วัดเพรสเชอร์เครื่องซักผ้าHITACHI
SF-65Cมิเตอร์ดิจิตอล
5/8/2557 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE
วัดเพรสเชอร์เครื่องซักผ้าHITACHI
SF-65Cมิเตอร์ดิจิตอล
HITACHI รุ่น SF-65C
ให้เปิดฝาตรงสายน้ำเข้า
สายแจ๊คของเพรสเชอร์นี้จะมี2เส้น
สายสีแดงกับสายสีดำเล็ก
เพรสเชอร์ใช้ไฟDC(ไฟกระแสตรง)
ส่วนสายสีดำใหญ่ก็จะเป็นสายคอมมอน(COMMON)
หมายถึงสายไฟAC 220V ซึ่งเป็นสายร่วม
ที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ไฟAC
แต่เพรสเชอร์ใช้ไฟDC(ไฟกระแสตรง)
ดังนั้นจึงใช้สายสีดำเล็กเป็นไฟDC
เพื่อแยกออกจากสายสีดำใหญ่ซึ่งเป็นไฟAC
เพรสเชอร์คือตัวสร้างความถี่
เมื่อระดับน้ำสูงขึ้นก็จะมีแรงดันผ่านสายยางเพรสเชอร์
มากดยางภายในตัวเพรสเชอร์ทำให้แกนเฟอร์ไรท์
เข้าไปในขดลวดมากขึ้นทำให้ความถี่ต่ำลง
CPUจะคอยตรวจจับความถี่ที่ตัวเพรสเชอร์
เมื่อความถี่ได้ตามที่CPUตรวจจับตามที่ตั้งระดับน้ำไว้
ก็จะสั่งตัดไฟที่วาล์วน้ำและสั่งซักตามระบบต่อไป
การวัดเพรสเชอร์ความถี่จะออกมาทันทีที่เสียบปลั๊กไฟ
โดยไม่ต้องกดปุ่มPOWER
การวัดเพรสเชอร์
เมื่อเสียบไฟเข้าเครื่องซักผ้าแล้ว
จะมีไฟมารอที่เพรสเชอร์และสร้างความถี่ทันที
ถ้าเพรสเชอร์ไม่สร้างความถี่ไปบอกซีพียู
เมื่อเรากดPOWER รอประมาณ3วินาที
ก็จะเกิดเสียงร้องเตือนติ๊ดๆๆๆๆๆๆ
ใช้มิเตอร์ดิจิตอลFLUKE115
ปรับไปย่านAC วัดไฟได้
0.22 ACV
ปรับไปย่านDC วัดไฟได้
0.012 DCV
วัดไฟได้ค่าน้อยมาก
ให้ใช้มิเตอร์ดิจิตอลที่มีย่านวัดความถี่
ในที่นี้ใช้FLUKE115 วัดความถี่
ขณะน้ำไม่มีในถังได้ประมาณ 24.78 KHZ
ขณะน้ำสูงสุดเต็มขอบถังด้านล่างประมาณ 21.78KHZ
ความถี่ห่างกันประมาณ3KHZ
CPUจะคอยตรวจจับความถี่ที่ตัวเพรสเชอร์
ใช้ความห่างของความถี่นี้มาสร้างระดับน้ำที่ต่างกัน
ตรวจสอบว่าความถี่เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่
โดยการกดปุ่มPOWER
กดLEVELสูงสุด กดSTART
น้ำจะค่อยๆไหลจนเต็มถังตามที่กดระดับน้ำสูงสุด
เอามิเตอร์ดิจิตอลที่มีย่านวัดความถี่
วัดความถี่ที่สายสีแดงกับสีดำเล็ก
ความถี่จะค่อยๆตกลง
ขณะน้ำไม่มีในถังความถี่ประมาณ 24.78KHZ
เมื่อน้ำขึ้นถึงระดับสูงสุดเต็มขอบถังด้านล่าง
ความถี่จะลดลงเหลือ 21.78KHZ
ถ้าวัดแล้วความถี่เปลี่ยนแปลงได้แบบนี้
ก็แสดงว่าเพรสเชอร์ดี
ท่อสายยางที่คล้ายๆท่อน้ำเกลือดี
ทุกอย่างของเพรสเชอร์ดี
ถ้าความถี่ไม่เปลี่ยนแปลง
ก็แสดงว่าสายน้ำตัน รั่ว หรือกลไกภายใน
เพรสเชอร์รั่วลม ทำให้เกิดอาการน้ำล้นถัง
ถ้าความถี่ได้แล้วเครื่องยังร้องติ๊ดๆอีก
ก็แสดงว่าความถี่ไปไม่ถึงซีพียูหรือปริ๊นท์ร่อน
หรือบอร์ดวงจรเสีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น