่น ฟิวส์ขนาด5A จะมีโอมห์ประมาณ 0.1โอมห์
ส่วนฟิวส์ขนาด0.5A จะมีโอมห์ประมาณ 2โอมห์
ซึ่งสังเกตุว่าจะมีโอมห์ที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

ส่วนไส้ของฟิวส์ที่แอมป์สูงจะเส้นใหญ่
ส่วนไส้ของฟิวส์ที่แอมป์ต่ำจะเส้นเล็ก

พัดลมIMARFLEX
สวิทช์เบอร์1 สายสีเขียว
สวิทช์เบอร์2 สายสีเหลือง
สวิทช์เบอร์3 สายสีแดง

ส่วนสายรันกับสายสตาร์ทที่ขั้วCหรือคาปาซิเตอร์
สีจะไม่แน่นอน

ถอดฐานวัดโอมห์ที่สวิทช์
สายไฟACที่จั๊มพ์กับสายสีดำแล้วออกเป็นสายสีขาวแล้วพุ่งไปที่มอเทอร์แล้วเป็นสายสีเทาไปจั๊มพ์อยู่ที่ขั้วCสายนี้เรียกว่าสายรัน

วัดคร่อมสายรันกับสวิทช์เบอร์3สีแดงได้309โอมห์แสดงว่าปกติ

วัดคร่อมสวิทช์เบอร์1สีเขียว
กับสวิทช์เบอร์2สีเหลืองไม่ขึ้น
แสดงว่าสตาร์ทขดที่2ขาด

วัดคร่อมสวิทช์เบอร์2สีเหลือง
กับสวิทช์เบอร์3บางครั้งได้121โอมห์
บางครั้งได้0โอมห์
แสดงว่าขดสตาร์ทขดที่3บางครั้งปกติ
บางครั้งช็อทรอบ

สันนิษฐานว่าขั้วขดลวดสตาร์ทขดที่3
ทั้งขั้วต้นและขั้วปลาย
ช็อทกับสเทเทอร์
เมื่อมีการขยับพัดลมบางครั้งก็จะช็อท
บางครั้งก็จะไม่ช็อทนั่นเอง

การวัดค่าCหรือคาปาซิเทอร์ต้องดึงปลั๊กไฟออกก่อน
ให้ทำการลอยสายไฟที่ขั้วCออก1ด้าน
เนื่องจากที่ขั้วCจะต่อคร่อมอยู่กับขดลวดทั้ง4ขด
คือ สตาร์ทขดที่1,สตาร์ทขดที่2,สตาร์ทขดที่3และขดรัน
การต่อของขดลวดทั้ง4ขดจะเป็นการต่อแบบอนุกรมกัน

ถ้าไม่ลอยออกจะเป็นการคายประจุให้Cตลอดเวลา
ทำให้ไม่สามารถวัดค่าCได้นั่นเอง

การวัดมือของผู้วัดจะสามารถสัมผัสขั้วCได้1ขั้ว
ถ้าสัมผัสทั้ง2ขั้วอาจจะทำให้การวัดเพี้ยนได้

Cของพัดลม16นิ้วส่วนใหญ่จะใช้ค่า1.5UFเป็นมาตรฐาน
ถ้าใช้ค่ามากกว่านี้จะทำให้พัดลมแรงขึ้น
แต่ข้อเสียอาจทำให้ขดลวดเกิดความร้อน
จนฉนวนที่อาบอยู่ที่ขดลวดละลายจนช็อทรอบ
หรือช็อทข้ามขดได้

รุ่นนี้ใช้ค่า1.5UFดังนั้นถ้าค่าต่ำกว่า1.4UFจะต้องเปลี่ยน
แต่ถ้าได้1.4UFไม่ต้องเปลี่ยน
เพราะถ้าค่าลดระดับนี้
จะไม่สามารถรับรู้ระดับความแรงที่ลดลงได้นั่นเอง
แต่ถ้าได้1.39UFต้องเปลี่ยนทันที

สรุปถ้าค่าCลดต่ำกว่า0.1UFต้องเปลี่ยนทันที

การวัดโอมห์ต้องดึงปลั๊กไฟออกก่อน
มิเทอร์ตั้งไปย่านโอมห์
สายสีดำจับที่ขั้วCหรือคาปาซิเทอร์ขั้วใดขั้วหนึ่งเป็นหลัก
แล้วสายสีแดงมิเทอร์จิ้มไปที่สเทเทอร์หรือโครงมอเทอร์
หรือแกนเพลาปรากฏว่าขึ้นโอมห์
แสดงว่ามีขดลวดช็อทลงสเทเทอร์แล้ว
ถ้าของดีจะต้องวัดโอมห์ไม่ขึ้นแม้แต่นิดเดียว

ลองย้ายสายมิเทอร์สีดำไปจับที่สายบริเวณขั้วCอีกขั้วเป็นหลัก
แล้วลองวัดเหมือนด้านบนปรากฏว่ามีโอมห์ขึ้นเช่นกัน
แสดงว่ามีขดลวดช็อทลงสเทเทอร์แล้ว
ถ้าของดีจะต้องวัดโอมห์ไม่ขึ้นแม้แต่นิดเดียว

แปลกที่ขั้วCใช้สายสตาร์ทและสายรันเป็นสีเดียวกัน
รุ่นนี้ใช้เป็นสายสีเทาทั้ง2ขั้ว

สรุป ขณะที่ขดสตาร์ทขดที่2ขาด
และขดสตาร์ทขดที่3ช็อทเหลือประมาณ1โอมห์
โดยช็อทผ่านเหล็กสเทเทอร์
และมีการลอยสายไฟที่ขาCออก1ข้าง
  ลองกดสวิทช์เบอร์3แล้วเสียบปลั๊กไฟ
ปรากฏว่ามีเสียงตืด
จากนั้นผมรีบดึงปลั๊กออกทันที
เพราะกลัวระเบิดฟิวส์ขาดอีก

สาเหตุที่มีเสียงตืดเพราะขดรันไม่ขาด
มันพยายามที่จะรันให้พัดลมหมุน
แต่ขดสตาร์ทขดที่2ขาดทำให้ไม่มีแรงฉุดให้หมุน
และสตาร์ทขดที่3มีการช็อทลงสเทเทอร์
ทำให้พัดลมกินกระแสมากจนทำให้เกิดระเบิดไฟลุก
ฟิวส์ขาดและเซอร์กิทเบรคเกอร์ตัดนั่นเอง

ส่วนการช็อทลงแผ่นเหล็กสเทเทอร์
จะทำให้ไฟ220VACไหลไปตามโครงมอเทอร์
และแกนเพลาโรเทอร์ที่เป็นเหล็กและอลูมิเนียม
แต่จะไม่ไหลไปที่ตะแกรงหน้าและตะแกรงหลัง
เนื่องจากตะแกรงหน้าและตะแกรงหลัง
จะวางอยู่บนคอพลาสติกตรงบริเวณกระโหลกหน้า
หรือฝาครอบหน้ามอเทอร์
อันตรายจะไม่เกิดขึ้นตราบใดที่เรายังไม่ได้ถอดใบพัดออกมา
เพราะใบพัดยังมีตัวล็อคใบพัดที่เป็นพลาสติกล็อคอยู่
จึงไม่มีไฟ220VACออกมาทำอันตรายต่อผู้ใช้ได้นั่นเอง

ถอดกระโหลกหน้าหรือฝาครอบหน้ามอเทอร์ออก
พบขั้วของขดลวดพาดอยู่กับฝาบู๊ทหน้า
และฝาบู๊ทหน้าก็จะติดอยู่กับแผ่นเหล็กสเทเทอร์ด้วยน๊อท
ทำให้ส่วนที่เป็นอลูมิเนียมและเหล็กมีโอมห์ถึงกัน

ลองเอากระดาษรองขดลวดที่พาดกับฝาบู๊ทหน้าไว้
แล้วลองวัดโอมห์ปรากฏว่าไม่ช็อทลงสเทเทอร์อีกแล้ว

สาเหตุที่ขดลวดพาดลงบริเวณฝาบู๊ทหน้า
เพราะสายรัดขดลวดขาด
เนื่องจากการใช้งานพัดลมไปนานๆ
สายรัดก็จะไหม้กรอบ
และขาดไปในที่สุด
ทำให้ขดลวดบริเวณขั้วขดลวดพาดอยู่ที่ฝาบู๊ทหน้า
และเมื่อมีการใช้งานพัดลมก็จะเกิดความร้อนและสั่น
ทำให้ขดลวดที่อาบฉนวนถลอกหรือหลุดออก
ทำให้ขดลวดช็อทลงฝาบู๊ทหน้าได้นั่นเอง

การต่อขดลวดมอเทอร์ที่ขาดแบบที่2
ผมใช้มีดคัทเทอร์ขูดเอาฉนวนออก
วิธีนี้จะดีกว่าแบบ1ที่ใช้หัวแร้งจี้เอาฉนวนออก
เพราะการใช้มีดขูดเอาฉนวนออกจะบัดกรีได้ง่ายกว่า
และแน่นกว่ามาก
นั่นหมายถึงโอกาสที่จะบัดกรีแล้วหลุดก็จะมีน้อยลงนั่นเอง

การต่อขดลวดสำหรับตัวนี้มีการขาด2เส้น
ดังนั้นจะต้องวัดว่าการต่อนั้นถูกต้องหรือไม่
ทำการวัดดังนี้
ให้ใช้มิเทอร์สายสีดำจับที่ขั้วCหรือคาปาซิเทอร์
ขั้วใดขั้วหนึ่งเป็นหลัก
ส่วนมิเทอร์สายสีแดงจิ้มไปที่สวิทช์เบอร์1สายสีเขียว
แล้วย้ายสวิทช์เบอร์2สีเหลือง
แล้วย้ายไปที่สวิทช์เบอร์3สีแดง
แล้วย้ายไปที่ขั้วCหรือคาปาซิเทอร์อีกขั้ว(วัดคร่อมC)
ถ้าวัดตามที่กล่าวด้านบนแล้ว
ได้โอมห์ที่สูงขึ้นเรื่อยๆแสดงว่ามิเทอร์สายสีดำ
ที่จับไว้ที่ขั้วCเป็นหลักนั้นเป็นสายสตาร์ท
แต่ถ้าได้โอมห์ลดลงเรื่อยๆก็แสดงว่า
ขั้วCที่จับไว้เป็นหลักนั้นเป็นสายรัน
เพราะเป็นการวัดลดขดลงมาเรื่อยๆนั่นเอง

ผลการวัดในเครื่องนี้คือ
มิเทอร์สายสีดำจับที่ขั้วCที่เป็นสายสตาร์ทเป็นหลัก
มิเทอร์สายสีแดงจิ้มไปที่
สวิทช์เบอร์1สีเขียวได้ 222โอมห์
สวิทช์เบอร์2สีเหลืองได้ 305โอมห์
สวิทช์เบอร์3สีแดงได้ 422.7โอมห์
ขั้วCอีกขั้วเป็นการวัดคร่อมCได้40MΩหรือไม่ขึ้น
แสดงว่าขดรันขาด
  การวัดคร่อมCจะเป็นการวัดขดลวดทั้งหมด4ขดรวมกัน
เนื่องจากขดลวดทั้ง4ขดจะต่ออนุกรมกันนั่นเอง

ดังนั้นจะต้องทำการหาขดรันที่ขาดแล้วต่อขดลวด
เข้าไปเท่านี้ก็ใช้ได้แล้ว

ถ้าวัดโอมห์แล้วถูกต้อง
คือการวัดเพิ่มขดจะต้องได้โอมห์ที่สูงขึ้น
และการวัดลดขดจะต้องได้โอมห์ที่ต่ำลง
ถ้าวัดได้ถูกต้องแล้วมอเทอร์ยังไม่หมุนก็ให้สลับสายที่ต่อไว้
เพราะอาจจะเป็นการต่อกลับเฟสกันก็ได้

เชิญชมวีดีโอประกอบครับ!




ไม่มีความคิดเห็น: